"คาร์บอนฟุตพริ้นท์" ข้อมูลสำคัญต้านโลกร้อน
สภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming นั้นไม่ต่างจากสงครามที่มนุษย์ทั่วโลกต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด เพราะภูมิอากาศที่แปรปรวนปั่นป่วนไปทั่วโลกนั้นเกิดจากน้ำมือของมนุษย์เอง แม้จะมีความพยายามในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเพิ่มอุณหภูมิโลกลงให้ได้ร้อยละ 6 ในระหว่างปี พ.ศ.2551-2555 ตามที่ประเทศสมาชิกวางเป้าหมายไว้ในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) แต่ก็ใช่ว่าจะคาดหวังได้เต็มที่ว่าจะบรรลุผลสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ ประเทศพัฒนา เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้ประกาศเป้าหมายอย่างชัดเจนว่านับแต่นี้ไปต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลง โดยกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าต่างเร่งศึกษาวิจัยปรับการผลิตพร้อมๆ กับร่วมสร้างความตื่นตัวในกลุ่มผู้บริโภคโดยเริ่มจัดทำสลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon footprint) เพื่อบอกปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตทั้งหมดว่าในแต่ละขั้นตอนได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนเท่าใด ตั้งแต่เริ่มจัดหาวัตถุดิบ นำไปแปรรูป ผลิต จัดจำหน่าย จนย่อยสลาย ซึ่งสลากนี้ก็เหมือนกับป้ายบอกจำนวนแคลอรี่ และสารอาหารที่พิมพ์อยู่บนบรรจุภัณฑ์ที่เราเห็นกันจนคุ้นตา โดยคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะสื่อสารให้ผู้บริโภคตระหนักในหลายประเด็น ทั้งความใส่ใจของผู้ผลิตและผู้ขายต่อปัญหาโลกร้อน สร้างความตื่นตัวของสังคม รวมไปถึงการสร้างจุดขายของผลิตภัณฑ์
ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
สภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming นั้นไม่ต่างจากสงครามที่มนุษย์ทั่วโลกต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด เพราะภูมิอากาศที่แปรปรวนปั่นป่วนไปทั่วโลกนั้นเกิดจากน้ำมือของมนุษย์เอง แม้จะมีความพยายามในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเพิ่มอุณหภูมิโลกลงให้ได้ร้อยละ 6 ในระหว่างปี พ.ศ.2551-2555 ตามที่ประเทศสมาชิกวางเป้าหมายไว้ในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) แต่ก็ใช่ว่าจะคาดหวังได้เต็มที่ว่าจะบรรลุผลสำเร็จ
ด้วยเหตุนี้ ประเทศพัฒนา เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้ประกาศเป้าหมายอย่างชัดเจนว่านับแต่นี้ไปต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลง โดยกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าต่างเร่งศึกษาวิจัยปรับการผลิตพร้อมๆ กับร่วมสร้างความตื่นตัวในกลุ่มผู้บริโภคโดยเริ่มจัดทำสลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon footprint) เพื่อบอกปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตทั้งหมดว่าในแต่ละขั้นตอนได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนเท่าใด ตั้งแต่เริ่มจัดหาวัตถุดิบ นำไปแปรรูป ผลิต จัดจำหน่าย จนย่อยสลาย ซึ่งสลากนี้ก็เหมือนกับป้ายบอกจำนวนแคลอรี่ และสารอาหารที่พิมพ์อยู่บนบรรจุภัณฑ์ที่เราเห็นกันจนคุ้นตา โดยคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะสื่อสารให้ผู้บริโภคตระหนักในหลายประเด็น ทั้งความใส่ใจของผู้ผลิตและผู้ขายต่อปัญหาโลกร้อน สร้างความตื่นตัวของสังคม รวมไปถึงการสร้างจุดขายของผลิตภัณฑ์
คาร์บอนฟุตพริ้นท์นำมาใช้ครั้งแรกในสหราชอาณาจักรราวเดือนมีนาคม 2550 ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค โดยซูปเปอร์มาร์เก็บรายใหญ่ของอังกฤษ ได้เริ่มติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนภาชนะบรรจุสินค้าภายใต้แบรนด์ของตนเอง ประมาณ 20 รายการ วางขายทั่วประเทศ และการติดป้ายบอกจำนวนคาร์บอนก็ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรปและในเอเชีย รวมถึงในประเทศไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทคป และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ได้จัดโครงการส่งเสริมการใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ขึ้นโดยมีผู้ผลิตรายใหญ่ 16 บริษัทนำร่องใช้เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนผลิตภัณฑ์ ซึ่งแน่นอนว่าต้องรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มนุษย์จะขาดไม่ได้อย่าง "อาหาร"
ทั้งนี้ ข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลที่เห็นและเข้าใจได้ง่ายว่าสินค้าแต่ละชนิดเป็นที่มาของคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใดและให้ผู้ซื้อเป็นผู้ตัดสินใจแล้วยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการได้ 2 ปีต่อการขออนุญาตใช้ 1 ครั้ง และจะมีเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตใช้ฉลากทุกๆ 6 เดือน ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่ามาตรฐานฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะบ่งชี้ข้อมูลที่เที่ยงตรงชัดเจนและเป็นจริงเท่านั้น
แม้การแก้ปัญหาโลกร้อนดูเหมือนจะยากเกินความรับผิดชอบของคนคนหนึ่ง แต่สิ่งที่ทำได้คือการทำให้มันเกิดขึ้นใหม่ให้น้อยที่สุด คาร์บอนฟุตพริ้นท์จึงมีแนวโน้มจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่อีกอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องมี เพื่อบอกให้ผู้ซื้อรู้และเป็นผู้ตัดสินใจ ข้อมูลนี้จำเป็นอย่างมากต่อการขายสินค้าแก่กลุ่มผู้ซื้อที่มีจิตสำนึกสูงต่อสิ่งแวดล้อม เพราะผลิตภัณฑ์ในตลาดจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะราคา คุณภาพมาตรฐานการออกแบบหรือรสชาติเท่านั้น แต่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นสำคัญต่อผู้บริโภคไม่แพ้ปัจจัยใดเลย
ผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้ในหลายประเทศเริ่มีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น และมีการเรียกร้องให้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยต้องติดเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วย นอกจากนั้น หากประเทศไทยมีการดำเนินโครงการและเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนจะช่วยให้เรามีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นในการประชุมระดับโลกเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
ภายใต้ภาวะอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อยๆ การแนะนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กับสินค้าจึงเป็นเรื่องตื่นเต้นสำหรับบริษัทผู้ผลิตว่าสลากใหม่ที่พัฒนาขึ้นนี้จะได้รับความสนใจ และส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคเพียงใด ทั้งนี้มีบริษัทในไทยที่ริเริ่มปรับสินค้าของตนแล้วโดยฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์มีผลต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชนิดที่ขออนุญาตใช้เท่านั้น ระยะเวลาการใช้งาน และอากาศของโลกผันแปร