SHARE
IN FOCUS
04 มิถุนายน 2010

วิกฤติการเมืองกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไรในอดีต?

เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองเมื่อกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบอาจไม่ร้ายแรงอย่างที่คิด จริงอยู่ ที่ผลกระทบน่าจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต้องสะดุดลงพอสมควร แต่วิกฤติการเมืองครั้งนี้ไม่ได้ทำให้โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจถูกทำลายไป และความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจมหภาคของไทยก็อยู่ในระดับต่ำ ผลของวิกฤติการเมืองในครั้งนี้จึงไม่น่าจะทำให้เศรษฐกิจล้มฟุบหรือแตกสลาย SCB EIC ขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในอดีตในที่ต่างๆ ทั้งแบบจบเร็วและแบบเรื้อรังเพื่อเป็นตัวอย่างว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาจไม่เลวร้ายนัก

ผู้เขียน:  พรเทพ ชูพันธุ์

78160637.jpg

เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองเมื่อกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบอาจไม่ร้ายแรงอย่างที่คิด จริงอยู่ ที่ผลกระทบน่าจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต้องสะดุดลงพอสมควร แต่วิกฤติการเมืองครั้งนี้ไม่ได้ทำให้โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจถูกทำลายไป และความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจมหภาคของไทยก็อยู่ในระดับต่ำ ผลของวิกฤติการเมืองในครั้งนี้จึงไม่น่าจะทำให้เศรษฐกิจล้มฟุบหรือแตกสลาย SCB EIC ขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในอดีตในที่ต่างๆ ทั้งแบบจบเร็วและแบบเรื้อรังเพื่อเป็นตัวอย่างว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาจไม่เลวร้ายนัก

1)    ตัวอย่างปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองแบบจบเร็ว ในที่นี้ขอยกตัวอย่างปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแบบที่ไม่ยืดเยื้อ คือเหตุการณ์เกิดขึ้นและจบลงในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งจะเห็นว่าผลกระทบต่อการขยายตัวของ GDP ไม่ได้รุนแรงมากนัก เช่น เหตุการณ์ 14ตุลาฯ 2516 (1973) เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 (1976) และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 (1992) ซึ่งพบว่าการขยายตัวของ GDP ในปีดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 10% 9% และ 8% ตามลำดับ (ดูรูปที่ 1) หรือถ้าจะลองมองตัวอย่างนอกประเทศอย่างเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่จตุรัสเทียนอันเหมินในประเทศจีน (1989) แม้จะทำให้การเติบโตของ GDP จีนชะลอลงแต่ก็ยังขยายตัวได้ในระดับราว 4% (ดูรูปที่ 2)

2)   ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองแบบเรื้อรัง ซึ่งดูน่าจะใกล้เคียงกับปัญหาทางการเมืองของไทยในตอนนี้คือไม่น่าจะจบได้ง่ายๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจจะล้มฟุบ หรือหดตัวติดลบอย่างรุนแรง ตัวอย่างใกล้ตัวคือปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2004 ในปีนั้น การขยายตัวของ Gross Provincial Product (GPP) ในสามจังหวัดในภาคใต้ (ยะลา นราธิวาส และ ปัตตานี) รวมกันชะลอลงเหลือเพียง 0.7% แต่ก็ฟื้นกลับมาขยายตัวราว 3% ในปีต่อมาทั้งที่เหตุการณ์ความวุ่นวายในภาคใต้จะไม่ได้ลดความรุนแรงลง (ดูรูปที่ 3) ส่วนอีกตัวอย่างที่เกิดขึ้นนอกประเทศคือกรณีกบฏกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลมในศรีลังกาที่มีเริ่มในปี 1983 และลากยาวถึงกว่า 25 ปี ส่งผลให้การเติบโตของ GDP ชะลอลงจากราว 8-9% ในปี 1983-1984 เหลือราว 5% ในปี 1985-1986 แต่ก็ไม่ถึงกับหดตัวอย่างรุนแรงแต่อย่างใด (ดูรูปที่ 4)

 -1.jpg
-2.jpg
-3.jpg
-4.jpg

Get the additional info

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ