SHARE
OUTLOOK:THAI ECONOMY
09 กรกฏาคม 2019

การวิเคราะห์ผลประมาณการเศรษฐกิจ ภายใต้สมมติฐานต่าง ๆ (Scenario Analysis)

เนื่องจากในช่วงปัจจุบัน ความเสี่ยงเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและภาคการส่งออกของไทยโดยตรง

เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 3/2019 คลิกอ่านฉบับเต็ม

Outlook_Q3_2019_Final_TH20.jpg

เนื่องจากในช่วงปัจจุบัน ความเสี่ยงเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและภาคการส่งออกของไทยโดยตรง ด้วยเหตุนี้ จึงยากที่จะคาดการณ์เศรษฐกิจจากความไม่แน่นอนดังกล่าว อีไอซีจึงได้จัดทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวในกรณีต่าง ๆ แบ่งเป็น กรณีฐาน (Base) กรณีเลวร้าย (Worse) และกรณีเลวร้ายที่สุด (Worst) โดยมีสมมติฐาน ดังนี้

Outlook_Q3_2019_Final_TH21.jpg

ในส่วนของกรณีฐาน คือสมมติฐานหลักในการประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจทั้งหมดในการประมาณการครั้งนี้ อย่างไรก็ดี หากสถานการณ์สงครามการค้ามีความรุนแรงมากขึ้น โดยสหรัฐฯ มีการเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมกับสินค้าจีนมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ 10% ก็จะเป็นสมมติฐานหลักของกรณีเลวร้าย และสำหรับกรณีเลวร้ายที่สุด สหรัฐฯ จะมีการเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมกับสินค้าจีนมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ 25%

ทั้งนี้เมื่อความรุนแรงของสงครามการค้ามากขึ้น ก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีทิศทางชะลอลง ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้าของไทย ก็ยังส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวอีกด้วย ทั้งในส่วนของจำนวนและค่าใช้จ่ายต่อหัวที่อาจปรับตัวลดลง นอกจากนี้ เมื่อความรุนแรงของสงครามการค้าเพิ่มขึ้น เงินบาทไทยก็อาจมีทิศทางแข็งค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการที่ค่าเงินบาทของไทยมีลักษณะเป็น Regional safe haven ตามเสถียรภาพที่แข็งแกร่งของไทย สะท้อนจากการเกินดุลต่อเนื่องของดุลบัญชีเดินสะพัดและปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง จึงอาจทำให้มีเงินทุนไหลเข้าเพื่อต้องการถือเงินบาทเพิ่มเติม และสุดท้าย เมื่อเศรษฐกิจไทยมีโอกาสชะลอตัวมากขึ้นตามทิศทางความรุนแรงของสงครามการค้า ภาครัฐก็มีแนวโน้มกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อทดแทนอุปสงค์ภายนอกที่ปรับตัวลดลง

สำหรับผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวจากสมมติฐานหลักใน 3 กรณี สามารถแสดงได้ดังตารางด้านล่าง

ด้านกรณีฐานนั้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ที่ 3.1% ส่วนการส่งออกสินค้าจะหดตัวที่ -1.6%
ส่วนกรณีเลวร้าย การส่งออกสินค้าจะปรับตัวลดลงเพิ่มเติมมาอยู่ที่ -2.3% ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจแต่ละภาคส่วนมีการชะลอลงตาม อย่างไรก็ดี จะมีปัจจั

สนับสนุนจากภาครัฐในส่วนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะเพิ่มขึ้น โดยจะอยู่ในรูปเงินโอนไปให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากเป็นช่องทางที่จะให้เม็ดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจได้เร็วที่สุด จึงทำให้การบริโภคภาคเอกชนยังสามารถขยายตัวได้ใกล้เคียงกับกรณีฐาน นอกจากนี้ จากความเสี่ยงที่เศรษฐกิจมีโอกาสขยายตัวต่ำกว่า 3% จึงอาจทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps มาอยู่ที่ 1.50 ในช่วงปลายปี 2019 ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ คาดว่าเศรษฐกิจในกรณีเลวร้ายจะขยายตัวได้ที่ 2.9%

สำหรับกรณีเลวร้ายที่สุด การส่งออกสินค้าจะหดตัวมากถึง -3.1% โดยแม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเพิ่มเติม แต่การขยายตัวของการ
บริโภคภาคเอกชนก็จะลดลงจากรณีฐานเล็กน้อย เนื่องจากผลลบของการลดลงของภาคส่งออกมีมากกว่าผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ทางด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็จะมีการปรับลดลงมาเหลือที่ 1.5% เช่นกัน ซึ่งโดยสรุปแล้วในกรณีนี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เพียง 2.7%

Outlook_Q3_2019_Final_TH22.jpg

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ