SHARE

มาตรการกระตุ้นของรัฐช่วยเศรษฐกิจไทยปี 2019 โตที่ 3% ขณะที่ปี 2020 มีแนวโน้มฟื้นตัวเล็กน้อยที่ 3.2%

GDP ไตรมาส 2/2019 โตชะลอลงที่ 2.3%YOY ต่ำสุดในรอบ 19 ไตรมาส โดยมีแรงฉุดหลักจากภาคส่งออกสินค่าเป็นสำคัญ


iStock-530000678.jpg

  • อีไอซีปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2019 เล็กน้อยจากเดิมคาดขยายตัว 3.1% เหลือขยายตัว 3.0% โดยเป็นผลจากสงครามการค้าส่งผลกระทบต่อภาคส่งออก ท่องเที่ยว และการจ้างงานในประเทศ รวมถึงผลกระทบจากภัยแล้ง อย่างไรก็ดี มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดจะเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี โดยอีไอซีประเมินว่า จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ 0.3 percentage point

  • เศรษฐกิจไทยปี 2020 มีแนวโน้มฟื้นตัวเพียงเล็กน้อยที่ 3.2% แต่อาจชะลอเหลือโตเพียง 2.7% ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ

  • สำหรับมูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ค. 2019 ที่ขยายตัว 4.3% แต่หากหักทองคำจะหดตัวที่ -0.4% นับเป็นการหดตัวน้อยลงจากช่วงครึ่งปีแรก สอดคล้องกับที่อีไอซีคาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งหลังปี 2019 อัตราการขยายตัวของภาคส่งออก (แบบ %YOY) จะปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำของปีก่อนเป็นสำคัญ โดยอีไอซีประเมินว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปี 2019 จะหดตัวที่ -2.0% YOY


Economic Updates:

GDP ไตรมาส 2/2019 โตชะลอลงที่ 2.3%YOY ต่ำสุดในรอบ 19 ไตรมาส ขณะที่ การเติบโตเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าแบบปรับฤดูกาล (%QOQ_sa) ขยายตัวที่ 0.6% โดยการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 อยู่ที่ 2.6%YOY ใกล้เคียงกับประมาณการของอีไอซีที่เคยคาดไว้ที่ 2.5%YOY

ในด้านการใช้จ่าย (Expenditure Approach) เศรษฐกิจไทยมีแรงฉุดหลักจากภาคส่งออกและท่องเที่ยว โดยมูลค่าการส่งออกที่แท้จริงหดตัวมากถึง -5.8%YOY ส่วนการส่งออกบริการหดตัวมากถึง -7.0%YOY ตามการลดลงของรายรับบริการขนส่งและจำนวนนักท่องเที่ยว ขณะที่ การบริโภคภาคเอกชนยังสามารถขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ 4.4%YOY จากการเร่งตัวของการบริโภคสินค้ากึ่งคงทนและไม่คงทนเป็นสำคัญ โดยได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงกลางปีผ่านบัตรสวัสดิการที่มีเม็ดเงินกว่า 1.32 หมื่นล้านบาท

ด้านการผลิต (Production Approach) พบว่า ภาคเกษตรหดตัวที่ -1.1%YOY จากผลกระทบภัยแล้ง ขณะที่การผลิตอุตสาหกรรมลดลงเช่นกันที่ -0.2%YOY จากการผลิตสินค้าส่งออกที่ปรับตัวลดลงตามการหดตัวของภาคส่งออก ในส่วนของภาคการผลิตด้านอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมีทิศทางชะลอลงจากไตรมาสแรก สะท้อนว่าเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มได้รับผลกระทบจากการหดตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ


คลิกเพื่ออ่านข้อมูลฉบับเต็มในรูปแบบ PDF

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ