SHARE
OUTLOOK:BULL-BEAR
16 ธันวาคม 2020

BULL-BEAR: ราคาน้ำมัน (ไตรมาส 4/2020)

EIC มองว่าราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 4 ปี 2020 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเทียบกับไตรมาส 3 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน

เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 4/2020 คลิกอ่านฉบับเต็ม 

 

 

ราคาน้ำมัน 
(USD/บาร์เรล)

2019

2020F 2021F
(ค่าเฉลี่ย)  Q1 Q2 Q3 Q4 เฉลี่ย Q1 Q2 Q3 Q4F เฉลี่ย* ช่วงราคา** เฉลี่ย**

ราคาน้ำมันดิบ WTI

55 60 56 57 57 46 28 41 42 39 38-40 48
ราคาน้ำมันดิบ Brent 63 68 62 63 64 51 32 43 44 42 41-43 50


*ประมาณการราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยต่อปี กรณีฐาน โดย EIC
**ช่วงราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2020 และราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2021 กรณีฐาน ประมาณการโดย Leading global houses 4 ราย (ณ 16 พ.ย. 2020)

 

EIC’s view: Bulls

 

EIC มองว่าราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 4 ปี 2020 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเทียบกับไตรมาส 3 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน และข่าวดีเรื่องวัคซีน COVID-19 โดยในไตรมาส 4 จะมีความต้องการน้ำมันสูงขึ้นตามฤดูกาลเพื่อทำความร้อนซึ่งเป็นช่วงหน้าหนาว อีกทั้งเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว ซึ่ง IMF ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2020 ดีขึ้นจาก -5.2% (คาดการณ์เดือนมิถุนายน 2020) เป็น -4.4% (คาดการณ์เดือนตุลาคม 2020) นอกจากนี้ ผลสำเร็จของการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะเป็น upside ให้กับอุปสงค์และราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันถูกจำกัดจากปัจจัยของจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และหลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรปได้ออกมาตรการ lockdown รอบที่สอง รวมถึงจำกัดการเดินทาง จะส่งผลให้การฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมันอาจน้อยกว่าที่คาด

สำหรับราคาน้ำมันดิบในปี 2021 EIC มองว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นจากปี 2020 โดยได้ปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดย IMF ประเมินว่าในปี 2021 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัว 5.2% (คาดการณ์เดือนตุลาคม 2020) และสมมติฐานความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีน COVID-19 ที่นำมาฉีดให้กับประชากรในประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำมันสูงขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การขนส่งสินค้า และการเดินทางท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้นตามลำดับ ในขณะที่อุปทานน้ำมันโลกในปี 2021 แม้จะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเทียบกับปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 98.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ปริมาณดังกล่าวยังน้อยกว่าอุปสงค์โลกที่ 98.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดย OPEC+ ยังคงทำการลดปริมาณการผลิตขนาด 7.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เริ่มเดือนมกราคมปี 2021 ในส่วนของลิเบียที่ได้เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันหลังสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง EIC มองว่าจะไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อราคาน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปริมาณการผลิตของลิเบียที่เพิ่มขึ้นไม่น่าจะทำให้ตลาดน้ำมันกลับมามีอุปทานส่วนเกินในปี 2021 นี้



 

BULLs BEARs
  • อุปสงค์น้ำมันโลกฟื้นตัวในไตรมาส 4 ปี 2020 ต่อเนื่องถึงปี 2021 ทำให้ตลาดน้ำมันมีอุปสงค์มากกว่าอุปทานน้ำมัน (deficit) จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อราคาน้ำมันดิบ จากวิกฤติ COVID-19 ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลงอย่างรุนแรง ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 ตลาดน้ำมันมีอุปทานส่วนเกินมากถึง 6.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2020 อุปสงค์น้ำมันค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเดินทาง การขนส่ง รวมถึงความต้องการใช้น้ำมันเพื่อทำความร้อนในช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้ EIA ประเมินอุปสงค์น้ำมันในไตรมาส 4 ปี 2020 ขยายตัวสูงขึ้น 2.8%QOQ มาอยู่ที่ 96.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่อุปทานน้ำมันขยายตัว 2.8%QOQ มาอยู่ที่ 93.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือมีอุปสงค์มากกว่าอุปทานราว 3.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน สำหรับตลาดน้ำมันในปี 2021 EIA คาดว่าอุปสงค์น้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น 6.3%YOY มาอยู่ที่ 98.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนอุปทานน้ำมันขยายตัวเพียง 4.2%YOY มาอยู่ที่ 98.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือมีอุปสงค์มากกว่าอุปทานราว 4.2 แสนบาร์เรลต่อวัน แต่ปริมาณอุปสงค์และอุปทานดังกล่าวยังน้อยกว่าปริมาณในปี 2019 ก่อนเกิดวิกฤติ COVID-19 ที่มีระดับมากกว่า 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน

  • สมาชิกกลุ่ม OPEC ร่วมมือกันลดปริมาณการผลิตน้ำมันได้ตามเป้าหมาย และมีแผนลดปริมาณการผลิตไปจนถึงปี 2021 โดยข้อมูลในเดือนกันยายน 2020 Compliance rate ของกลุ่ม OPEC อยู่ที่ 101% โดยมีปริมาณการผลิตน้ำมันรวม 21.78 ล้านบาร์เรลต่อวัน น้อยกว่าโควตาการผลิตที่ตกลงกันไว้ที่ 21.82 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ไม่รวมอิหร่าน ลิเบีย และเวเนซุเอลา ที่ได้รับการยกเว้นในข้อตกลง) นอกจากนี้ OPEC และพันธมิตรนำโดยรัสเซีย (OPEC+) ร่วมมือกันลดปริมาณการผลิตขนาด 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน (คิดเป็น 8% ของอุปทานน้ำมันโลก) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2020 และล่าสุดที่ประชุมของกลุ่ม OPEC+ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2020 ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันที่จะลดการผลิตน้ำมันขนาด 7.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เริ่มเดือนมกราคม ปี 2021 เพื่อปรับสมดุลตลาดน้ำมันโลก

  • การ lockdown รอบ 2 ของหลายประเทศ เป็นปัจจัยกดดันต่อการฟื้นตัวของความต้องการใช้น้ำมัน จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2020 มีจำนวนมากถึง 5-6 แสนคนต่อวัน ทำให้หลายประเทศออกมาตรการ lockdown รอบที่ 2 หรือจำกัดการเดินทาง เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม สาธารณรัฐเช็ก กดดันการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลก เช่น OPEC ปรับลดปริมาณอุปสงค์น้ำมันโลกในไตรมาส 4 ปี 2020 จาก 94.9 เป็น 93.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน สำหรับ EIA ปรับลดตัวเลขดังกล่าวจาก 97.1 เป็น 96.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน1

  • สถานการณ์การเมืองในลิเบียเริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันในลิเบียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รัฐบาลของลิเบียที่สหประชาชาติรองรับ (Government of National Accord: GNA) และกองทัพแห่งชาติลิเบีย (Libya National Army: LNA) ทำข้อตกลงหยุดยิง และยกเลิกการปิดล้อมแหล่งผลิตและท่าเรือส่งออกน้ำมันเมื่อเดือนกันยายน 2020 ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันของลิเบียเพิ่มขึ้นจาก 1 แสนบาร์เรลต่อวันในเดือนกันยายน 2020 เป็น 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2020 นับเป็นการฟื้นตัวของการผลิตน้ำมันที่กลับมาค่อนข้างรวดเร็ว ทั้งนี้ลิเบียวางเป้าการผลิตน้ำมันจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงต้นปี 2021 คิดเป็นสัดส่วนราว 1% ของอุปทานน้ำมันโลก

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ