SHARE

มูลค่าส่งออก ส.ค. ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าอย่างชัดเจน จากการส่งออกทองคำที่หดตัวสูง และผลของการระบาด COVID-19 ทั่วโลกที่ทำให้เศรษฐกิจโลกโน้มชะลอลง และเกิดปัญหา supply chain disruption ในหลายประเทศ

มูลค่าการส่งออกเดือนส.ค. ขยายตัว 8.9%YOY โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง ...

 LINE_sharebutton[1].JPG




Flash_Export_Aug_20210927-01.jpg



  • มูลค่าการส่งออกเดือนส.ค. ขยายตัว 8.9%YOY โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง (แบบ %YOY) ในทุกสินค้าสำคัญ แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าแบบปรับฤดูกาล การส่งออกปรับลดลงมากถึง -9.1%MoM_sa โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกทองคำที่หดตัวมากถึง -85.8%YOY

  • แม้ไม่รวมการส่งออกทองคำ การส่งออกก็ยังปรับลดลงจากเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากการระบาดสายพันธุ์เดลตาที่ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สะท้อนจาก Manufacturing PMI ที่ปรับลดลงในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะประเทศ EM นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหา supply chain disruption ทั้งจากการปิดโรงงานในประเทศและการหยุดการผลิตของประเทศคู่ค้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน โดยพบว่าการส่งออกสินค้าสำคัญของไทยส่วนใหญ่ปรับลดลงตั้งแต่เดือนก.ค. เป็นต้นมา โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ที่ปรับลดลงมาก

  • EIC คาดว่าการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มชะลอลงจากฐานปีก่อนที่ปรับสูงขึ้น, ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง, ปัญหา supply chain disruption และปัญหาการขาดแคลนชิปที่เริ่มส่งผลกระทบมากขึ้น ขณะที่ในปี 2022 คาดส่งออกจะขยายตัวได้ต่อเนื่องแม้ในอัตราที่ชะลอลงจากปีนี้ตามเศรษฐกิจโลกที่จะขยายตัวได้จากความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่จะขยายตัวเร่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้ค่าระวางเรืออยู่ในระดับสูง และปัญหาขาดแคลนชิป น่าจะยังเป็นปัจจัยกดดันผู้ส่งออกต่อเนื่องในปีหน้า

 

 Button-01-(1).jpg

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ