SHARE

ถุงมือยางไทย : โอกาสในปี 2021 และความท้าทายหลัง COVID-19

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงยืดเยื้อในหลายภูมิภาคทั่วโลกในปัจจุบัน จะส่งผลให้ปริมาณการใช้ถุงมือยางโลกในปี 2021 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

LINE_sharebutton[1]-(1)-(1).JPG

final_GettyImages-1225205799.jpg


  • การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงยืดเยื้อในหลายภูมิภาคทั่วโลกในปัจจุบัน จะส่งผลให้ปริมาณการใช้ถุงมือยางโลกในปี 2021 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการขยายกำลังการผลิตของผู้ประกอบการถุงมือยางไทย และมาเลเซีย โดย EIC มองว่า ในปี 2021 จะยังคงเป็นตลาดของผู้ประกอบการถุงมือยาง (Seller’s market) ซึ่งแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบอย่างน้ำยางข้น แต่ตลาดโลกยังมีความต้องการใช้ถุงมือยางในปริมาณมาก ทำให้ผู้ประกอบการยังสามารถปรับขึ้นราคาขายถุงมือยาง และรักษาอัตรากำไรไว้ได้

  • สำหรับในปี 2022 เป็นต้นไป น่าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านจากความต้องการใช้ถุงมือยางสำหรับตรวจหาผู้ติดเชื้อ และรักษาผู้ป่วย COVID-19 ไปสู่การใช้ถุงมือยางสำหรับฉีดวัคซีนป้องกัน ซึ่งแม้จะยังคงมีความต้องการใช้ถุงมือยางปริมาณมากอยู่ แต่การฉีดวัคซีนป้องกันจะเป็นการใช้ถุงมือยาง 2 คู่/ผู้ได้รับวัคซีน 1 คน ขณะที่การใช้ถุงมือยางสำหรับรักษาผู้ป่วย COVID-19 จะต้องใช้อย่างต่อเนื่อง และยืดเยื้อมากกว่า ซึ่งอาจส่งผลให้ปริมาณการใช้ถุงมือยางโลกในปี 2022 มีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2020 และ 2021 และอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมถุงมือยางไทยเผชิญภาวะกำลังการผลิตถุงมือยางสูงเกินความต้องการมาก

  • สำหรับในระยะต่อไป การบริหารจัดการต้นทุนด้านวัตถุดิบ และราคาขายถุงมือยางถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการ จากแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะทำให้มีการนำน้ำยางสดไปแปรรูปเป็นยางแผ่นและยางแท่งเพื่อผลิตยางรถยนต์มากขึ้น และอาจส่งผลให้มีการขาดแคลนน้ำยางข้นเพื่อผลิตถุงมือยาง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการผลิตถุงมือยางพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย ขณะที่การปรับราคาขายถุงมือยางตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นน่าจะทำได้ยากมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปริมาณการผลิตถุงมือยางโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก จากการเร่งขยายกำลังการผลิตของผู้ประกอบการถุงมือยางไทย และมาเลเซียในปัจจุบัน

  • การลงทุนหรือการขยายกำลังการผลิตถุงมือยางควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้มีกำลังการผลิตส่วนเกินมากเกินไป หากสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยผู้ประกอบการถุงมือยางอาจกระจายความเสี่ยงด้วยการผลิตถุงมือยางสำหรับภาคอุตสาหกรรม และถุงมือยางสำหรับครัวเรือน รวมถึงการพัฒนาคุณสมบัติถุงมือยางเพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้เฉพาะทางมากยิ่งขึ้น ก็จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับถุงมือยางได้ นอกจากนี้ มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่ประเทศคู่ค้าอาจหยิบยกมาเป็นเงื่อนไขทางการค้า เช่น สวัสดิการแรงงาน มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศพัฒนาแล้ว ก็เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนของไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อลดอุปสรรคด้านการค้าในอนาคต

 


Button-01.jpg

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ