SHARE

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) กับจุดเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานในอนาคต

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Additive Manufacturing มีรากมาจากคำว่า ‘Add’



3d_printing.jpg

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)  หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Additive Manufacturing มีรากมาจากคำว่า ‘Add’ ซึ่งหมายถึงการขึ้นรูปชิ้นงานโดยการเติมเนื้อวัสดุทีละชั้น จนได้ออกมาเป็นวัตถุที่ต้องการ กระบวนการผลิตลักษณะนี้แตกต่างจากการผลิตแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า Subtractive Manufacturing ซึ่งเป็นการสกัดเนื้อวัสดุออกจนได้เป็นรูปร่างของวัตถุที่ต้องการด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การตัด การแกะสลัก การกลึง การเจาะ หรือ เจียระไน เป็นต้น

ถึงแม้ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ 3D Printing จะมีมานานเกิน 30 ปี แต่การใช้งานในระยะแรกยังอยู่แค่ในวงจำกัด แต่เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาการใช้งานของเทคโนโลยีชนิดนี้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยนับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มาแรงอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีชนิดนี้ สามารถสร้างวัสดุอุปกรณ์ตั้งแต่ชิ้นเล็ก ๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่มหึมา อาทิเช่น รถยนต์ หรือบ้านทั้งหลังที่พร้อมเข้าอยู่จริง ภายในระยะเวลาเพียง 24-48 ชั่วโมง สร้างปะการังเทียมเพื่อช่วยซ่อมแซมและรักษาระบบนิเวศในทะเล หรือแม้กระทั่งสร้างอวัยวะเทียมต่าง ๆ เช่น หลอดเลือด ใบหู กะโหลกและกระเพาะปัสสาวะ และในไม่ช้า 3D Printing จะมีบทบาทมากขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายอุตสาหกรรม ไม่เพียงแต่ภาคการผลิตแต่รวมไปถึง การสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจ (Business model) ให้ต่างไปจากเดิม สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคทุกคนอย่างแน่นอน สิ่งที่น่าสนใจคือคำถามที่ว่า เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ จะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมอย่างไร และผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิต ควรปรับตัวรับมือกับการพัฒนาและการนำมาใช้ในวงกว้าง (mass adoption) ของเทคโนโลยี ชนิดนี้อย่างไร

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ