SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบสูงจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ โดยอาจขยายตัวเพียง 1.5% ในปี 2025 (เดิมมอง 2.4%)
เศรษฐกิจไทย 2568 เผชิญความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าสูง กดดันการส่งออกและการลงทุน SCB EIC คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวเพียง 1.5%
รับมือความท้าทายทรัมป์ 2.0 อย่างไร เมื่อไทยยังมีแผลเป็นเศรษฐกิจ
ปี 2568 จำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องแต่ยังต้องติดตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนอย่างใกล้ชิด
ธุรกิจร้านอาหารมีแนวโน้มฟื้นตัวดีต่อเนื่อง โดยคาดว่ามูลค่าตลาดจะเติบโตราว 7% ในปี 2568
แม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนจะเติบโตชะลอลง แต่คาดว่าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภคในระยะสั้น
การส่งออกเดือนเมษายน 2022 ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงมากการส่งออกเดือนเมษายน 2022 ขยายตัว 9.9%YOY (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ชะลอตัวลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ 19.5%YOY แม้เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 แต่หากหักทองคำ การส่งออกในเดือนนี้จะขยายตัวได้ 8.9% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 9.5% ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าการส่งออกอาวุธไปญี่ปุ่นในเดือนนี้มีมูลค่ามากถึง 109.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าเป็นปัจจัยเพียงชั่วคราวและไม่ได้สะท้อนภาพรวมการส่งออกของไทย ส่งออกไปจีนหดตัวครั้งแรกในรอบ 17 เดือน ด้านการส่งออกรายตลาด พบว่าเกือบทุกตลาดล้วนมีแนวโน้มหดตัว ชะลอตัวลง หรือทรงตัว มีเพียงกลุ่ม CLMV และฮ่องกงที่เร่งตัวขึ้น โดยปัจจัยฉุดสำคัญ ได้แก่ การส่งออกไปจีนที่หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือนที่ -7.2% นอกจากนี้ การส่งออกไปยุโรป (EU28) ยังขยายตัวได้ต่ำที่สุดในรอบ 14 เดือน (0.0%) และการส่งออกไปรัสเซียและยูเครนยังคงหดตัวอย่างรุนแรงที่ -76.8% และ -94.9% ในขณะที่การส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ยังขยายตัวได้สูงที่ 392.2% จากการส่งออกทองคำเป็นหลัก การส่งออกหมวดยานยนต์และคอมพิวเตอร์หดตัวในภาพรวมการส่งออกรายสินค้าพบว่าแม้ส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ แต่มีบางหมวดสำคัญที่หดตัวหรือชะลอตัวลงโดย (1) สินค้าเกษตรขยายตัวได้ 3% โดยเฉพาะจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและข้าว แต่มีผลไม้และยางพาราเป็นปัจจัยฉุด (2) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว 22.8% โดยเฉพาะจากไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำตาลทราย และอาหารเลี้ยงสัตว์ (3) สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 8.3% โดยเฉพาะจากอากาศยานฯ เหล็ก เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมและแผงวงจรไฟฟ้า แต่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยางเป็นปัจจัยฉุดสำคัญ และ (4) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงขยายตัว 39% โดยเฉพาะจากน้ำมันสำเร็จรูป มูลค่าการนำเข้าขยายตัวในอัตราเร่งกว่าการส่งออกมาก ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลด้านมูลค่านำเข้าในเดือนเมษายน ขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 เดือนที่ 21.5% โดยในเดือนนี้ขยายตัวในเกือบทุกหมวดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง (+99.3%) ที่ขยายตัวตามราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงจากผลของสงครามในยูเครน สินค้าทุน (+10.9%) สินค้าอุปโภคบริโภค (+1.2%) และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (+11.7%) ยกเว้นสินค้ากลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (-25.2%) โดยในเดือนนี้ดุลการค้าขาดดุล -1,908.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2022 ดุลการค้าขาดดุล -2,852.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ