เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 3/2019 คลิกอ่านฉบับเต็ม
ราคาน้ำมัน (USD/บาร์เรล)
|
2017 |
2018F
|
2019F |
(ค่าเฉลี่ย) |
เฉลี่ย |
Q1 |
Q2 |
Q3F |
Q4F |
เฉลี่ย |
Q1 |
Q2 |
Q3 |
Q4 |
เฉลี่ย |
ช่วงราคา |
ราคาน้ำมันดิบ WTI
|
51 |
63 |
68 |
70 |
59 |
65 |
55 |
62 |
61 |
59 |
59 |
54-64 |
ราคาน้ำมันดิบ Brent |
54 |
67 |
75 |
75 |
68 |
71 |
63 |
71 |
66 |
65 |
66 |
63-71 |
ประมาณการราคาน้ำมันดิบโดย EIC
*ช่วงราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยต่อปี กรณีฐาน ซึ่งประมาณการโดย Leading global houses 5 ราย (ณ 1 กรกฎาคม 2019)
EIC’s view: Bear
ราคาน้ำมันดิบในไตรมาสที่ 3 ปี 2019 มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยปัจจัยกดดันหลักมาจากสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ยืดเยื้อ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อความต้องการน้ำมัน นอกจากนี้ แม้ว่า OPEC จะขยายเวลาลดปริมาณการผลิตน้ำมันออกไปอีกจนถึงเดือนมีนาคม 2020 แต่คาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันจากสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นจะมาชดเชยอุปทานจาก OPEC ซึ่งในไตรมาส 3 นี้ EIA ประเมินว่าสหรัฐฯ จะผลิตน้ำมันดิบสูงถึง 12.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเติบโต 12.4%YOY
อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risk) ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นในระยะสั้น โดยเฉพาะเรื่องการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่ออิหร่านเรื่องโครงการนิวเคลียร์ มีท่าทีว่าจะไม่จบโดยง่าย ซึ่งเดิมสหรัฐฯ ได้ยกเว้นให้ 8 ประเทศสามารถนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2018 แต่เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2019 สหรัฐฯ ประกาศยุติข้อยกเว้นนี้แล้ว ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันในเดือนพฤษภาคมของอิหร่านลดเหลือ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งหดตัวถึง 57% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่มีปริมาณส่งออก 9.4 แสนบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ อิหร่านขู่ว่าจะปิดช่องแคบ Hormuz ซึ่งถ้าปิดจริงจะทำให้ประเทศในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย คูเวต อิรัก อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่งออกน้ำมันผ่านทางช่องแคบนี้ไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบตึงตัว
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของ OPEC เดือนพฤษภาคม 2019 เทียบกับปริมาณเป้าหมายที่ได้ตกลงไว้ หน่วย: พันบาร์เรลต่อวัน
![Outlook_Q3_2019_Final_TH26.jpg]()
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ OPEC
|
BULLs |
BEARs |
-
การประชุมของกลุ่ม OPEC ที่กรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2019 มีมติขยายเวลาการลดปริมาณการผลิตน้ำมันขนาด 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ออกไปจนถึงเดือนมีนาคม 2020 เพื่อรักษาสมดุลของอุปสงค์และอุปทานในตลาดน้ำมัน ทั้งนี้สำหรับซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันมากที่สุดในกลุ่ม OPEC สามารถลดปริมาณการผลิตในเดือนพฤษภาคม 2019 ได้มากกว่าที่ตกลงไว้ โดยผลิตน้ำมันที่ระดับ 9.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ปริมาณเป้าหมายที่ตกลงไว้คือ 10.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
-
อิหร่านขู่ว่าจะปิดช่องแคบ Hormuz เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่ยุติการให้ข้อยกเว้นแก่ 8 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ตุรกี ไต้หวัน กรีซ และอิตาลี สามารถนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านได้ ทั้งนี้ช่องแคบ Hormuz เป็นทางผ่านที่สำคัญของเรือขนส่งน้ำมันจากประเทศในตะวันออกกลางออกสู่ตลาดโลก โดยปริมาณน้ำมัน 1 ใน 3 ของการค้าน้ำมันทั้งหมดจะถูกลำเลียงผ่านทางช่องแคบนี้ ซึ่งหากถูกปิดจริงจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันตึงตัว
-
ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อสหรัฐฯ กล่าวหาอิหร่านว่าโจมตีเรือน้ำมัน 2 ลำ ในอ่าวโอมาน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน และหนึ่งอาทิตย์ถัดมาโดรนของกองทัพสหรัฐฯ มูลค่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถูกอิหร่านยิงตกขณะบินเหนือช่องแคบ Hormuz ซึ่งความตึงเครียดดังกล่าวจะส่งผลทำให้ราคาน้ำมันทะยานสูงขึ้นในระยะสั้น
|
-
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยืดเยื้อ อาจส่งผลทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อความต้องการน้ำมัน ทั้งนี้สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิม 10% เพิ่มขึ้นเป็น 25% ส่วนจีนตอบโต้มาตรการทางภาษี โดยขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิม 5-10% เพิ่มเป็น 5-25% ทั้งนี้สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ประเมินว่า อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2019 จะอยู่ที่ 101.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เติบโตช้าลงมาอยู่ที่ 1.2%YOY เทียบกับปีก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.4%YOY
-
อุปทานน้ำมันจากผู้ผลิตในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันเฉลี่ยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2019 อยู่ที่ 833 แท่น ขยายตัว 4%YOY ทั้งนี้ EIA ประเมินว่าสหรัฐฯ จะมีปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในปี 2019 ที่ระดับ 12.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขยายตัวถึง 12.4%YOY
|