SHARE
SCB EIC ARTICLE
01 สิงหาคม 2013

CapitaLand: ยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์แห่งสิงคโปร์

หากพูดถึง Raffles City ในสิงคโปร์ นักท่องเที่ยวชาวไทยย่อมรู้จักกันดี เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โรงแรม สำนักงาน และศูนย์ประชุม Raffles City พัฒนาโดยบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในสามของอาเซียน นั่นคือ บริษัท CapitaLand จำกัด จากสิงคโปร์ ซึ่งในปี 2012 มีรายได้สูงถึง 82 พันล้านบาท และ มีอัตรากำไรสุทธิสูงถึง 28% ในขณะที่อัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่แค่ราว 16% หากพูดถึง Raffles City ในสิงคโปร์ นักท่องเที่ยวชาวไทยย่อมรู้จักกันดี เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โรงแรม สำนักงาน และศูนย์ประชุม Raffles City พัฒนาโดยบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในสามของอาเซียน นั่นคือ บริษัท CapitaLand จำกัด จากสิงคโปร์ ซึ่งในปี 2012 มีรายได้สูงถึง 82 พันล้านบาท และ มีอัตรากำไรสุทธิสูงถึง 28% ในขณะที่อัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่แค่ราว 16%

ผู้เขียน: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC)

 101435190.jpg

หากพูดถึง Raffles City ในสิงคโปร์ นักท่องเที่ยวชาวไทยย่อมรู้จักกันดี เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โรงแรม สำนักงาน และศูนย์ประชุม Raffles City พัฒนาโดยบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในสามของอาเซียน นั่นคือ บริษัท CapitaLand จำกัด จากสิงคโปร์ ซึ่งในปี 2012 มีรายได้สูงถึง 82 พันล้านบาท และ มีอัตรากำไรสุทธิสูงถึง 28% ในขณะที่อัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่แค่ราว 16%

          CapitaLand มีธุรกิจครอบคลุมทั้ง ที่อยู่อาศัย เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์  อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยเป็นทั้ง ผู้ลงทุน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้บริหารอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้าและเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ รวมถึง ผู้จัดการกองทุน โดยปัจจุบันมีธุรกิจในมากกว่า 20 ประเทศ มีการบริหารศูนย์การค้ามากกว่า 80 แห่งในเอเชีย มีเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์มากกว่า 30,000 ยูนิตทั่วโลก

การที่บริษัทประกอบธุรกิจในหลายด้านและอยู่ในหลายประเทศทำให้บริษัทสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดี อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงมุ่งเน้นเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างความได้เปรียบจากความเชี่ยวชาญที่ได้สั่งสมมานาน และเน้นตลาดหลักคือสิงคโปร์และจีน  CapitaLand เล็งเห็นว่าทั้งสองตลาดมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีในระยะยาว จากพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และจากการเพิ่มขึ้นของรายได้และประชากร นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนจะขยายธุรกิจในตลาดรองได้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่มอาเซียน เช่น เวียดนามและมาเลเซียอีกด้วย

สำหรับในประเทศไทยไม่ได้เป็นตลาดเป้าหมายในแผนธุรกิจของบริษัท CapitaLand ซึ่งได้เคยเข้ามาร่วมกิจการกับ TCC Land ของไทย จัดตั้งบริษัท TCC Capital Land จำกัด ได้ขายหุ้นทั้งหมด 40% คืนให้แก่ TCC Land ในปี 2011 แต่ทั้งนี้ CapitaLand ยังมีธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ในไทย ผ่านบริษัทลูก คือบริษัท Ascott จำกัด โดยในปัจจุบันมีเปิดบริการอยู่ 9 แห่ง เช่น Ascott สาทร, Citadines ในย่านสุขุมวิท, Somerset ในย่านสุขุมวิทและสาทร และ Vic3 พญาไท

CapitaLand มีโมเดลการขยายธุรกิจที่น่าสนใจ โดยการหมุนเวียนเงินลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอและกำไรในระดับสูง โดย CapitaLand จะสร้างหรือซื้อสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ บริหารจนสินทรัพย์นั้นสามารถสร้างรายได้ในระดับที่มั่นคง ก็จะนำไปจัดทำกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หรือ private equity funds ซึ่งเงินทุนที่ได้จากการขายกองทุนจะนำไปขยายในโครงการที่มีศักยภาพอื่นๆ ต่อไป

นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลของธุรกิจ เช่น ระหว่างโครงการที่กำลังพัฒนาและโครงการที่สร้างรายได้ให้บริษัทแล้ว หรือระหว่างธุรกิจที่สร้างรายได้สม่ำเสมอ และธุรกิจที่สร้างรายได้แบบเป็นโครงการ เพื่อให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วยอัตรากำไรที่สูง

ในปัจจุบัน CapitaLand เน้นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (Mixed developments) ซึ่งเป็นการรวมทั้งที่อยู่อาศัย ค้าปลีก อาคารสำนักงาน และ เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ ในโครงการและพื้นที่เดียวกัน เช่น Raffles City ในสิงคโปร์ โดยบริษัทได้นำรูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จดังกล่าว เข้าไปพัฒนา Raffles City อีก 8 แห่งในประเทศจีน มีพื้นที่รวม 3 ล้านตารางเมตร โดยได้เปิดไปแล้ว 4 แห่งในเมืองเซียงไฮ้ ปักกิ่ง เฉินตู และหนิงโป   

          CapitaLand ยังเชื่อมั่นในการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีน แม้ว่ารัฐบาลจีนได้ออกมาประกาศใช้มาตรการลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ เนื่องจากบริษัทให้ความสำคัญกับการลงทุนระยะยาวจึงเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐที่จะป้องกันปัญหาฟองสบู่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ล่าสุด บริษัทเพิ่งได้เข้าควบรวม Shanghai Guang Chuan Property ซึ่งเป็นผู้พัฒนาสายรถไฟใต้ดินและที่ดินเหนือรถไฟใต้ดินในเซี่ยงไฮ้ เพื่อขยายกิจการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมในเซี่ยงไฮ้อีกด้วย

          ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจไทยพาณิชย์ (EIC) เห็นว่าการที่ CapitaLand สามารถทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ข้ามชาติที่ประสบความสำเร็จได้เป็นกรณีตัวอย่างที่ดีสำหรับธุรกิจไทย ที่สนใจจะขยายตลาดในยุค AEC  โดยนาย Lim Ming Yan ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นผู้สร้างความสำเร็จของธุรกิจในจีน ได้กล่าวถึงกลยุทธ์สำคัญว่าคือการดึงบุคลากรในประเทศจีนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานกับบริษัท สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่พนักงานมีความกระตือรือร้นและทุ่มเทกับงาน ในปัจจุบัน CapitaLand ในจีนมีพนักงานที่เป็นคนจีนมากกว่า 95% ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวทำให้บริษัทสามารถคลุกคลีเพื่อทำความเข้าใจตลาดและความต้องการของผู้บริโภคได้ดีและนี่เป็นหัวใจสำคัญหนึ่งของความสำเร็จของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ