SHARE

EIC คาด กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการประชุมทั้ง 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี ทำให้ดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2022 จะอยู่ที่ระดับ 1.25%

เมื่อ 10 สิงหาคม 2022 กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี ...

กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% (จาก 0.5%) เป็น 0.75% ต่อปี

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 10 สิงหาคม 2022 กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น และคาดว่าจะกลับเข้าสู่ระดับก่อน COVID-19 ได้ภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงอีกระยะหนึ่ง ส่งผลให้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษเพื่อรองรับวิกฤต COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมามีความจำเป็นลดลง ทั้งนี้กรรมการ 1 เสียงเห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ต่อปี เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตโดยประเมินว่าจะไม่กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ

กนง. ประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง

โดยมีแรงส่งจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด ตามการผ่อนคลายนโยบายการเดินทางระหว่างประเทศและความกังวลในการเดินทางท่องเที่ยวที่ลดลง นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากตลาดแรงงานและรายได้ครัวเรือนที่ปรับดีขึ้น ทั้งนี้แม้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัว แต่ผลกระทบต่อแรงส่งสำคัญของเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะมีจำกัด ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังมีความเสี่ยงจากต้นทุนและค่าครองชีพที่สูงขึ้น

กนง. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้เดิมที่ 6.2%

โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะทยอยปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปีหน้าตามแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานที่ทยอยคลี่คลาย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางไม่ได้ปรับสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปยังมีความเสี่ยงด้านสูงจากการส่งผ่านต้นทุนไปยังเงินเฟ้อพื้นฐานที่อาจมากและเร็วกว่าคาด

กนง. ประเมินว่า สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง ขณะที่ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลายแต่มีความผันผวนสูง

โดยความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่บางกลุ่มยังเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ในสาขาธุรกิจที่ฟื้นตัวช้า และครัวเรือนรายได้น้อยที่มีความอ่อนไหวต่อค่าครองชีพ ส่วนค่าเงินบาทปรับอ่อนค่าลงจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ตามความกังวลต่อสินทรัพย์เสี่ยงภายใต้แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ


Button-01.jpg

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ