SHARE
SCB EIC ARTICLE
07 ธันวาคม 2017

ส่องโอกาสตลาดเครื่องปรุงรสใน CLMV

ตลาดเครื่องปรุงรสในกลุ่มประเทศ CLMV มีแนวโน้มเติบโตสูงต่อเนื่อง สอดคล้องกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วง 10 ปีที่ขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงราว 6.7% ต่อปี ซึ่งส่งผลในเชิงบวกต่อรายได้ประชากรในกลุ่มประเทศนี้อย่างมาก ซึ่งจากการเพิ่มขึ้นของรายได้นี้เองเริ่มทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านความต้องการบริโภคอาหารที่หลากหลายมากขึ้น และคุณภาพสูงขึ้น ขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของจานวนประชากร การขยายตัวของสังคมเมือง และร้านอาหารยังทาให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสต่างๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ผู้เขียน: นริศร์ธร ตุลาผล

เผยแพร่ในโพสต์ทูเดย์ วันที่ 7 ธันวาคม 2017

 

iStock-516723470.jpg

 

 

ตลาดเครื่องปรุงรสในกลุ่มประเทศ CLMV มีแนวโน้มเติบโตสูงต่อเนื่อง สอดคล้องกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วง 10 ปีที่ขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงราว 6.7% ต่อปี ซึ่งส่งผลในเชิงบวกต่อรายได้ประชากรในกลุ่มประเทศนี้อย่างมาก ซึ่งจากการเพิ่มขึ้นของรายได้นี้เองเริ่มทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านความต้องการบริโภคอาหารที่หลากหลายมากขึ้น และคุณภาพสูงขึ้น ขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของจานวนประชากร การขยายตัวของสังคมเมือง และร้านอาหารยังทาให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสต่างๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2012-16) ตลาดเครื่องปรุงรสในกลุ่มประเทศ CLMV มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 9% ต่อปีเทียบกับไทยซึ่งอยู่ที่เพียง 5.5% ต่อปีเท่านั้น โดยมีมูลค่าตลาดรวมกันกว่า 1,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นมูลค่าที่สูงกว่าตลาดของไทยถึงราว 8% อย่างไรก็ดี อัตราการบริโภคต่อหัวประชากรในกลุ่มประเทศ CLMV อยู่ที่ราว 4.8 กิโลกรัมต่อคนต่อปีซึ่งต่ากว่าไทยราว 40% สะท้อนถึงโอกาสและช่องว่างทางธุรกิจที่ยังคงสามารถเติบโตได้อีกมากในอนาคต

อย่างไรก็ดี หากเราพิจารณาโอกาสทางธุรกิจเป็นรายประเทศจะพบว่าเวียดนามถือเป็นประเทศที่มีโอกาสมากที่สุด สะท้อนได้จากการบริโภคเครื่องปรุงรสที่สูงที่สุดในกลุ่ม โดยอยู่ที่ราว 6 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มของเครื่องปรุงรสพื้นฐานโดยเฉพาะน้าปลาที่มีสัดส่วนสูงถึง 56% ของตลาดเครื่องปรุงรสทั้งหมด ซึ่งความนิยมนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ Kantar World ที่พบว่า 95% จากประชากรทั้งหมดของเวียดนามติดการใช้น้าปลาในมื้ออาหารอย่างมาก แต่ด้วยผลิตภัณฑ์น้าปลาในเวียดนามปัจจุบันยังเป็นน้าปลาที่มีคุณภาพต่ากว่ามาตรฐาน จึงถือเป็นโอกาสสาหรับน้าปลาคุณภาพดีจากไทยในการเข้าไปเจาะตลาด ซึ่งต้องมีการปรับสูตรให้เหมาะกับความชอบของคนเวียดนามที่ชื่นชอบน้าปลารสชาติออกหวาน ในขณะที่ลาว เมียนมา และกัมพูชานั้น แม้ว่าผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับเวียดนาม แต่การบริโภคเครื่องปรุงรสยังค่อนข้างน้อยหรือเฉลี่ยเพียง 2.8 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเท่านั้น เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่สัดส่วนของประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเครื่องปรุงรสไม่ได้มีความหลากหลายเท่าในตลาดไทยและเวียดนาม

ขณะเดียวกันการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของสังคมเมืองในกลุ่มประเทศ CLMV รวมทั้งวิถีชีวิตของผู้คนที่มีความเร่งรีบมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการเครื่องปรุงรสสาเร็จรูปจาพวกซอสหรือผงสาเร็จรูป และน้าจิ้มต่างๆ เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มประชากรที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงโดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึงราว 10% ต่อปี ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือยอดขายซุปก้อนสาเร็จรูปที่เข้ามาทดแทนผงชูรสอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อิทธิพลอาหารจากชาติตะวันตกก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่งทาให้ซอสมะเขือเทศและมัสตาร์ดเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นจนสามารถเติบโตเฉลี่ยได้ถึง 9% ต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคเหล่านี้ยังส่งผลดีต่อการส่งออกซอสประเภทต่างๆ ของไทยไปยังกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะตลาดเวียดนาม ซึ่งพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการส่งออกซอสเติบโตเฉลี่ยสูงถึงราว 30% ต่อปีเลยเดียว

ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคดังกล่าว ทาให้การบุกตลาด CLMV ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจอย่างมาก ทั้งในแง่ความต้องการที่เติบโตสูงต่อเนื่อง และรสนิยมการบริโภคผลิตภัณฑ์ปรุงอาหารที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่มีความพร้อมทั้งด้านวัตกรรมและความหลากหลายของเครื่องปรุงอย่างมาก ทั้งนี้ การบุกตลาดผ่าน trading company ในแต่ละประเทศถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้าง brands awareness ในระยะแรก และเมื่อแบรนด์ของเราเริ่มติดตลาดก็สามารถต่อยอดสู่การรุกตลาดอย่างเต็มตัวมากขึ้นในระยะต่อไป

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ