SHARE
FLASH
28 มีนาคม 2018

กนง. คงดอกเบี้ย มองเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่อง พร้อมปรับคาดการณ์ทั้งปีโต 4.1%

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการมีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% โดย 1 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.50% เป็น 1.75% ในการประชุมวันที่ 28 มีนาคม 2018 โดยกรรมการส่วนใหญ่ยังมองว่าการคงอัตราดอกเบี้ยจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น อย่างไรก็ดี กรรมการ 1 ท่าน เห็นว่าการลดระดับการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงบ้างจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่จะช่วยลดความเปราะบางจากการประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินที่ต่ำกว่าที่ควรได้

ผู้เขียน: วชิรวัฒน์ บานชื่น และพิมพ์นิภา บัวแสง 

 

Analysis.png

keypoint.jpg

    • ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการมีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% โดย 1 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.50% เป็น 1.75% ในการประชุมวันที่ 28 มีนาคม 2018 โดยกรรมการส่วนใหญ่ยังมองว่าการคงอัตราดอกเบี้ยจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น อย่างไรก็ดี กรรมการ 1 ท่าน เห็นว่าการลดระดับการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงบ้างจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่จะช่วยลดความเปราะบางจากการประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินที่ต่ำกว่าที่ควรได้

    • กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องและดีกว่าที่ประเมินไว้เดิม โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่เข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้ กนง. ปรับคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2018 จาก 3.9% มาอยู่ที่ 4.1% และประกาศคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2019 อยู่ที่ 4.1%

    • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นช้ากว่าที่ประเมินไว้เดิมเล็กน้อยจากราคาอาหารสดที่ลดลงมากกว่าคาด โดย กนง.ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 2018 มาอยู่ที่ 1.0% และ 0.7% ตามลำดับ จากเดิมที่ 1.1% และ 0.8% ตามลำดับ

    • ภาวะการเงินอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ด้านสินเชื่อ SMEs เริ่มปรับดีขึ้น

    • กนง. ยังคงติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่มีความผันผวนสูงขึ้นชัดเจน โดยมีสาเหตุหลักจากความไม่แน่นอนของนโยบายการเงิน การคลัง และการค้าระหว่างประเทศของประเทศอุตสาหกรรมหลัก นอกจากนี้ เศรษฐกิจในประเทศยังมีความเสี่ยงจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

 

Implication.png

886_20100622103105.gif

อีไอซีคาด กนง. คงดอกเบี้ยต่อเนื่องในปี 2018

  • อีไอซียังคาด กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ต่อเนื่องในปี 2018 อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้มีมากขึ้น สะท้อนจากการที่คณะกรรมการ 1 ท่าน ออกเสียงให้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากความกังวลต่อประเด็นเสถียรภาพระบบการเงินเป็นหลัก ซึ่งอีไอซีมองว่าอาจเป็นการเริ่มส่งสัญญาณเพื่อให้สาธารณะได้เริ่มปรับมุมมองต่อการดำเนินนโยบายทางการเงิน นอกจากนี้ การปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของ ธปท. ก็สะท้อนความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะไม่สามารถกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายภายในปีนี้มีมากขึ้น ทั้งนี้ ยังต้องติดตามการสื่อสารของ กนง. อย่างใกล้ชิด ต่อประเด็นน้ำหนักของเป้าหมายด้านต่างๆ ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น โดยเฉพาะความสำคัญและความเสี่ยงเชิงเปรียบเทียบระหว่างการดูแลอัตราเงินเฟ้อให้กลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน

  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นที่ผ่านมา ยังคงอยู่ในระดับต่ำจากปริมาณการออกพันธบัตรที่ยังน้อย และผู้ร่วมตลาดมองว่าดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงที่ สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่ปรับสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนฯ ระยะยาวของไทยเล็กน้อยเท่านั้น

  • หากเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ยังโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง ก็อาจทำให้ กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ยากขึ้น เพราะจะทำให้อัตราผลตอบแทนในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ กนง. กังวลและได้มีมาตรการดูแลไปก่อนหน้านี้

 

ตารางสรุปคำแถลงการณ์ของ ธปท. เทียบกับการประชุมครั้งก่อน 

 

หัวข้อ

 

การประชุมครั้งก่อน

(14 ก.พ. 2018)

 

การประชุมครั้งนี้

(28 มี.ค. 2018)

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวดีกว่าที่ประเมินไว้จากการส่งออกสินค้าและบริการที่โตต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลก การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีโดยเฉพาะหมวดสินค้าคงทน อีกทั้งยังได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ อย่างไรก็ดี กำลังซื้อครัวเรือนยังปรับดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนหนึ่งจากหนี้ครัวที่ยังอยู่ในระดับสูง การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามทิศทางและแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นต่อไป ด้านการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญแม้การเบิกจ่ายงบลงทุนจะล่าช้าออกไปบ้าง สำหรับความเสี่ยงยังคงเป็นเรื่องความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวดีกว่าที่ประเมินไว้โดยเฉพาะจากการส่งออกสินค้าและบริการที่โตต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลก การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่ได้ส่งผลดีต่อรายได้ครัวเรือนและการจ้างงานอย่างทั่วถึง และหนี้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจและยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่องโดยได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากโครงการภาครัฐ ด้านการใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจแต่ยังมีความเสี่ยงจากการเบิกจ่ายที่อาจล่าช้ากว่าที่ประเมินไว้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงภายนอกที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ผลกระทบจากความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ มาตรการตอบโต้จากประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ 

สถานการณ์เงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นจากปีก่อน อย่างไรก็ดี แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นจากปีก่อน โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นช้ากว่าที่ประเมินไว้เดิมเล็กน้อยจากราคาอาหารสดที่ลดลงมากกว่าคาด ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้าน อุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต

ความเสี่ยงที่ กนง. ติดตาม

1. นโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ

2. ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

3. ความสามารถชำระหนี้ของธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม

4. พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)

5. การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก

1. นโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ รวมถึงมาตรการตอบโต้จากประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ

2. ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

3. ความสามารถชำระหนี้ของธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม

4. พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)

5. การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย

มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%

มติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%

เหตุผลของกนง.

การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้น แต่ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและพัฒนาการเงินเฟ้อ นโยบายการเงินจึงควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อไปเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อเนื่อง

การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะจากปัจจัยด้านต่างประเทศ แต่ยังต้องติดตามความเข้มแข็งของการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและพัฒนาการเงินเฟ้อ นโยบายการเงินจึงควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อไปเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อเนื่อง

eic_infographic_GDP_28032018.jpg

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ