SHARE
ECONOMIC OUTLOOK / SCB EIC MONTHLY
02 กรกฏาคม 2015

Outlook ไตรมาส 3/2015

อีไอซีคงประมาณการเศรษฐกิจไทยว่าจะเติบโต 3.0% ในปี 2015 ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยค่อนข้างทรงตัว โดยมีสัญญาณการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนของภาครัฐในช่วงไตรมาสแรกของปีที่ไม่ชัดเจนนัก อย่างไรก็ดีภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดีช่วยพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ถดถอยจากภาคการส่งออกที่ลดลงถึง 4.2% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี อีไอซีมองว่าเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังจะปรับตัวดีขึ้นโดยมีแรงส่งจากเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐที่จะเร่งเบิกจ่ายก่อนสิ้นปีงบประมาณในเดือนกันยายน อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่จะเติบโตทั้งปีรวม 1.4 % โดยมีปัจจัยหนุนจากมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐและการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่มีผลย้อนหลัง 6 เดือน...

EIC_THAI_Outlook_q3_2015-1.png
  • ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2015
  • Bull - Bear: ราคาน้ำมัน 
  • In focus: บาทแข็งกับนัยด้านการส่งออก
  • In focus: ฟองสบู่ในตลาดการเงินโลกน่ากังวลจริงหรือ 
  • Special issues:
    • Local Government Debt-Swap Program
    • 4 สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการปรับปรุงข้อมูล GDP ใหม่ของไทย
  • Summary of main forecasts


ดาวน์โหลดเอกสารภาษาไทยเพื่ออ่านต่อฉบับเต็ม



ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2015


อีไอซีคงประมาณการเศรษฐกิจไทยว่าจะเติบโต 3.0% ในปี 2015 ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยค่อนข้างทรงตัว โดยมีสัญญาณการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนของภาครัฐในช่วงไตรมาสแรกของปีที่ไม่ชัดเจนนัก อย่างไรก็ดีภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดีช่วยพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ถดถอยจากภาคการส่งออกที่ลดลงถึง 4.2% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี อีไอซีมองว่าเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังจะปรับตัวดีขึ้นโดยมีแรงส่งจากเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐที่จะเร่งเบิกจ่ายก่อนสิ้นปีงบประมาณในเดือนกันยายน อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่จะเติบโตทั้งปีรวม 1.4 % โดยมีปัจจัยหนุนจากมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐและการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่มีผลย้อนหลัง 6 เดือน อย่างไรก็ดี ยังคงมีความเสี่ยงอยู่มากทั้งจากปัจจัยด้านรายได้ในภาคเกษตรและความไม่ชัดเจนในการฟื้นตัวของการจ้างงานในภาคการผลิต ส่วนด้านการส่งออกก็จะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก ทำให้โดยรวมหดตัวเพียง 1.5% ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากราคาสินค้าส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ถึงแม้จะยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านความผันผวนของค่าเงินและความเปราะบางของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนกลับยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะหลุดกรอบเป้าหมาย ทำให้ยังมีโอกาสสูงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งไปอยู่ที่ 1.25% ค่าเงินบาทที่ถึงแม้จะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ยังถือว่าค่อนข้างแข็งเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่แข่งทางการค้าอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย ส่วนเสถียรภาพทางการเงินที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังไม่น่ากังวลมากนัก เนื่องจากไทยยังมีปัจจัยทางการเงินที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Economies: EM) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้รวมไปถึงดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล เงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ สำหรับปัจจัยภายนอกด้านอื่น อีไอซีมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น แต่ก็จะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งในตลาดเงินตราต่างประเทศและตลาดพันธบัตร สืบเนื่องจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่สวนทางกันของแต่ละภูมิภาคและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ


Bull - Bear: ราคาน้ำมัน

 

ราคาน้ำมันดิบในใตรมาส 3 ปี 2015 มีแนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาส 2 เนื่องจากปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลาง แต่คาดว่าเป็นเพียงปัจจัยสนับสนุนระยะสั้น อีไอซีมองว่าความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานน้ำมันยังคงมีอยู่ จากการที่กลุ่ม OPEC และรัสเซีย ยังคงยืนยันที่จะคงปริมาณการผลิตน้ำมันในระดับเดิม นอกจากนี้ การที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นในช่วงไตรมาส 2 รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี shale ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง เป็นสาเหตุทำให้ผู้ผลิต shale oil ในสหรัฐฯ เกิดแรงจูงใจในการกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้ง ส่งผลทำให้มีอุปทานล้นตลาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันราคาน้ำมันดิบต่อไป 


In focus: ฟองสบู่ในตลาดการเงินโลกน่ากังวลจริงหรือ

 

การดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณโดยธนาคารกลางของทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและยุโรป ตลอดจนการใช้นโยบายการเงินด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศ ทำให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงินหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้และตราสารทุนในตลาดการเงินทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก คำถามหนึ่งที่กำลังเป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในแวดวงการเงินคือ ขณะนี้ถึงจุดที่เรียกว่าฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ (Asset price bubble) แล้วหรือยัง และสินทรัพย์ประเภทใดบ้างหรือตลาดใดบ้างที่น่าจะเข้าข่ายว่าเป็นฟองสบู่ซึ่งจะทำให้เกิดความกังวลต่อระบบเศรษฐกิจมากที่สุด


In focus: บาทแข็งกับนัยด้านการส่งออก?

การแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนไทยต่อหลายสกุลเงินได้ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยลดทอนลงตามดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ที่เพิ่มขึ้น ทว่าขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของปริมาณการส่งออกไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร จะพบว่าความสามารถในการแข่งขันด้านราคามีความสำคัญต่อปริมาณการส่งออกสินค้าในภาคเกษตรมากกว่าสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากการส่งออกสินค้าเกษตรในประเทศต่างๆ มักมีความคล้ายคลึงกัน ในขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมจะขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละประเทศในการนำเสนอมูลค่าเพิ่มให้ดีกว่าประเทศคู่แข่ง หรือแปรไปตามปัจจัยด้านห่วงโซ่อุปทานโลกเป็นสำคัญ ปริมาณการส่งออกสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเพียงอย่างเดียว  

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ