SHARE
SCB EIC ARTICLE
17 ตุลาคม 2018

BULL-BEAR: ราคาน้ำมัน (ไตรมาส 4/2018)

เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 4/2018 คลิกอ่านฉบับเต็ม 

 

 

ราคาน้ำมัน 
(USD/บาร์เรล)

2017

2018F

2019F
(ค่าเฉลี่ย)  Q1 Q2 Q3 Q4 เฉลี่ย Q1 Q2 Q3F Q4F เฉลี่ย สูงสุด* ต่ำสุด* เฉลี่ย

ราคาน้ำมันดิบ WTI

52 48 48 55 51 63 68 69 73 68 74 59 72
ราคาน้ำมันดิบ Brent 54 50 52 61 54 67 75 73 79 73 79 62 80


*ข้อมูลจาก Leading global houses ( 25 กันยายน 2018)
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC

 

EIC’s view: Bulls

ราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 4 มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยปัจจัยเรื่องสหรัฐฯ คว่ำบาตรอิหร่านจะส่งผลบวกต่อราคาน้ำมันในไตรมาสนี้ เนื่องจากญี่ปุ่น เกาหลี สหภาพยุโรป และ อินเดียจะปฏิบัติตามการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ เพื่อรักษาความสามารถในการเข้าถึงระบบการเงินของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี อีไอซีมองว่าประเทศที่ปัจจุบันมีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ เช่น ตุรกีและจีน จะยังคงนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน ทั้งนี้ การคว่ำบาตรในครั้งนี้จะส่งผลให้อุปทานจากอิหร่านหายไปราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันในเวเนซุเอลาที่ยังลดลงอย่างต่อเนื่องจากปัญหาทางการเมืองในประเทศเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้น โดยอุปทานน้ำมันดิบจากเวเนซุเอลาจะลดลงเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในสิ้นปี 2018 ในส่วนของปัจจัยที่จะกดดันราคาน้ำมันดิบมาจากการเพิ่มการผลิตของ OPEC และรัสเซียที่ตกลงเพิ่มปริมาณการผลิตเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยนักวิเคราะห์คาดว่าในไตรมาส 4 OPEC จะมีการผลิตอยู่ที่ราว 38 ล้านบาร์เรลต่อวัน และมี spare capacity อยู่ราว 2 - 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ในปี 2019 ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากอุปทานของอิหร่านที่หายไปและความต้องการน้ำมันดิบที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบกับปี 2018 ในขณะที่ downside risk ของราคาน้ำมันเป็นความเสี่ยงจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและความต้องการน้ำมันที่ลดลงได้ นอกจากนี้ หากราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับสูงอาจส่งผลให้ความต้องการน้ำมันลดลงโดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศ EM ที่มีการเติบโตของความต้องการน้ำมันสูง รวมทั้งมีความเสี่ยงด้านค่าเงินในภาวะที่ค่าเงินสหรัฐฯ แข็งขึ้น

ในด้านอุปทาน การผลิตจากสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นราว 5 แสนบาร์เรลต่อวันในปี 2019 อย่างไรก็ตามอุปทานจากสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 เป็นต้นไปเมื่อท่อขนส่งน้ำมันทยอยเปิด ซึ่งอาจส่งผลให้ความตึงตัวของอุปทานน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2019 นอกจากนี้ อุปทานจากผู้ผลิต non-OPEC non-OECD เช่น บราซิล และรัสเซีย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นราว 3 แสนบาร์เรลต่อวันและ 1 แสนบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (geo-political risk) ปัญหาทางการเมืองของเวเนซุเอลา ซีเรีย ไนจีเรีย และลิเบียยังคงเป็นปัจจัยกดดันอุปทานน้ำมันในปี 2019

ปริมาณการผลิตน้ำมันของอิหร่าน
หน่วย: ล้านบาร์เรลต่อวัน
Outlook_Q4_2018_Bulls1.jpg
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg JP Morgan Goldman Sachs และข่าว


 

BULLs BEARs
  • ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นตามฤดูกาล เนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาว ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ได้ประเมินว่าในไตรมาส 4 ปี 2018 อุปสงค์จะมีการขยายตัว ราว 1.5% YOY มาอยู่ที่ 100.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน

     

  • สหรัฐฯ เริ่มใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านในวันที่ 6 สิงหาคม ซึ่งนับเป็นเวลา 90 วันหลังจากที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม มาตรการคว่ำบาตรยังไม่ครอบคลุมถึงสินค้าปิโตรเลียมในเวลานี้ โดยประเทศต่างๆ ยังมีเวลาจนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายนในการหยุดการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน โดยมาตรการคว่ำบาตรนี้จะส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบหายไปจากตลาดโลกราว 1.1 - 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

  • สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและความต้องการน้ำมัน

     

  • การแก้ไขปัญหาคอขวดทางด้านท่อส่งแก๊สและน้ำมันของสหรัฐฯ คาดว่าจะเสร็จเร็วกว่ากำหนด ทำให้ขนส่งน้ำมันได้เพิ่มขึ้น 1 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยแผนการขยายท่อขนส่งจากแหล่ง Permian ซึ่งเป็นแหล่งจุดเจาะแก๊สและน้ำมันขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ จะเริ่มทยอยเสร็จตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2018 ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2022

 

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ