เหลียวมองฝรั่งเศส: กรณีศึกษา Digital TV
เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลทีวีเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างครั้งแรกในประเทศไทย การคาดการณ์ถึงความสำเร็จและผลกระทบต่อประเทศและธุรกิจโทรทัศน์ จึงต้องใช้การศึกษาตัวอย่างการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศมาช่วยในการวิเคราะห์ด้วย SCBEIC ขอหยิบยก “ฝรั่งเศส” ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากได้เริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปตั้งแต่ปี 2005 จนแล้วเสร็จในปี 2011ทำให้มองเห็นผลกระทบในระยะยาว และที่สำคัญ ฝรั่งเศสเป็นประเทศหนึ่งที่มีจุดตั้งต้นของธุรกิจโทรทัศน์ในช่วงก่อนการเปลี่ยนผ่านที่คล้ายคลึงกับไทย ดังนั้น ความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านของฝรั่งเศส ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ตลอดจนทิศทางของเงินโฆษณาภายหลังการเปลี่ยนผ่านของฝรั่งเศส จะช่วยเป็นแนวทางในการประเมินความสำเร็จและผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านในไทยได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลทีวีเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างครั้งแรกในประเทศไทย การคาดการณ์ถึงความสำเร็จและผลกระทบต่อประเทศและธุรกิจโทรทัศน์ จึงต้องใช้การศึกษาตัวอย่างการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศมาช่วยในการวิเคราะห์ด้วย SCBEIC ขอหยิบยก “ฝรั่งเศส” ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากได้เริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปตั้งแต่ปี 2005 จนแล้วเสร็จในปี 2011ทำให้มองเห็นผลกระทบในระยะยาว และที่สำคัญ ฝรั่งเศสเป็นประเทศหนึ่งที่มีจุดตั้งต้นของธุรกิจโทรทัศน์ในช่วงก่อนการเปลี่ยนผ่านที่คล้ายคลึงกับไทย ดังนั้น ความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านของฝรั่งเศส ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ตลอดจนทิศทางของเงินโฆษณาภายหลังการเปลี่ยนผ่านของฝรั่งเศส จะช่วยเป็นแนวทางในการประเมินความสำเร็จและผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านในไทยได้ชัดเจนขึ้น
ผู้เขียน: ทับขวัญ หอมจำปา
เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลทีวีเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างครั้งแรกในประเทศไทย การคาดการณ์ถึงความสำเร็จและผลกระทบต่อประเทศและธุรกิจโทรทัศน์ จึงต้องใช้การศึกษาตัวอย่างการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศมาช่วยในการวิเคราะห์ด้วย ทั้งนี้ SCBEIC ขอหยิบยก "ฝรั่งเศส" ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากได้เริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปตั้งแต่ปี 2005 จนแล้วเสร็จในปี 2011 ทำให้มองเห็นผลกระทบในระยะยาว และที่สำคัญ ฝรั่งเศสเป็นประเทศหนึ่งที่มีจุดตั้งต้นของธุรกิจโทรทัศน์ในช่วงก่อนการเปลี่ยนผ่านที่คล้ายคลึงกับไทย ดังนั้น ความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านของฝรั่งเศส ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ตลอดจนทิศทางของเงินโฆษณาภายหลังการเปลี่ยนผ่านจะช่วยเป็นแนวทางในการประเมินความสำเร็จและผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านในไทยได้ชัดเจนขึ้น
ก่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลทีวีนั้น ธุรกิจโทรทัศน์ฝรั่งเศสมีโครงสร้างใกล้เคียงกับไทยในปัจจุบัน นั่นคือประชากรส่วนใหญ่รับชมโทรทัศน์ระบบอนาล็อกภาคพื้นดิน ส่วนการเข้าถึงของทีวีทางเลือกอยู่ในระดับปานกลาง จึงดูเหมือนการเปลี่ยนผ่านอาจต้องใช้เวลา ประเทศฝรั่งเศสนอกจากจะมีจำนวนประชากรและขนาดพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับไทยแล้ว พบว่ายังพึ่งพาระบบโทรทัศน์อนาล็อกภาคพื้นดินเป็นหลักในช่วงก่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล โดยทีวีทางเลือก ได้แก่ เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มีการเข้าถึงครัวเรือนรวมกันประมาณ 40% ในปี 2004 หรือระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปในช่วงนั้น คล้ายคลึงกับไทยที่ปัจจุบันครัวเรือนส่วนใหญ่รับชมช่องรายการฟรีทีวีระบบอนาล็อก ในขณะที่การเข้าถึงของทีวีทางเลือกอยู่ที่ระดับประมาณ 50-60% ซึ่งจัดอยู่ในระดับปานกลางในกลุ่มประเทศเอเชียด้วยกัน ด้วยลักษณะโครงสร้างธุรกิจโทรทัศน์เช่นนี้ เบื้องต้นจึงอาจมองว่าต้องใช้เวลาในการปฏิรูปโครงสร้างนานพอสมควรเนื่องจากมีจำนวนครัวเรือนที่ต้องปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอลค่อนข้างมาก และทีวีทางเลือกก็เป็นคู่แข่งที่ค่อนข้างสำคัญในเวลาเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม แนวคิดของ regulator ฝรั่งเศสและไทยมีความคล้ายกันในแง่ของการเปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายใหม่เข้าร่วมลงทุนในช่องดิจิตอล แต่ก็มีมาตรการปกป้องผู้ประกอบการเดิมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจุดนี้น่าจะช่วยร่นระยะเวลาเปลี่ยนผ่านได้ การมีช่องรายการใหม่ที่นำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างจากทีวีระบบอื่นย่อมสร้างจูงใจให้ผู้บริโภคเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งทั้งฝรั่งเศสและไทยได้มีการกำหนดเพดานจำนวนช่องรายการที่ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอใบอนุญาตได้เพื่อส่งเสริมให้มีผู้เล่นรายใหม่ โดยในครั้งแรกที่ฝรั่งเศสออกใบอนุญาตทั้งหมด 28 ช่องรายการพบว่า มากกว่าครึ่งเป็นช่องใหม่ที่บริหารโดยผู้ประกอบการใหม่ซึ่งมาจากธุรกิจสิ่งพิมพ์ วิทยุ ดาวเทียม และธุรกิจเพลง อย่างไรก็ตาม ช่องรายการเดิมจะต้องมีพื้นที่บนระบบดิจิตอลด้วยเพราะมีอิทธิพลต่อผู้ชมสูง และเป็นตัวช่วยสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งในประเด็นนี้ ทั้งฝรั่งเศสและไทยได้ใช้กฎ "simulcast" ให้ผู้ประกอบการเดิมสามารถนำผังรายการในการออกอากาศระบบอนาล็อกมาใช้ในช่องดิจิตอลได้เลย นอกจากนั้น ฝรั่งเศสยังจัดสรรช่องรายการให้ผู้เล่นเดิมพัฒนาเพิ่มได้อีกรายละ 1 ช่อง โดยมีความเชื่อว่าช่องรายการใหม่ของผู้เล่นเดิมน่าจะได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ชมในเชิงคุณภาพมากกว่าช่องรายการของผู้เล่นรายใหม่ในช่วงแรก ทั้งหมดก็เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลให้เร็วที่สุด
นอกจากนี้ พบว่าต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่ช่องรายการใหม่ของฝรั่งเศสจะเริ่มเห็นเม็ดเงินโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูง และแย่งชิงส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากช่องรายการเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณการลงทุนด้านโฆษณาผ่านช่องรายการใหม่ในระบบดิจิตอลของฝรั่งเศสยังถือว่าค่อนข้างต่ำในช่วงปี 2005-2007 เฉลี่ยประมาณ 10-20 ล้านยูโรต่อช่องต่อปี โดยเม็ดเงินยังกระจุกตัวอยู่ในช่องรายการอนาล็อกเดิมที่ออกอากาศบนระบบดิจิตอลด้วย อยู่ที่เฉลี่ย 900-1,000 ล้านยูโรต่อช่องต่อปีในช่วงเดียวกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องสามารถรองรับผลขาดทุนในช่วง 3-5 ปีแรกที่รายได้โฆษณายังไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม พบว่าอัตราการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาในช่องรายการใหม่อยู่ในระดับเฉลี่ยสูงถึง 60% ต่อปี ในช่วงปี 2005-2011 อันเนื่องมาจากความนิยมในช่องรายการใหม่ที่สูงขึ้นร่วม 4 เท่า จากสัดส่วนผู้ชมเฉลี่ยประมาณ 6% ใน 3 ปีแรก มาเป็น 23% ใน 3 ปีถัดมา และปัจจุบันสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากช่องรายการอนาล็อกเดิมได้มากขึ้นเป็นร่วม 30% ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมดแล้ว
... เป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการเดิมต้องมีการปรับตัวเพื่อรักษาผลกำไร เช่น การสร้างรายได้ที่นอกเหนือจากรายได้ค่าโฆษณา การลดต้นทุนการผลิตรายการ หรือการควบรวมกิจการกับช่องรายการใหม่ SCBEIC ได้ศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลต่อบริษัท TF1 Group เจ้าของช่อง TF1 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งในฝรั่งเศสก่อนการเปลี่ยนผ่าน โดยพบว่าอัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating margin) ของบริษัทลดลงต่อเนื่องจากรายได้โฆษณาที่ไม่ได้เติบโตไปตามต้นทุนการผลิตรายการเหมือนเช่นก่อน โดย Operating margin ของ TF1 ลดลงจาก 14% ในปี 2005 มาเป็น 4% ในปี 2009 อย่างไรก็ตาม อัตรากำไรได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปี 2010-2012 มาอยู่ในระดับ 10% โดยมีปัจจัยบวกที่นอกเหนือจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น นั่นคือ การเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้ให้หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการเน้นลงทุนในระบบเพย์ทีวีแบบบอกรับสมาชิก (Subscription TV) มากขึ้น และการขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ จนปัจจุบันสัดส่วนของรายได้ที่มาจากโฆษณาลดลงจาก 66% ในปี 2005 มาอยู่ที่ 54% ในปี 2012 นอกจากนี้ บริษัทยังมีการลดต้นทุนการผลิตรายการลงได้กว่า 250 ล้านยูโรตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา ด้วยการวางแผนระยะยาวเพื่อสร้างประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตรายการต่อต้นทุนรวมทั้งหมด ลดลงจาก 45% ในปี 2005 มาเป็น 40% ในปี 2012 และอีกช่องทางการปรับตัวรับการแข่งขันที่สูงขึ้นของ TF1 นั่นคือการควบรวมกิจการกับช่องรายการใหม่ที่ช่วยเสริมฐานผู้ชมให้แก่องค์รวมของบริษัท โดยล่าสุด TF1 เข้าซื้อช่อง NT1 ซึ่งเป็นช่องรายการใหม่บนระบบดิจิตอลที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มเพศชายวัยรุ่น ในขณะที่ช่อง TF1 ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มเพศหญิงวัยกลางคน
รูปที่ 1: ฝรั่งเศสใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลเป็นเวลา 6 ปี โดยถือว่าใช้เวลาน้อยกว่าหลายประเทศในยุโรปโดยเฉพาะ อังกฤษ สเปน และอิตาลี หมายเหตุ: ข้อมูลการใช้งานระบบอนาล็อกภาคพื้นดินมีตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา
รูปที่ 2: เม็ดเงินโฆษณาที่ลงทุนในช่องรายการใหม่ในระบบดิจิตอลเริ่มมีสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายหลังปีที่ 2-3 ของการเปลี่ยนผ่าน ในขณะที่การลงทุนโฆษณาในช่องรายการเดิมยังมีอยู่สูง * หมายถึงช่องรายการในเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และช่องรายการภาคพื้นดินระบบดิจิตอลที่เป็นเพย์ทีวี
รูปที่ 3: ช่องรายการเดิมในฝรั่งเศสต้องเผชิญแรงกดดันด้านรายได้โฆษณาจากจำนวนคู่แข่งที่มากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากสัดส่วนการรับชมในช่องรายการเดิมที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง * หมายถึงช่องรายการฟรีทีวีภาคพื้นดินระบบดิจิตอลที่เคยเป็นช่องรายการในระบบอนาล็อกมาก่อน
รูปที่ 4: โดยภาพรวมแล้ว ช่องรายการใหม่บนระบบดิจิตอลยังมีผลประกอบการติดลบในช่วง 5-6 ปีแรก ที่มา: การวิเคราะห์โดย SCBEIC จากข้อมูลของ Conseil supérieur de l'audiovisuel (CSA)
|
![]() |
|
|
|