SHARE
FLASH
10 ตุลาคม 2013

ผลกระทบของแผนการเรียกคืนคลื่น 850MHz เพื่อใช้ควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูง

กสทช. มีแนวคิดเรียกคืนคลื่นในย่านความถี่ 850 MHz ที่ปัจจุบันให้บริการโดย DTAC และ True Move H หลังจากหมดสัญญาสัมปทาน เพื่อนำไปจัดสรรใหม่สำหรับใช้ทำระบบสื่อสารในการควบคุมรถไฟความเร็วสูงแบบไร้สาย (GSM - R) และคลื่นบางส่วนจะถูกจัดสรรให้กับระบบวิทยุสื่อสาร (walkie – talkie) เพื่อใช้งานเมื่อเกิดภัยพิบัติ ในขณะเดียวกัน กสทช. จะพิจารณาจัดสรรคลื่นในย่านความถี่ 900 MHz เพิ่มเติม จากเดิมที่อนุญาตให้ใช้งานเพียง 17.5 MHz โดยจะเพิ่มเป็น 20 หรือ 31 MHz เพื่อทดแทนการขาดหายไปของคลื่น 850 MHz กสทช. มีแนวคิดเรียกคืนคลื่นในย่านความถี่ 850 MHz ที่ปัจจุบันให้บริการโดย DTAC และ True Move H หลังจากหมดสัญญาสัมปทาน เพื่อนำไปจัดสรรใหม่สำหรับใช้ทำระบบสื่อสารในการควบคุมรถไฟความเร็วสูงแบบไร้สาย (GSM - R) และคลื่นบางส่วนจะถูกจัดสรรให้กับระบบวิทยุสื่อสาร (walkie – talkie) เพื่อใช้งานเมื่อเกิดภัยพิบัติ ในขณะเดียวกัน กสทช. จะพิจารณาจัดสรรคลื่นในย่านความถี่ 900 MHz เพิ่มเติม จากเดิมที่อนุญาตให้ใช้งานเพียง 17.5 MHz โดยจะเพิ่มเป็น 20 หรือ 31 MHz เพื่อทดแทนการขาดหายไปของคลื่น 850 MHz

ผู้แต่ง : จาตุรนต์ อำไพ

178561791.jpg

Event.png

885_20100622103059.gif

  • กสทช. มีแนวคิดเรียกคืนคลื่นในย่านความถี่ 850 MHz ที่ปัจจุบันให้บริการโดย DTAC และ True Move H หลังจากหมดสัญญาสัมปทาน เพื่อนำไปจัดสรรใหม่สำหรับใช้ทำระบบสื่อสารในการควบคุมรถไฟความเร็วสูงแบบไร้สาย (GSM - R) และคลื่นบางส่วนจะถูกจัดสรรให้กับระบบวิทยุสื่อสาร (walkie - talkie) เพื่อใช้งานเมื่อเกิดภัยพิบัติ ในขณะเดียวกัน กสทช. จะพิจารณาจัดสรรคลื่นในย่านความถี่ 900 MHz เพิ่มเติม จากเดิมที่อนุญาตให้ใช้งานเพียง 17.5 MHz โดยจะเพิ่มเป็น 20 หรือ 31 MHz เพื่อทดแทนการขาดหายไปของคลื่น 850 MHz


Analysis.png

884_20100622103051.gif

  • ในระยะสั้น: แนวคิดดังกล่าวจะไม่กระทบผู้ประกอบการเนื่องจากได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายจากสัญญาสัมปทานเดิมที่ยังมีอยู่ โดย DTAC จะสามารถใช้คลื่นดังกล่าวได้ถึงปี 2018 ส่วน TRUE จะสามารถใช้ได้ถึงปี 2025

  • ในระยะยาว: ถ้า กสทช. เรียกคืนคลื่นเพื่อไปใช้ในกิจการ GSM-R หลังจากหมดสัญญาสัมปทานจริง ตลาดโทรคมนาคมไทยจะขาดแคลนคลื่นในช่วงความถี่ต่ำ ที่เหมาะสำหรับการวางโครงข่ายในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของการใช้งานน้อย เช่น พื้นที่ต่างจังหวัด  ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลงทุนโครงข่ายบนคลื่นความถี่อื่นทดแทน ทำให้มีต้นทุนในการประกอบการสูงขึ้น แต่ในด้านความพอเพียงของจำนวนคลื่นที่ให้บริการจะไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากยังมีคลื่นในช่วงอื่นที่ยังสามารถนำมาให้บริการต่อได้ คือ คลื่นในย่านความถี่ 900 MHz, 1800 MHz, 2100 MHz, 2300 MHz และ 2600 MHz (รูปที่ 1)

รูปที่1: ตารางแสดงคลื่นความถี่ในย่านต่างๆ ที่มีให้บริการในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต 

6383_20131010095512.jpg

  

Implication.png

886_20100622103105.gif

  • แนวคิดดังกล่าวจะทำให้การประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีการแข่งขันที่รุนแรง (ราคาประมูลสูงขึ้น) โดยเฉพาะคลื่น 900 MHz ที่จะกลายเป็นคลื่นความถี่ต่ำเพียงช่วงเดียวที่ยังเหลือให้บริการอยู่

  • เกิดความได้เปรียบ - เสียเปรียบทางด้านการลงทุนของผู้ประกอบการในแต่ละราย โดยเฉพาะ TRUE ที่ใช้เงินลงทุนบนโครงข่ายคลื่น 850 MHz ไปเป็นจำนวนมาก แต่อุปกรณ์ที่ใช้งานบนคลื่น 850 MHz บางอย่าง เช่น อุปกรณ์ภาครับ-ส่งสัญญาณ จะไม่สามารถนำมาใช้งานต่อได้ จึงกลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า หาก TRUE ต้องเปลี่ยนไปให้บริการที่คลื่นในย่านความถี่อื่น อาจจำเป็นต้องมีการลงทุนสร้างเสาส่งเพิ่มเติม กระทบต่อสถานะการเงินในอนาคต

  • ผู้ประกอบการแต่ละรายอาจต้องร่วมกันจัดตั้ง Tower Co. หรือ Infrastructure fund อย่างจริงจัง เพื่อทดแทนการสร้างโครงข่ายใหม่ที่มีค่าใช้จ่ายสูง

  • EIC มองว่ายังมีทางเลือกอื่นในการวางระบบสื่อสารเพื่อควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือ อาจเลือกใช้งานที่คลื่นความถี่อื่นที่มีมูลค่าต่ำกว่าในการใช้ทำ GSM - R ทั้งนี้ต้องรอความชัดเจนของหน่วยงานกำกับอีกครั้ง

Get the additional info

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ