SHARE
SCB EIC ARTICLE
10 กรกฏาคม 2018

ทิศทางการลงทุนของบริษัทจดทะเบียนไทย

เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 3/2018 คลิกอ่านฉบับเต็ม 



 Outlook_Q3_2018_Thai_investment4.jpg

 

 

บริษัทในภาคอุตสาหกรรมมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาตามทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้น จากข้อมูลการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (capital expenditure: CAPEX) ที่มีตัวตน อาทิ เครื่องจักร อุปกรณ์ โรงงาน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ mai นับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา พบว่าบริษัทในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมีการลงทุนสูงขึ้นกว่าในอดีต แต่การลงทุนของบริษัทในภาคพลังงานทรงตัว นอกจากนี้ ในช่วงปี 2016-2017 การลงทุนของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่บริษัทในภาคบริการเริ่มชะลอลง (รูปที่ 13) โดยทิศทางการลงทุนของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมสอดคล้องกับการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวได้สูงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (รูปที่ 14) ทั้งนี้ แนวโน้มการส่งออกสินค้าที่ยังเติบโตต่อเนื่องในปี 2018 ที่ 8.5% ทำให้อีไอซีมองว่าการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นและเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้การลงทุนภาคเอกชนในปี 2018 ให้สูงขึ้นกว่าหลายปีที่ผ่านมา

 

 

รูปที่ 1: การลงทุนของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่บริษัทในภาคบริการเริ่มชะลอลง

การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่มีตัวตนของบริษัทจดทะเบียนในแต่ละสาขา*

หน่วย: ดัชนี 2010=100

 

 Outlook_Q3_2018_Thai_investment1.jpg

 

 

*เฉพาะบริษัทที่มีข้อมูลครบตั้งแต่ปี 2010 – 2017 รวมทั้งหมด 60% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg

 

 

รูปที่ 2: ทิศทางการลงทุนของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมสอดคล้องกับการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวได้สูงในปีที่ผ่านมา

การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่มีตัวตนของบริษัทจดทะเบียนและดัชนีการส่งออกภาคอุตสาหกรรม*

หน่วย: ดัชนี 2000=100

 

Outlook_Q3_2018_Thai_investment2.jpg

 

 

*เฉพาะบริษัทที่มีข้อมูลครบตั้งแต่ปี 2000 – 2017

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg และ CEIC

 

การลงทุนของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมาจากกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก สอดคล้องกับผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทขนาดเล็กกว่า โดยกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่สุดมีการลงทุนในปี 2017 คิดเป็นกว่า 2 เท่าของในปี 2010 ขณะที่การลงทุนของกลุ่มบริษัทขนาดเล็กกลับลดลง (รูปที่ 15) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นไปตามผลประกอบการที่บริษัทขนาดใหญ่ยังมีความสามารถในการทำกำไรได้สูงกว่าบริษัทขนาดเล็กในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (รูปที่ 16)

 

รูปที่ 3: การลงทุนของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมาจากกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก

การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (capex) ของบริษัทจดทะเบียนในภาคอุตสาหกรรม แยกตามขนาดของบริษัท*

หน่วย: ดัชนี 2010=100

 

 

Outlook_Q3_2018_Thai_investment3.jpg

 

 

*เฉพาะบริษัทในภาคการผลิตที่มีข้อมูลครบตั้งแต่ปี 2010 – 2017 โดยจำแนกขนาดของบริษัทตามขนาดของสินทรัพย์ ณ ปี 2017
Quartile 1 คือบริษัทที่มีสินทรัพย์ขนาดเล็กที่สุดหรือต่ำกว่า percentile ที่ 25,
Quartile 2 คือบริษัทที่มีขนาดสินทรัพย์ในช่วง percentile ที่ 25 – 50,
Quartile 3 คือบริษัทที่มีขนาดสินทรัพย์ในช่วง percentile ที่ 50 – 75,
Quartile 4 คือบริษัทที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ที่สุดหรือสูงกว่า percentile ที่ 75 

 

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2018

 

สามารถอ่านต่อได้ที่ฉบับเต็ม

 

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ