SHARE

Advanced Biofuel บทบาทสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกของภาคขนส่ง

เชื้อเพลิงชีวภาพแบบก้าวหน้า (advanced biofuel) จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการมุ่งสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มยานพาหนะขนาดใหญ่ ...

LINE_sharebutton[1]-(1)-(1).JPG

engver.jpg

 

 




Screen-Shot-2564-12-16-at-12.07.12.png

Advanced Biofuel คือ คำตอบต่อข้อกังขาเรื่องความยั่งยืน

เชื้อเพลิงชีวภาพแบบก้าวหน้าผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตอาหารโดยตรง และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งวงจรชีวิต (life-cycle greenhouse gas emissions) ซึ่งถูกพัฒนาเพื่อเพิ่มความยั่งยืนของการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ที่จากเดิม เชื้อเพลิงชีวภาพผลิตจากพืชอาหาร ทำให้เกิดข้อกังขาเรื่องความมั่นคงทางอาหารและการใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการเพาะปลูก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศหลายด้าน

ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพแบบก้าวหน้า อาทิ เชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สอง (second-generation biofuel) ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่สามารถนำไปประกอบอาหารสำหรับมนุษย์ได้และวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรที่มีลิกโนเซลลูโลส (lignocellulosic biomass) เป็นองค์ประกอบ และเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สาม (third-generation biofuel) ที่ผลิตจากพืชพลังงานรูปแบบใหม่อย่าง algae

บทบาทสำคัญของเชื้อเพลิงชีวภาพในช่วง energy transition

เนื่องจากเชื้อเพลิงชีวภาพมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับน้ำมันฟอสซิล ทำให้สามารถนำมาผสมใช้ในเครื่องยนต์และโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วได้เลย ทำให้เชื้อเพลิงชีวภาพแบบก้าวหน้าจึงเป็นทางเลือกสำคัญสำหรับช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด (energy transition) โดยเฉพาะในกลุ่มยานพาหนะขนาดใหญ่ (heavy-duty vehicles) อย่างรถบรรทุกและเครื่องบิน ที่มีข้อจำกัดในการพัฒนาเครื่องยนต์ใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย net-zero emissions

อุปสรรคด้านความสามารถในการแข่งขัน
ทว่าเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพแบบก้าวหน้ายังอยู่ในระดับเริ่มต้นและยังไม่มี technological breakthrough ส่งผลให้เชื้อเพลิงชีวภาพแบบก้าวหน้ายังคงเผชิญความท้าทายในการพัฒนาคุณสมบัติ drop-in ซึ่งคือการทำให้มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับน้ำมันฟอสซิล และความท้าทายด้านราคาที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ยังไม่สามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงอื่นได้ ดังนั้น การลงทุนเพื่อค้นคว้าพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจึงจำเป็นอย่างมาก

โอกาสในการต่อยอดอุตสาหกรรมในประเทศไทย
ไทยสามารถใช้ข้อได้เปรียบทางด้านจำนวนและความหลากหลายของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีศักยภาพในการนำมาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพแบบก้าวหน้า ด้วยการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้จากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีอยู่แล้ว รวมทั้ง สามารถใช้โอกาสนี้ ในการเพิ่มมูลค่าให้แก่วัสดุเหลือทิ้งและรวมเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)

Sustainable Aviation Fuel (SAF) โอกาสที่ไทยควรคว้าไว้
กลุ่มเอกชนทั่วโลกมีความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการบินเป็นอย่างมาก และได้ประกาศเป้าหมายใช้ SAF ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และจะลดสัดส่วนของน้ำมันอากาศยานจากฟอสซิลลง ส่งผลให้เกิดอุปสงค์และตลาดอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเมื่อมีเที่ยวบินเข้า-ออกประเทศไทยของสายการบินที่ตั้งเป้าหมายใช้ SAF จะทำให้เกิดความต้องการใช้ SAF ในไทยเช่นกัน

ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ กุญแจสำคัญ
เชื้อเพลิงชีวภาพแบบก้าวหน้าจะยั่งยืนได้นั้น ต้องสนับสนุน ecosystem ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภาครัฐต้องคำนึงถึงการพัฒนาทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ภาคการจัดหาวัตถุดิบ ภาคการเกษตร ภาคการผลิตเชื้อเพลิง ภาคการขนส่ง ภาคการผลิตยานยนต์ และภาคการกำจัดของเสีย ไปจนถึงผู้บริโภค

นโยบายสนับสนุนควรกำหนดอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง โดยอ้างอิงจากศักยภาพและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีในประเทศ ควรมีความยืดหยุ่นและสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดจนสร้างกลไกตลาดที่ส่งเสริมการแข่งขัน รวมถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่จูงใจให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ทุกกลุ่มพัฒนาไปพร้อม ๆ กันอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


 Button-01-(1).jpg
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ