SHARE

ส่งออก พ.ย. ยังขยายตัวสูงต่อเนื่องและเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภค การผลิตทั่วโลก การอ่อนค่าของเงินบาท และการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์

การส่งออกเดือนพฤศจิกายน ยังคงขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ 24.7%YOY ขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญยกเว้นผลิตภัณฑ์ยาง และทุกตลาดสำคัญ ...

 LINE_sharebutton[1].JPG




Flash_Export_Nov_20211220-01.jpg



  • การส่งออกเดือนพฤศจิกายน ยังคงขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ 24.7%YOY ขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญยกเว้นผลิตภัณฑ์ยาง และทุกตลาดสำคัญยกเว้นญี่ปุ่นที่ทรงตัว โดยปรับเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าหากเทียบกับเดือนก่อนหน้าแบบปรับฤดูกาล การส่งออกหักทองคำขยายตัวที่ 5.7%MOM SA จากการฟื้นตัวของการบริโภครวมถึงการผลิตทั่วโลก สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Manufacturing PMI) ยังคงอยู่ในระดับมากกว่า 50 อย่างต่อเนื่อง

  • EIC คาดการณ์การส่งออกในปี 2021 ขยายตัว 16.3%YOY แม้การส่งออกจะฟื้นตัวตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกจากสถานการณ์ COVID-19 ที่คลี่คลาย แต่ในช่วงสิ้นปีมีปัจจัยกดดันใหม่จากการระบาดที่เริ่มกลับมาในยุโรปและจากการระบาดของสายพันธุ์ Omicron รวมถึงปัญหาคอขวดด้านอุปทานของโลกที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศปรับตัวสูงขึ้นและกระทบต่อกําลังซื้อภาคประชาชน ส่งผลให้เศรษฐกิจและการค้าโลกอาจปรับชะลอลงได้ในระยะสั้น

  • การส่งออกไทยในปี 2022 ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการเติบโตของเศรษฐกิจและการค้าโลกแต่ในอัตราที่ชะลอลงหลังเศรษฐกิจโลกทยอยฟื้นตัวไปแล้วในช่วงก่อนหน้าโดย EIC ประเมินส่งออกเติบโตที่ 3.4%YOY ในปี 2022 แต่ยังต้องเผชิญกับหลายปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา โดยเฉพาะความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับเพิ่มขึ้นหรือยืดเยื้อจากปัญหาคอขวดอุปทานการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจากผลกระทบของวิกฤตพลังงานและภาคอสังหาริมทรัพย์และปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) ที่จะเป็นปัจจัยกดดันผู้ส่งออกในปีหน้า

 

 Button-01-(1).jpg

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ