OUTLOOK:THAI ECONOMY
14 ธันวาคม 2020
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ของการประท้วง
ในการศึกษาเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการประท้วงนั้น EIC ได้พยายามศึกษาเทียบเคียงจากเหตุการณ์ในอดีตของไทย ได้แก่ เหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชน
เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 4/2020 คลิกอ่านฉบับเต็ม
ในการศึกษาเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการประท้วงนั้น EIC ได้พยายามศึกษาเทียบเคียงจากเหตุการณ์ในอดีตของไทย ได้แก่ เหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เสื้อเหลือง), กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (เสื้อแดง) และคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) โดยจะทำการศึกษากับตัวชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญ ซึ่งได้ผลดังนี้
ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง
• เมื่อการประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นและมีการปะทะกัน นักท่องเที่ยวต่างชาติจะมีความอ่อนไหวต่อเหตุการณ์มากที่สุด
• การลงทุนภาคเอกชนมีความอ่อนไหวรองลงมาโดยมักจะปรับตัวลดลงมากกว่าการบริโภคภาคเอกชน
• เมื่อการประท้วงยุติ พบว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับการประท้วงในรอบนี้ คาดว่าจะมีช่องทางผลกระทบที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ในรอบก่อน ๆ แต่ช่องทางนักท่องเที่ยวและการลงทุนที่ได้รับผลกระทบหนักจาก COVID-19 อยู่แล้ว อาจไม่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติมมากนัก อย่างไรก็ดี หากสถานการณ์ยืดเยื้อ ก็ย่อมส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม และอาจทำให้การฟื้นตัวของ
ภาคท่องเที่ยวและการลงทุนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ จึงยังเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า
ผลกระทบต่อภาคการเงิน
จากการศึกษาเหตุการณ์ในอดีตทั้ง 3 เหตุการณ์ (รูปที่ 20) พบว่าเมื่อการประท้วงยกระดับความรุนแรงจนกระทั่งมีการปะทะกัน จะทำให้เงินทุนไหลออก ตลาดหุ้นปรับลดลง ในส่วนของค่าเงินบาทนั้น มีทิศทางอ่อนค่า แต่เพียงในระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากในระยะต่อมามักมีปัจจัยอื่นที่เข้ามาส่งผลต่อค่าเงิน และสุดท้ายคือความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะลดลง สะท้อนจาก CDS ที่ปรับสูงขึ้นจาก risk premium ที่สูงขึ้น
