SHARE
FLASH
19 มกราคม 2018

ยุติประมูลคลื่น 900 MHz อีไอซีชี้ไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวม

กสทช. เตรียมเสนอเรื่องต่อคณะอนุกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้ยุติการประมูลคลื่น 900 MHz หลังจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เนื่องจากการใช้งานคลื่นดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะรบกวนสัญญาณคลื่นความถี่ที่ กสทช.จัดสรรให้กระทรวงคมนาคมใช้สำหรับการสื่อสัญญาณของรถไฟความเร็วสูง

ผู้เขียน:  ภูริพัฒน์ โสภณคีรีรัตน์

 

iStock-688980466.jpg

 

Event.png

885_20100622103059.gif

  • กสทช. เตรียมเสนอเรื่องต่อคณะอนุกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้ยุติการประมูลคลื่น 900 MHz หลังจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เนื่องจากการใช้งานคลื่นดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะรบกวนสัญญาณคลื่นความถี่ที่ กสทช.จัดสรรให้กระทรวงคมนาคมใช้สำหรับการสื่อสัญญาณของรถไฟความเร็วสูง

Analysis.png

884_20100622103051.gif

  • อีไอซีมองว่าการยุติการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมากนัก เนื่องจากคลื่นความถี่ในครอบครองของค่ายมือถือแต่ละรายยังคงเพียงพอต่อการให้บริการในปัจจุบัน นอกจากนี้ กสทช. ยังมีแนวคิดที่จะนำคลื่นความถี่อื่นๆ เช่น คลื่น 2600 MHz และ 700 MHz มาจัดสรรเพื่อให้บริการโทรคมนาคม ทั้งนี้ อีไอซีมองว่า กสทช. อาจจัดสรรคลื่นความถี่อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น คลื่น C-Band (3.4-3.8 GHz) และคลื่นความถี่ระดับมิลลิเมตร (24.25-27.5 GHz) เพื่อให้บริการ 5G ในอนาคต

  • แนวทางดังกล่าวอาจส่งผลให้ dtac ต้องทุ่มงบลงทุนเพื่อขยายโครงข่ายเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน dtac มีคลื่นความถี่ในครอบครองเป็นคลื่นความถี่สูงทั้งหมด ประกอบไปด้วยคลื่น 2100 MHz ขนาดแบนด์วิธ 15X2 MHz และคลื่น 2300 MHz ขนาดแบนด์วิธ 60X1 MHz ที่คาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญากับ TOT ได้ภายในต้นปีนี้หลังได้รับอนุญาตจาก กสทช. ซึ่งคลื่นความถี่สูงจะส่งสัญญาณได้ไม่ไกลเท่าคลื่นความถี่ต่ำ ทำให้ dtac อาจต้องลงทุนสร้างเสาสัญญาณเพิ่มขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ อีไอซีประเมินว่าการลงทุนรวมของค่ายมือถือทั้ง 3 รายมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงถึงราว 1.2 แสนล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2018-2021 โดยจะเป็นการลงทุนด้านอุปกรณ์ เสารับสัญญาณ และ small cell เพื่อรองรับความต้องการใช้งานด้านข้อมูลที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นกว่า 3 เท่าภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า
Implication.png

886_20100622103105.gif

  • การร่างหลักเกณฑ์และแผนการประมูลคลื่นความถี่ยังเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองเนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การสรรหาคณะกรรมการ กสทช. ชุดใหม่ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในช่วงเดือนพฤษภาคม 2018 ตลอดจนความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เนื่องจาก กสทช. ระบุเงื่อนไขว่าจะต้องมีการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวภายในปี 2020 ซึ่งหากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเกิดความล่าช้า ก็มีโอกาสที่ กสทช. จะนำคลื่น 900 MHz มาจัดสรรเพื่อให้บริการด้านโทรคมนาคมเช่นเดิม
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ