SHARE
FLASH
21 ธันวาคม 2016

กนง. คงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.5% มองเศรษฐกิจไทยเสี่ยงสูงขึ้น

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 21 ธันวาคม 2016

ผู้เขียน: วิรันต์ภรณ์ โรจนวิภาตวนิช

 

Analysis.png

keypoint.jpg

  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 21 ธันวาคม 2016

  • เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่องในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นตามรายได้เกษตรกร และการส่งออกสินค้าที่มีสัญญาณดีขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวชะลอตัวและการลงทุนภาคเอกชนยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ กนง. มองว่ามีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้น จากนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรป ปัญหาภาคการเงินในยุโรปและจีน และจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่อาจน้อยกว่าการประมาณการ

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มกลับสู่เป้าหมายภายในไตรมาสแรกปี 2017 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน และอาหารสด

  • ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลาย ในขณะที่ค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม การปรับตัวอ่อนค่าของเงินบาทยังคงน้อยกว่าประเทศคู่ค้าคู่แข่งสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป

  • การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก อย่างการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มในยุโรปในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนและอัตราแลกเปลี่ยน

 

Implication.png

886_20100622103105.gif

อีไอซีคาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% ตลอดปี 2017

  • เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงหดตัว

  • เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space) โดย กนง. จะเฝ้าดูทิศทางเศรษฐกิจโลกที่อาจกระทบเศรษฐกิจไทยในอนาคต

 

ตารางสรุปคำแถลงการณ์ของ ธปท. เทียบกับการประชุมครั้งก่อน 

 

หัวข้อ การประชุมครั้งก่อน
(9 พ.ย. 2016)
การประชุมครั้งนี้
(21 ธ.ค. 2016)
เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่องในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ก่อนหน้า โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวดีกว่าคาด และการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนให้แก่เศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอลงจากมาตรการจัดระเบียบทัวร์ศูนย์เหรียญ และการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้แม้กิจกรรมบางประเภทอาจชะลอลงบ้างชั่วคราว แต่มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่คาดว่าจะน้อยกว่าประมาณการเดิม และมีความไม่แน่นอนที่สืบเนื่องจากพัฒนาการทางการเมืองในสหรัฐฯ และยุโรป

เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่องในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน โดยการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนให้แก่เศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกสินค้ามีสัญญาณดีขึ้นจากการย้ายฐานการผลิตสินค้าบางรายการมาไทย และการบริโภคปรับตัวดีตามรายได้เกษตรกร ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ ภาคการท่องเที่ยวชะลอลงจากการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมาย ทั้งนี้ความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจไทยปรับเพิ่มขึ้น จากเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอลงมาก ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ปัญหาภาคการเงินในยุโรปและจีน และจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่อาจน้อยกว่าการประมาณการ

สถานการณ์เงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และมีความเสี่ยงที่จะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่ประเมินไว้เดิม โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคมชะลอลงเล็กน้อยตามราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ได้ประเมินไว้

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทยอยปรับสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนเร่งตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่ขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับที่ได้ประเมินไว้ ทั้งนี้ กนง. คาดว่าเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายภายในไตรมาสแรกปี 2017

ความเสี่ยงที่ กนง. ติดตาม
  1. พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)
  2. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง
  3. ความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก
  4. พัฒนาการทางการเมืองในสหรัฐฯ และยุโรป
  1. พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)
  2. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง
  3. ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ
  4. ปัญหาภาคการเงินในยุโรป และจีน
  5. พัฒนาการทางการเมืองในยุโรป
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%
เหตุผลของกนง. นโยบายการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนเพียงพอและต่อเนื่อง และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย(policy space) นโยบายการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนต่อเนื่อง และพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

 

EIC_policy_rate_dec2016.jpg

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ