SHARE
IN FOCUS
07 ตุลาคม 2021

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ในไตรมาสสองอยู่ที่ 89.3% ชะลอลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับสูง EIC ประเมินปัญหาหนี้สูงของภาคครัวเรือนลากยาว-กลุ่มผู้มีรายได้น้อยกำลังเผชิญปัญหาหนัก

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ในไตรมาสสองอยู่ที่ 89.3% ชะลอลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับสูง ...


LINE_sharebutton[1]-(1)-(1).JPG


Screen-Shot-2564-10-07-at-14.22.56.png


หนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 2 ปี 2021 อยู่ที่ 14.3 ล้านล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 89.3% ตาม GDP ที่กลับมาขยายตัวจากฐานต่ำปีก่อนหน้าเป็นหลัก แต่สัดส่วนยังสูงกว่าระดับก่อนโควิดอย่างมีนัยสำคัญ และสูงที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

การขยายตัวของหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 2 นำโดยสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นหลัก เนื่องจากครัวเรือนยังมีความต้องการสินเชื่อทดแทนสภาพคล่องที่ลดลงในช่วงเศรษฐกิจซบเซา

ในระยะต่อไป EIC คาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยจะยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยปัญหาหนี้สูงจะยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนและเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ ซึ่งจากผลสำรวจผู้บริโภคของ EIC พบว่าส่วนใหญ่กำลังเผชิญปัญหาในการชำระหนี้ และมากกว่า 1 ใน 4 ของคนกลุ่มนี้มีปัญหาหนัก

ครัวเรือนที่มีหนี้สูงจะเข้าสู่ช่วงของการปรับตัวเพื่อลดสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (deleverage) ในระยะต่อไป เพื่อซ่อมแซมงบดุลของตนเอง ซึ่งมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้และการเยียวยาด้านรายได้จากผลกระทบของมาตรการปิดเมือง ควบคู่กับการสนับสนุนการเพิ่มรายได้ในอนาคตผ่านมาตรการสนับสนุนการจ้างงานและการปรับทักษะแรงงาน จะยังคงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการปรับตัวลดหนี้ของภาคครัวเรือนให้เป็นไปอย่างราบรื่น และลดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม



Button-01-(1).jpg

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ