SHARE
OUTLOOK:IN FOCUS
16 มิถุนายน 2020

In focus : การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จะเป็นอย่างไร?

จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว EIC จึงจัดทำ Dashboard ที่ประกอบไปด้วยหลายตัวชี้วัดสำคัญเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด

iStock-1226131882.jpg

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร?


จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว EIC จึงจัดทำ Dashboard ที่ประกอบไปด้วยหลายตัวชี้วัดสำคัญเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด (รูปที่ 1) โดยสรุปได้ว่าเศรษฐกิจไทยภาคการท่องเที่ยวและส่งออกในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และจำนวนเที่ยวบินในประเทศ รวมถึงมูลค่าส่งออกที่ปรับลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวในส่วนของมาตรการปิดเมืองที่เริ่มผ่อนคลาย สะท้อนจากข้อมูลการเดินทางของประชาชนที่เริ่มมีสูงขึ้น หลังจากลดลงอย่างมากในช่วงก่อนหน้า ขณะที่ทางด้านการจ้างงาน แม้ว่าตัวเลขอัตราว่างงานในภาพรวมจะยังมีทิศทางทรงตัว แต่หากพิจารณาข้อมูลการประกาศรับสมัครงานของ Jobsdb.com พบว่ามีการปรับลดลงมากในช่วงที่มีการปิดเมือง และเริ่มมีการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดเมื่อมีการทยอยเปิดเมือง แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนการระบาด COVID19 อยู่พอสมควร สะท้อนแนวโน้มตลาดแรงงานที่ยังอ่อนแอในระยะต่อไป

Dashboard.jpg

Dashboard2.jpg

EIC ประเมินในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (U-shape) เนื่องจากเศรษฐกิจมีความอ่อนแรงอยู่แล้วก่อน COVID-19 ประกอบกับการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า ๆ ขณะที่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจก็มีความเปราะบางสะสมอยู่มากจากระดับหนี้ที่สูง

 

ก่อนที่จะวิเคราะห์ลักษณะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ขอกล่าวถึงนิยามของการฟื้นตัวแต่ละแบบ โดยในการวิเคราะห์จะใช้นิยามเดียวกับ Boston Consulting Group (BCG) มีข้อมูลตามรูปที่ 2 ซึ่งโดยสรุปแล้ว การฟื้นตัวจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบหลัก ได้แก่ V-shape, U-shape และ L-shape โดยการฟื้นตัวแบบ V-shape คือการฟื้นตัวแบบรวดเร็ว ทำให้ระดับจะกลับไปสู่เส้นแนวโน้ม (trend) เดิมก่อนวิกฤติ ขณะที่การฟื้นตัวแบบ U-shape นับเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยในที่สุดจะมีอัตราเติบโตใกล้เคียงกับก่อนวิกฤติ แต่ระดับ (level) จะอยู่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มก่อนวิกฤติ และสุดท้ายการฟื้นตัวแบบ L-shape เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (structural change) โดยนอกจากระดับจะต่ำกว่าเส้นแนวโน้มเดิมแล้ว อัตราเติบโตก็จะต่ำกว่าด้วย

Pic2.JPG

EIC ทำการวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในการฟื้นตัวลักษณะต่าง ๆ โดยจะวิเคราะห์ในส่วนของแนวโน้มเศรษฐกิจโลก การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว และความพร้อมในการฟื้นตัวของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ผลปรากฎตามรูปที่ 3

จากการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ EIC มองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวแบบ U-shape มากที่สุด เนื่องจาก

1) เดิมเศรษฐกิจไทยก็มีทิศทางอ่อนแรงอยู่แล้วก่อนจะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 (รูปที่ 4 ซ้าย) ซึ่งเกิดจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ทำให้ภาคการส่งออกของไทยได้รับผลกระทบ และส่งผลไปยังการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวม

2) จากประมาณการของ IMF เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวแบบ U-shape (รูปที่ 4 ขวา) โดยแม้ว่า IMF จะคาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2021 มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี แต่หากวิเคราะห์ถึงระดับของ GDP ก็จะเห็นได้ว่าทั้งระดับ GDP ของกลุ่มประเทศ Advanced และ Emerging economies ล้วนแต่มีระดับที่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มเดิม (trend) ซึ่งตรงกับนิยาม U-shape ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ก็ย่อมส่งผลต่อภาคส่งออกสินค้าของไทยที่นับเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของไทย

3) การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวไทยก็มีแนวโน้มเป็นไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีน การระบาดของ COVID-19 ก็ยังเป็นข้อกังวลสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวนอกจากนี้ จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่หดตัวอย่างหนัก ก็ย่อมกระทบถึงรายได้ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึงการลดขนาดธุรกิจของหลายสายการบินและมาตรการ social distancing ที่จะลดจำนวนผู้โดยสารต่อรอบ จึงทำให้คาดว่าต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าที่นักท่องเที่ยวจะพร้อมเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศอีกครั้ง

4) ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจของไทยจะมีความเปราะบางทางการเงินมากขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายและการลงทุน โดยแม้ภาครัฐจะออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 ซึ่งเป็นมาตรการที่ดีในการป้องกันการปิดตัวของบริษัท รวมถึงช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่หากพิจารณาถึงความพร้อมในการฟื้นตัว ก็พบว่าจากเศรษฐกิจไทยที่มีความอ่อนแรงก่อนมี COVID-19 อยู่แล้ว ประกอบกับผลกระทบโดยตรงของ COVID-19 ก็จะทำให้ทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีความเปราะบางเพิ่มขึ้น ผ่านงบดุลที่อ่อนแอลง โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของหนี้ ดังนั้น การฟื้นตัวจึงน่าจะมีทิศทางแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าการฟื้นตัวแบบรวดเร็ว

Pic3.JPG
Pic4.JPG

EIC ทำการประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวรายภาคธุรกิจสำคัญ (sector) โดยวิเคราะห์จากภาวะก่อนวิกฤติ (initial conditions), ระดับผลกระทบจาก COVID-19 (degree of impact) และความเร็วในการฟื้นตัว (speed of recovery) พบว่าธุรกิจส่วนมากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และจะใช้ระยะเวลาพอสมควรในการฟื้นตัว โดยธุรกิจที่น่ากังวลมากที่สุด คือ ธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม เพราะเป็นธุรกิจที่มีทั้งความเปราะบางตั้งแต่ก่อนวิกฤติ และได้รับผลกระทบรุนแรง รวมถึงมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า

EIC ประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวรายภาคธุรกิจสำคัญ (sector) จาก 3 มิติ ได้แก่ ภาวะก่อนวิกฤติ (initial conditions) ของแต่ละภาคธุรกิจ, ระดับผลกระทบจาก COVID-19 โดยเทียบกับระดับรายได้ก่อนเกิดวิกฤติ (degree of impact) และความรวดเร็วในการฟื้นตัวของแต่ละภาคธุรกิจ ซึ่งวัดจากระยะเวลาที่รายได้จะกลับมาเท่าระดับก่อนเกิดวิกฤติ (speed of recovery) โดยมีรายละเอียด ดังนี้


Button-01.jpg

IF_Info-p1_Outlook2Q2020.jpgIF_Info-p2_Outlook2Q2020.jpg



Get the additional info

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ