เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 2/2018 คลิกอ่านฉบับเต็ม
ราคาน้ำมัน (USD/บาร์เรล)
|
2017F |
2018F
|
2019F |
(ค่าเฉลี่ย) |
Q1 |
Q2 |
Q3 |
Q4 |
เฉลี่ย |
Q1F |
Q2F |
Q3F |
Q4F |
เฉลี่ย |
สูงสุด* |
ต่ำสุด* |
เฉลี่ย |
ราคาน้ำมันดิบ WTI
|
52 |
48 |
48 |
55 |
51 |
62 |
61 |
59 |
58 |
60 |
70 |
58 |
56 |
ราคาน้ำมันดิบ Brent |
54 |
50 |
52 |
61 |
54 |
66 |
65 |
63 |
62 |
64 |
78 |
62 |
60 |
*ข้อมูลจาก Leading global houses (14 กุมภาพันธ์ 2018)
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC
EIC’s view: Bear ราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 2 ปี 2018 มีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากอุปทานน้ำมันดิบยังคงล้นตลาดอยู่ และยังได้รับปัจจัยกดดันจากผู้ผลิต shale oil ในแหล่งสำคัญของสหรัฐฯ ที่เพิ่มแท่นขุดเจาะ และผลิตน้ำมันดิบออกมาสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาการประชุมของ OPEC ในเดือนมิถุนายน หากสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องขยายระยะเวลาลดปริมาณการผลิตน้ำมันออกไปจนถึงปี 2019 จะทำให้ราคาน้ำมันปรับระดับสูงขึ้นรับข่าวนี้ |
BULLs |
BEARs |
-
ซาอุดีอาระเบียจะลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลงอีก 1 แสนบาร์เรลต่อวัน จากที่มีโควตาการผลิตอยู่ราว 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามที่ได้ตกลงไว้กับสมาชิก OPEC ในการลดปริมาณการผลิตน้ำมันตั้งแต่เดือนมกราคม 2017 และจะรักษาระดับการส่งออกน้ำมันให้อยู่ต่ำกว่า 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อลดอุปทานน้ำมันส่วนเกินในตลาดโลกให้เข้าสู่สมดุล จะเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันให้ปรับสูงขึ้น
-
รัสเซียและจีนมีแผนลงทุนหุ้น IPO ของ Saudi Aramco บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย ที่เตรียมจะเสนอขายหุ้นช่วงครึ่งปีหลังของปี 2018 ในสัดส่วน 5% ของมูลค่าบริษัท คิดเป็นเงินราว 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่จะส่งผลทางบวกต่อราคาน้ำมัน ทั้งนี้ นอกเหนือจากซาอุฯ จะพยายามผลักดันให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น เพื่อเป็นผลดีต่อราคาหุ้น ของ Saudi Aramco แล้ว นักลงทุนจะมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในโครงการน้ำมันต่างๆ และราคาน้ำมันที่คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง
-
การประชุมของกลุ่ม OPEC ในเดือนมิถุนายนนี้ ที่กรุงเวียนนา ออสเตรีย คาดว่าจะมีการตกลงขยายระยะเวลาลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบออกไปจนถึงครึ่งปีแรกของปี 2019 โดยประเทศที่สนับสนุนข้อตกลงนี้ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึง รัสเซีย ที่เป็นประเทศกลุ่ม Non-OPEC รายใหญ่ที่ได้เข้าร่วมข้อตกลงลดปริมาณการผลิตน้ำมันกับกลุ่ม OPEC
|
-
อุปทานน้ำมันดิบโลกในไตรมาส 2 ปี 2018 ที่ยังคงล้นตลาดอยู่ราว 5.5 แสนบาร์เรลต่อวัน จะเป็นปัจจัยลบต่อราคาน้ำมันดิบ ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ประเมินอุปทานน้ำมันดิบจะปรับระดับสูงขึ้นในไตรมาส 2 มาอยู่ที่ 100.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่อุปสงค์มีอยู่ราว 99.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งอุปทานน้ำมันที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตมากที่สุด มาจากผู้ผลิตในสหรัฐฯ ที่จะขุดเจาะน้ำมันทั้ง conventional oil และ shale oil ออกมาราว 17.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขยายตัวถึง 12%YOY
-
แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 791 แท่น สูงที่สุดตั้งแต่เดือนเมษายน 2015 เป็นตัวชี้วัดสะท้อนถึงแนวโน้มการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ที่จะขยายตัวสูงขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ แท่นขุดเจาะเกินกว่าครึ่งตั้งอยู่ในแหล่ง Permian ซึ่งคาดว่าจะมีการผลิตน้ำมันในแหล่งนี้สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 2.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 30% ของการผลิตน้ำมันทั้งหมดในสหรัฐฯ ทั้งนี้ การที่แหล่ง Permian มีแท่นขุดเจาะจำนวนมาก แต่ผลิตน้ำมันออกมาได้เพียง 30% เนื่องมาจากผลิตภาพการขุดเจาะ (Drilling Productivity) ของแหล่ง Permian อยู่ในระดับต่ำ ราว 500 บาร์เรลต่อวันต่อแท่น เทียบกับแหล่งอื่นๆ อย่าง Bakken หรือ Eagle Ford ที่อยู่ในระดับสูงถึงเกือบ 1,400 บาร์เรลต่อวันต่อแท่น
|