SHARE
SCB EIC ARTICLE
10 กรกฏาคม 2018

SMEs กับโอกาส ในการส่งออก

เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 3/2018 คลิกอ่านฉบับเต็ม 


Outlook_Q3_2018_Thai_sme5.jpg

 

 

ปัจจุบัน SMEs นับว่ามีความสำคัญอย่างมากและมีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ในปี 2017 SMEs สามารถสร้าง GDP ที่แท้จริงเป็นมูลค่ากว่า 4.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 42.4% ต่อ GDP รวมของประเทศ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 37.4% ในปี 2013 ทั้งนี้ ในปี 2013-2017 GDP ของ SMEs มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 6.1% ซึ่งสูงกว่า GDP ของธุรกิจรายใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตเพียง 0.7% (รูปที่ 10) นอกจากนี้ SMEs ยังเป็นแหล่งการจ้างงานที่สำคัญของประเทศ โดย มีสัดส่วนการจ้างงานสูงถึง 78.5% ของการจ้างงานรวม และมีอัตราการเติบโตในปีที่ผ่านมาถึง 10.5% สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ เราได้เห็นพลวัตในกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ SMEs ที่มีแนวโน้มไปสู่ภาคบริการมากขึ้น ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างการจ้างงานได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภาคการผลิตและภาคการค้า แสดงให้เห็นถึงแนวทางการเติบโตของที่คาดว่าจะเป็นผลบวกในด้านการกระจายความมั่งคั่งไปสู่หน่วยย่อยทางเศรษฐกิจได้มากกว่าการเติบโตแบบที่ผ่านมา

 

 

รูปที่ 1: GDP ของ SMEs ที่เติบโตสูงกว่า GDP รวมของประเทศ แสดงถึงบทบาทที่ของ SMEs ที่เพิ่มขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในภาคบริการ

มูลค่า GDP ของ SMEs ต่อ GDP รวมของประเทศ

หน่วย: ล้านล้านบาท, มูลค่า GDP ที่แท้จริง

 

 

 

Outlook_Q3_2018_Thai_sme1.jpg

สัดส่วน GDP ของ SMEs ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

หน่วย: %

 

 

 

 

Outlook_Q3_2018_Thai_sme2.jpg

 

 

 

 

หมายเหตุ: นิยาม SMEs ตามกฎกระทรวงที่กำหนดตามจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวร ณ วันที่ 11 ก.ย. 2002 เป็นดังนี้
– กิจการบริการ: จำนวนการจ้างงานไม่เกิน 200 คน และมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
– กิจการผลิต: จำนวนการจ้างงานไม่เกิน 200 คน และมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
– กิจการค้าส่ง: จำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน และมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 100 ล้านบาท
– กิจการค้าปลีก: จำนวนการจ้างงานไม่เกิน 30 คน และมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 60 ล้านบาท

 

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

 

ด้านการส่งออกของ SMEs ยังอยู่ในเกณฑ์เติบโต โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 3.1% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (รูปที่ 11) ซึ่งกลุ่มสินค้าที่มีการเติบโตสูงที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ หมวดผลไม้ อัญมณี และอุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ซึ่งมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 24.2% 10.6% และ 9.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในปี 2017 การส่งออก SMEs ประสบกับภาวะหดตัวสูง โดยมีอัตราการหดตัวเท่ากับ 9.2% ซึ่งสวนทางการส่งออกของประเทศที่ขยายตัวกว่า 9.9% สาเหตุนั้นมาจากการส่งออกในหมวดสินค้าประเภทอัญมณี โดยเฉพาะทองคำที่ลดลงถึง20.8% โดยอัญมณีเป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงที่สุด คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 18.8% ของการส่งออก SMEs ทั้งหมด นอกจากนี้ อัญมณียังเป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีบทบาทมากที่สุดอีกด้วย โดยมูลค่าการส่งออกอัญมณีของ SMEs คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 85.7% ของการส่งออกอัญมณีของประเทศทั้งหมด 

 

 

รูปที่ 2: การส่งออกไทยกลับมาสู่ทิศทางการขยายตัวหลังจากอยู่ในภาวะถดถอยช่วงปี 2014-2016 โดยการส่งออก SMEs พึ่งพากลุ่มอัญมณีเป็นหลัก ในขณะที่รายใหญ่ส่งออกอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัดส่วนสูงที่สุด

 

การส่งออก SMEs ตามหมวดสินค้า

หน่วย: พันล้านบาท

 

Outlook_Q3_2018_Thai_sme3.jpg

การส่งออกรวมตามกลุ่มอุตสาหกรรม

หน่วย: พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

Outlook_Q3_2018_Thai_sme4.jpg

 

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ สสว. และกระทรวงพาณิชย์

 

 

แม้การส่งออกของหมวดอัญมณีจะสร้างรายได้และการเติบโตให้กับ SMEs เป็นอย่างมาก แต่นับว่ามีความเสี่ยงจากการพึ่งพาการส่งออกในสินค้ากลุ่มนี้มากเกินไป โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2012-2017) การเติบโตของการส่งออก SMEs ขึ้นอยู่กับทิศทางการเติบโตของการส่งออกทองคำและอัญมณีเป็นหลัก โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการส่งออกทองคำของ SMEs ในปี 2016 ที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 130.1% ซึ่งทำให้การส่งออกของ SMEs ขยายตัวถึง 10.7% สอดคล้องกับเหตุการณ์ครั้งสำคัญของโลกที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2016 เช่น Brexit และชัยชนะของทรัมป์ ในการเลือกตั้งที่สหรัฐอเมริกา จึงสะท้อนถึงความเปราะบางที่มีต่อปัจจัยภายนอก และด้วยรูปแบบธุรกิจของทองคำที่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะการซื้อมาขายไป จึงไม่ได้สร้างมูลค่ามากนักในมุมการจ้างงานและการผลิตจริง

 

ด้านการส่งออกรวมของประเทศกลับมาขยายตัวที่ 9.9% ในปี 2017 จากสภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ฟื้นตัว โดยปริมาณการค้าโลกกลับมาเติบโตที่ 4.7% ในปี 2017 ตามรายงานของ WTO รวมถึงเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย ทั้งสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้น โดยสินค้าส่งออกหลักเกือบทุกรายการเติบโตได้ดี แต่การเติบโตดังกล่าว อาจไม่ได้ส่งประโยชน์โดยตรงต่อในบางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังมีบทบาทน้อย เนื่องจากผู้ส่งออกหลักยังเป็นบริษัทต่างชาติรายใหญ่ ซึ่งมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและมีความสามารถในการบริหารต้นทุน รวมถึงความพร้อมด้านการผลิตที่ต้องอาศัยความแม่นยำและเทคโนโลยี จึงทำให้ SMEs แข่งขันได้ยากเมื่อเทียบกับรายใหญ่ นอกจากนี้ การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ของไทยส่วนมากเป็นลักษณะของการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อมาผลิตหรือประกอบและส่งออก ดังนั้น SMEs จึงไม่ได้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่การผลิตเพื่อส่งออกมากนัก

 

 

สามารถอ่านต่อได้ที่ฉบับเต็ม

 

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ