SHARE
OUTLOOK:THAI ECONOMY
20 มกราคม 2020

8 ข้อค้นพบผลกระทบของ การแข็งค่าของเงินบาท

ในช่วงที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์และอสังหาริมทรัพย์มีทิศทางลดลงต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและ ผลกระทบจากมาตรการ LTV

เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 1/2020 คลิกอ่านฉบับเต็ม 

 


Outlook_Q1_2020_18.jpg

ประเด็นเรื่องการแข็งค่าของเงินบาทนับเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2016-ปัจจุบัน ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นมากกว่า 19.1% โดยหากเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค พบว่าค่าเงินบาทมีการแข็งค่ามากที่สุด (รูปที่ 16) และหากเทียบระดับ Nominal Effective Exchange Rate (NEER) กับหลายประเทศทั่วโลก1 พบว่าดัชนีค่าเงินบาทไทยมีการแข็งค่ามากที่สุดในโลกหากเทียบตั้งแต่ต้นปี 2016 จนถึงเดือน พ.ย. 2019

รูปที่ 16 : เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องเทียบกับประเทศคู่ค้าสำคัญและแข็งค่ามากกว่าสกุลเงินอื่น ๆ
Outlook_Q1_2020_19.jpg
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg BIS และ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้อีไอซีวิเคราะห์ผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่าโดยมี 8 ข้อค้นพบ และ 4 ช่องทางหลัก ดังนี้

Outlook_Q1_2020_20.jpg
รายละเอียดแต่ละข้อค้นพบ

Outlook_Q1_2020_21.jpg

Outlook_Q1_2020_22.jpg
Outlook_Q1_2020_23.jpg

Outlook_Q1_2020_24.jpg

Outlook_Q1_2020_25.jpg

Outlook_Q1_2020_26.jpg

Outlook_Q1_2020_27.jpg

Outlook_Q1_2020_28.jpg

โดยสรุป การแข็งค่าของเงินบาทมีทั้งผู้ได้และเสียประโยชน์ แต่จะมีผลลบสุทธิชัดเจนในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาทช่วยลดต้นทุนสินค้านำเข้าให้มีราคาถูกลง โดยเฉพาะราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าวัตถุดิบ และราคาสินค้าทุนที่มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ ซึ่งเป็นผลดีต่อรายจ่ายของผู้บริโภคและผู้ผลิตที่ใช้สินค้าเหล่านั้น อย่างไรก็ดี ราคาสินค้านำเข้าถูกลงนั้น ก็อาจทำให้ภาคธุรกิจในประเทศมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง ในอีกด้านหนึ่ง การแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบด้านลบต่อรายได้ของผู้ส่งออกสินค้าและบริการ ในรูปของรายได้จากการส่งออกในรูปเงินบาท, ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทย, การชะลอตัวของรายจ่ายนักท่องเที่ยว และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศลดลง โดยปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สำหรับผลกระทบโดยรวมนั้นการแข็งค่าของเงินบาทในระดับสูงอย่างต่อเนื่องจะส่งผลลบชัดเจนในภาวะที่เศรษฐกิจโลกและการส่งออกโดยรวมชะลอลงหรือหดตัวเช่นในภาวะปัจจุบัน
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ