SHARE

ส่งออก ต.ค. ยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง แต่ปรับชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ตามการระบาดที่เริ่มกลับมาในยุโรป และปัญหาคอขวดด้านอุปทานที่ทำให้เงินเฟ้อปรับสูงขึ้น กระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภคในหลายประเทศทั่วโลก

การส่งออกเดือนตุลาคม ยังคงขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ 17.4%YOY แต่ปรับชะลอลง ...

 LINE_sharebutton[1].JPG




Flash_Export_Sep_20211122-01.jpg



  • การส่งออกเดือนตุลาคม ยังคงขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ 17.4%YOY แต่ปรับชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการระบาดที่เริ่มกลับมาในยุโรป และปัญหาคอขวดด้านอุปทาน (supply disruption) ทั่วโลก สะท้อนจากดัชนีเวลาขนส่งวัตถุดิบ (supplier delivery time) ที่มีระยะเวลานานเพิ่มขึ้นมาก โดยปัญหาดังกล่าวทำให้อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศปรับเพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค จึงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกในช่วงปัจจุบัน

  • EIC ปรับเพิ่มคาดการณ์ส่งออกปี 2021 เล็กน้อยเป็น 16.7% จากเดิมเคยคาดที่ 15.0%ตามตัวเลขส่งออกที่ขยายตัวเร่งมากกว่าคาด ขณะที่ในปี 2022 EIC คาดการส่งออกไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ราว 5.1% ปรับเพิ่มจากคาดการณ์เดิมที่ 4.7% ตามโมเมนตัม การส่งออกในช่วงปลายปีนี้ ที่ยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจโลกก็ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในปี 2022 โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาที่จะเร่งตัวสูงขึ้นตามความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ ราคาสินค้าส่งออกก็มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันตามราคาสินค้าหลายประเภททั่วโลก โดยเฉพาะราคาพลังงาน จึงเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของมูลค่าส่งออกในปีหน้า

  • การส่งออกในระยะต่อไปยังมีความเสี่ยงอีกมาก ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับเพิ่มขึ้นหรือยืดเยื้อจากปัญหาคอขวดด้านอุปทาน การเริ่มกลับมาระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ในยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้ค่าระวางและระยะเวลาขนส่งสินค้าอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส่วนปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) คาดว่าจะยังเป็นปัญหาต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า

 

 Button-01-(1).jpg

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ