ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย...ร้อนแรงจริงหรือ?
ในเดือนที่ผ่านมา มีการกล่าวถึงความกังวลเรื่องฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเมื่อพิจราณาบริบทของภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานในปัจจุบันเทียบกับในช่วงก่อนวิกฤติแล้ว ไม่พบว่าตลาดอสังหาฯ ในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ที่ร้อนแรง
ผู้เขียน: อลิษา แต้มประเสริฐ
ในเดือนที่ผ่านมา มีการกล่าวถึงความกังวลเรื่องฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น
บริบทต่างๆ ของภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน (2008-2011) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ (1993-1996) ไม่พบความร้อนแรง แม้ว่าระดับราคาที่อยู่อาศัย1 ใน 4 ปีที่ผ่านมาจะเริ่มมีการเพิ่มสูงขึ้น
โดยบริบทด้านอุปสงค์ในปัจจุบันถือได้ว่ามีเสถียรภาพที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงฟองสบู่ เมื่อพิจารณาจาก
อีกทั้งบริบททางด้านอุปทานก็ยังไม่ส่งสัญญาณความร้อนแรง โดยพบว่า GDP ภาคอสังหาฯ ในปัจจุบันมีอัตราการ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานที่เติบโตตามเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งผลให้อัตราการดูดซับ (absorption rate) ที่แสดงถึงอุปทานที่มีอุปสงค์รองรับ ค่อนข้างที่จะทรงตัว จากข้อมูลของ Agency for Real Estate Affairs (AREA) พบว่าอัตราการดูดซับภาคอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างทรงตัว เฉลี่ยที่ประมาณ 40% ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตที่สอดคล้องกันระหว่างอุปสงค์และอุปทาน อย่างไรก็ตาม หากอัตราการดูดซับดังกล่าวคงที่เป็นระยะเวลานานก็อาจหมายถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มอิ่มตัวเพราะขาดปัจจัยใหม่ๆ ในการกระตุ้นอุปสงค์
ถึงแม้ว่าภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันจะไม่ได้ส่งสัญญาณความร้อนแรงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤติ แต่ทว่าภาพรวมดังกล่าวก็ไม่ได้สะท้อนถึงบริบทของตลาดอสังหาฯ ในภาพย่อย อาทิ ตลาดคอนโดมิเนียมที่ควรจับตามอง ภายใน 5 ปีที่ผ่านมาดัชนีราคาคอนโดมิเนียมของธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงให้เห็นว่ามีการปรับขึ้นถึง 33% หรือประมาณ 8% ต่อปี แม้ว่าการปรับตัวของราคาคอนโดมิเนียมจะมีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุนจาก 1) ต้นทุนการพัฒนาโครงการที่ปรับตัวขึ้นมาก จากการปรับขึ้นของ ราคาที่ดิน ราคาวัสดุก่อสร้าง และค่าแรงงาน 2) ความต้องการและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปโดยให้ความสำคัญกับความสะดวกในการเดินทางมากขึ้น อย่างไรก็ตามราคาของคอนโดมิเนียมก็มีการปรับตัวสูงขึ้นจากการซื้อขายในประเภทการลงทุนเพื่อเก็งกำไรเช่นกัน เพราะคอนโดมิเนียมเป็นสินทรัพย์ที่ถือว่ามีสภาพคล่องสูงที่สุดในบรรดาที่อยู่อาศัยทุกประเภท คอนโดมิเนียมเป็นเพียงหนึ่งตลาดย่อยในภาคอสังหาฯ ทุกตลาดย่อยไม่ว่าจะเป็นตลาดในแต่ละพื้นที่เช่น กรุงเทพฯ และจังหวัดหัวเมือง หรือ ในแต่ละประเภท เช่น บ้านเดี่ยว และ คอนโดมิเนียม ต่างมีลักษณะที่ต่างกันไป ดังนั้นแต่ละตลาดย่อยจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและจากปัจจัยแวดล้อมในลักษณะที่ต่างกัน แต่การวิเคราะห์ตลาดภาพย่อยดังกล่าวทำได้ยาก เนื่องจากยังขาดข้อมูลเชิงลึกของภาคอสังหาฯ ที่ละเอียด และครบถ้วน โดยเฉพาะข้อมูลของตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดนอกกรุงเทพฯ และปริมณฑล 1 ไม่รวมดัชนีราคา คอนโดมิเนียม; ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยประกอบด้วย ดัชนีราคาบ้านเดี่ยว, ทาวน์เฮ้าส์, ที่ดิน, บ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน และ ทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดิน; ดัชนีราคาคอนโดมิเนียมเริ่มมีการเก็บข้อมูลในไม่กี่ปีที่ผ่านมา จึงไม่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกับช่วงก่อนวิกฤติได้ |
![]() |
|
|
แนวโน้มของตลาดอสังหาฯ น่าจะเติบโตในอัตราที่ทรงตัวต่อไป เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ โดยเฉพาะปัจจัยบวกด้านมหภาคที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเป็นตลาดหลักในไทยเริ่มส่งสัญญาณที่บ่งชี้ว่าตลาดเริ่มจะอิ่มตัวแล้ว ดังนั้นผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนเพิ่มควรลองศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ใน ตลาดอื่น เช่นตลาดในต่างจังหวัด และ ในต่างประเทศ ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สูงกว่า |