หากการเจรจา FTA ไทย-EU ล่าช้า ธุรกิจไทยจะเสียเปรียบประเทศในอาเซียนแค่ไหน?
แม้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC จะเป็นกระแสที่มาแรงและได้รับความสนใจในปัจจุบัน แต่การเจรจาการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับประเทศอื่นๆ ก็ยังคงมีความสำคัญและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเจรจา FTA ระหว่างไทยและสหภาพยุโรป (EU 27 ประเทศ) ซึ่งเป็นตลาดที่ไทยมีมูลค่าการส่งออกรวมเป็นอันดับ 2 รองจากตลาดอาเซียน ทั้งนี้หากการเจรจาล่าช้าออกไป จะส่งผลให้ไทยมีแนวโน้มเสียเปรียบประเทศอื่นๆ ในอาเซียนที่เจรจาเสร็จสิ้นไปแล้ว
ผู้เขียน: เอกสิทธิ์ กาญจนาภิญโญกุล
แม้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC จะเป็นกระแสที่มาแรงและได้รับความสนใจในปัจจุบัน แต่การเจรจาการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับประเทศอื่นๆ ก็ยังคงมีความสำคัญและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเจรจา FTA ระหว่างไทยและสหภาพยุโรป (EU 27 ประเทศ) ซึ่งเป็นตลาดที่ไทยมีมูลค่าการส่งออกรวมเป็นอันดับ 2 รองจากตลาดอาเซียน ทั้งนี้หากการเจรจาล่าช้าออกไป จะส่งผลให้ไทยมีแนวโน้มเสียเปรียบประเทศอื่นๆ ในอาเซียนที่เจรจาเสร็จสิ้นไปแล้ว EU เลือกเจรจา FTA กับกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นรายประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเมืองของพม่า เมื่อปี 2007 EU และอาเซียนได้ตัดสินใจเจรจา FTA ในกรอบระหว่างภูมิภาคด้วยกัน แต่จากผลการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ 7 ในปี 2009 เกิดการถกประเด็นปัญหาทางการเมืองของประเทศพม่า ส่งผลให้ EU ตัดสินใจหยุดพักการเจรจาในกรอบภูมิภาคไป และหันมาเลือกที่จะเจรจา FTA เป็นรายประเทศแทน โดยปัจจุบันได้ตกลงเจรจา FTA กับสิงคโปร์แล้วในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010 เจรจากับมาเลเซียแล้วในเดือนตุลาคม ปี 2010 และแสดงท่าทีพร้อมจะเจรจา FTA กับเวียดนาม และไทย 1 คำถามที่น่าสนใจ คือ เมื่อ EU ตัดสินใจเจรจาเป็นรายประเทศ หากไทยไม่เร่งเจรจาให้แล้วเสร็จ ธุรกิจไทยจะได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน? ในภาพรวมการส่งออกไปยัง EU คู่แข่งทางการค้าที่สำคัญที่สุด คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม แม้ว่าเมื่อวัดจากมูลค่าการส่งออกไปยัง EU แล้ว อินโดนีเซียจะมีมูลค่าประมาณ 60% ของไทย และเวียดนามมีมูลค่าไม่ถึงครึ่งของไทย แต่หากพิจารณาจากความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไปยัง EU 2 พบว่าไทยมีลักษณะสินค้าส่งออกที่แข่งขันกับเวียดนามและอินโดนีเซียมากที่สุด อีกนัยหนึ่ง คือ ประเภทธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกนั้นเป็นธุรกิจที่คล้ายกับ 2 ประเทศนี้มากที่สุด โดยพบว่ามีความสัมพันธ์กับอินโดนีเซียและเวียดนามมาก ที่ 46% และ 43% ตามลำดับ 3 ในขณะที่ประเทศที่ทำ FTA กับ EU แล้วอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ไม่สูงนักอยู่ที่ 15% และ 31% ตามลำดับ สำหรับผลกระทบรายธุรกิจจะพิจารณาใน 2 มิติควบคู่กัน คือ สัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยัง EU และความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออก สัดส่วนการส่งออกที่สูงแสดงถึงการถือครองส่วนแบ่งตลาดที่มากกว่า ส่วนความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกแสดงถึงความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์รายธุรกิจ 4 สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
[1] อ้างอิงจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กองยุโรปเพื่อไทย และ European Commission |
![]() |
|
|||
|