SHARE
SCB EIC ARTICLE
14 กันยายน 2017

Social Commerce เทรนด์ค้าออนไลน์ที่มาแรงไม่แพ้ Lazada

EIC Research Series: อาณาจักร Alibaba

ผู้เขียน: พิมพ์นิภา บัวแสง

 

 

iStock-513804300.jpg 

 

 

นักช้อปออนไลน์ไทยกว่า 51% ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน social media อย่าง Facebook และ Instagram หรือที่เรียกว่า Social Commerce ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก สอดคล้องกับสัดส่วนจำนวนผู้ใช้งาน social media ในไทยที่ค่อนข้างสูง Social Commerce platform จึงเป็นอีกช่องทางค้าออนไลน์ที่ผู้ประกอบการไทยไม่อาจมองข้าม อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคชาวไทยยังคงนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน social media เป็นอันดับสอง รองจาก Lazada ของ Alibaba ดังนั้น คำถามที่สำคัญคือ ภายใต้ต้นทุนในแต่ละช่องทางการขายที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการไทยจะเลือกการขยายธุรกิจผ่าน Social Commerce platform หรือ e-Market place platform อย่าง Lazada จึงจะตรงกับเป้าหมายและประเภทธุรกิจของตนมากที่สุด 

 

 

ผู้บริโภคออนไลน์ชาวไทยเกินครึ่งซื้อสินค้าผ่าน social media

 

จากผลสำรวจของ PWC พบว่าสัดส่วนของผู้บริโภคออนไลน์ชาวไทยที่ซื้อสินค้าผ่าน social media มีอยู่สูงถึง 51%  เทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกที่ 16% ความนิยมดังกล่าวสอดคล้องกับสัดส่วนจำนวนผู้ใช้งาน social media ของไทยที่ค่อนข้างสูง โดยกรุงเทพฯ นับว่าเป็นเมืองที่มีจำนวนผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุดในโลก1   


1.jpg

 

Social media ได้พัฒนา function ต่างๆ เพื่อรองรับ Social Commerce ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

 

ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Chatbot หรือระบบตอบข้อความอัตโนมัติที่ Facebook และ Line ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ซื้อพูดคุยโต้ตอบกับผู้ขายได้สะดวก Facebook Group ที่เพิ่ม feature “Sell & Buy” เข้ามาตอบโจทย์การซื้อขายเฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ Facebook ยังได้มีการสร้างพันธมิตรการค้ากับ PayPal ผู้นำด้านการชำระเงินแบบดิจิทัลระดับโลก เปิดตัว PayPal.Me เพื่อการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลที่สะดวก รวดเร็ว มีความปลอดภัยสูง อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการชำระเงินใน Social Commerce platform ที่มักใช้การโอนเงินผ่าน ATM หรือ Internet Banking ซึ่งอาจสร้างความยุ่งยากในการซื้อสินค้า และต้องอาศัยความไว้ใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในการทำธุรกรรม

 

2.jpg

 

3.jpg

 

ผู้บริโภคชาวไทยนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน social media เป็นอันดับสอง รองจาก Lazada
 

จากผลสำรวจของอีไอซี พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน social media เป็นอันดับสอง รองจาก e-Market place platform ยักษ์ใหญ่อย่าง Lazada ภาพดังกล่าวสะท้อนว่ายังมีผู้ประกอบการไทยจำนวนไม่น้อยที่ขายสินค้าผ่าน Social Commerce platform ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าผ่าน social media ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยชาวไทย โดยสินค้าที่ซื้อขายมักมีมูลค่าไม่สูงมากนัก และเน้นตลาดภายในประเทศ ขณะที่ผู้ประกอบการใน Lazada มักเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และทนต่อความเสียหายได้หากลูกค้ามีการยกเลิกการสั่งซื้อหรือเปลี่ยนคืนสินค้า อย่างไรก็ดี เนื่องจาก Lazada เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีฐานผู้ใช้จำนวนมาก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงได้ประโยชน์จากการขายสินค้าได้ในปริมาณมาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการลดราคาสินค้า ค่าธรรมเนียมรายปี หรือส่วนแบ่งจากยอดขายที่ค่อนข้างสูง โดยสินค้าบางประเภท เช่น สินค้าแฟชั่น มีค่าคอมมิชชั่นสูงถึง 10%

 

 4.jpg

 

 

สินค้าที่ผู้บริโภคนิยมซื้อผ่าน social media คือ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม เสื้อผ้าและรองเท้า

 

สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อผ่าน social media ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีมูลค่าไม่สูงนัก และไม่ต้องการบริการหลังการขายหรือรับประกันสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม เสื้อผ้าและรองเท้า นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่าน social media และ e-Market place platform อย่าง Lazada ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยผู้ซื้อสินค้าผ่าน social media มักมีแรงจูงใจในการซื้อสินค้าจากการพบสินค้าโฆษณาบน social media ที่ใช้ประโยชน์จาก recommendation system ในการแสดงผลสินค้าที่ผู้บริโภคแต่ละรายมีแนวโน้มที่จะสนใจมากที่สุด ขณะที่ผู้ซื้อสินค้าบน e-Market place platform มักมีความต้องการสินค้าอยู่ก่อนแล้วจึงเลือกหาสินค้า ดังนั้น สินค้าที่ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายและมีมูลค่าไม่สูงนัก อย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม เสื้อผ้าและรองเท้า จึงได้รับความนิยมบน Social Commerce platform ขณะที่สินค้าที่มักต้องมีการวางแผนก่อนซื้อ อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน จึงมักจะได้รับความนิยมบน e-Market place platform อย่าง Lazada มากกว่า ทั้งนี้ e-Market place platform ต่างๆ ก็ได้มีการนำ recommendation system มาใช้เพื่อเสนอสินค้าเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นการนำเสนอสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสินค้าที่ผู้บริโภคกดเข้าชม ซึ่งอาจเป็นสินค้าที่ผู้ซื้อกำลังมองหา

 

 

5.jpg

 6.jpg

7.jpg

 

Box-01-01.jpg

 

การแข่งขันของผู้เล่น e-Market place platform ที่ดุเดือดขึ้น จากทั้ง Alibaba ที่พร้อมลุยตลาดอาเซียนผ่าน Lazada JD.com ที่เตรียมจับมือกับ Central group ของไทย อีกทั้งยังมีผู้เล่นรายอื่น เช่น Amazon, 11 street, Shopee ที่พร้อมลุยตลาดอาเซียนด้วยเช่นกัน ผู้เล่นเหล่านี้กำลังมาพร้อมกับโครงสร้างพื้นฐานด้าน e-Commerce ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคออนไลน์อย่างครบวงจร มีความน่าเชื่อถือ เสนอสินค้าที่หลากหลายและราคาที่ผู้บริโภคพึงพอใจมากที่สุด ดังนั้น ผู้ประกอบการที่เคยนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายผ่าน social media หรือแม้กระทั่งใน e-Market place platform อาจไม่สามารถอยู่รอดได้ หากผู้ประกอบการต่างชาติเหล่านั้นเลือกที่จะมาลุยตลาดไทยด้วยตัวเองผ่าน e-Market place platform หลังจากทราบว่าสินค้าเหล่านั้นได้รับความนิยมจากลูกค้าชาวไทย

 

 

 

 8.jpg

 

อีไอซีมองว่าผู้ประกอบการที่มีความพร้อมทั้งในด้านชื่อเสียง เงินทุน และความสามารถในการแข่งขัน สามารถขยายธุรกิจผ่าน platform online หลายๆ ประเภทไปพร้อมกันได้ ไม่ว่าจะเป็น e-Market place platform, Social Commerce platform หรือ platform อื่นๆ เช่น website เพื่อขยายโอกาสและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการรายใหม่ โดยเฉพาะ SMEs ที่ยังไม่มีชื่อเสียงและเงินทุนในการทำการตลาดออนไลน์มากนัก อาจเริ่มต้นกลยุทธ์การตลาดในช่วงแรกในการสร้าง Brand Awareness ผ่าน social media เนื่องจากเป็นช่องทางที่ต้นทุนไม่สูงนัก อีกทั้งยังเป็นการใช้ประโยชน์จากความนิยมของคนไทยที่ใช้เวลาในแต่ละวันไปกับ social media ค่อนข้างมาก โดยผู้ประกอบการอาจต้องเสียค่าโฆษณาให้กับ social media หากต้องการให้สินค้าของตนแสดงผลบน Newsfeed ของผู้ใช้งานให้มากขึ้น หลังจากนั้น เมื่อแบรนด์เริ่มเป็นที่รู้จัก ธุรกิจมีความพร้อมที่จะลงทุนเพื่อขยายกิจการ และพร้อมที่จะแข่งขันด้านราคากับธุรกิจคู่แข่ง ผู้ประกอบการจึงควรขยายธุรกิจผ่าน e-Market place platform เพื่อเข้าถึงฐานลูกค้าขนาดใหญ่ และก้าวสู่การขยายตลาดไปยังต่างประเทศในระยะต่อไป

 

 


1  จากข้อมูลของ We Are Social และ Hootsuite

 

 

 Infographic_Socialcommerce_TH_20170914.jpg

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ