SHARE
SCB EIC ARTICLE
17 กรกฏาคม 2017

BULL-BEAR: ราคาน้ำมัน

เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 3/2017 คลิกอ่านฉบับเต็ม 

 

ราคาน้ำมัน 
(USD/บาร์เรล)

2016 2017F 2018F
(ค่าเฉลี่ย)  Q1 Q2 Q3 Q4 เฉลี่ย Q1F Q2F Q3F Q4F เฉลี่ย สูงสุด* ต่ำสุด* เฉลี่ย

ราคาน้ำมันดิบ

WTI

33 46 45 49 43 52 50 50 52 51 55 47 55
ราคาน้ำมันดิบ Brent 35 46 46 50 44 54 52 52 55 53 57 49 57

 

* ข้อมูลจาก สำนักวิจัยชั้นนำของต่างประเทศ (ณ 8 มิถุนายน 2017)
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC

 

EIC’s view: Bear
ราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 3 ปี 2017 มีแนวโน้มทรงตัว โดยมีปัจจัยกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น สะท้อนจากจำนวนแท่นขุดเจาะที่ขยายตัวมากกว่า 2 เท่าเทียบกับปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำมันที่เติบโตสูงขึ้นตามเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในเอเชีย จะช่วยผลักดันให้ราคาน้ำมันเริ่มปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในส่วนของประเทศอาหรับที่ตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ คาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากกาตาร์ไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก โดยมีสัดส่วนการผลิตเพียง 1.7% ของกลุ่ม OPEC แต่ยังต้องจับตาว่าความขัดแย้งอาจทำให้ข้อตกลงการลดปริมาณการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันปรับลดลงได้

 

BULLs   BEARs

• OPEC และ Non-OPEC บรรลุข้อตกลงในการประชุมร่วมที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2017 โดยจะขยายระยะเวลาลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรวมที่ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่อไปอีก 9 เดือน จากเดือนมิถุนายน 2017 เป็นเดือนมีนาคม 2018 เพื่อรักษาสมดุลของอุปสงค์และอุปทานน้ำมันในตลาดโลก และรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 ทั้งกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC สามารถร่วมกันลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบได้เป็นอย่างดี
โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน 2017 มี compliance rate สูงถึง 102%

• ความต้องการน้ำมันดิบเริ่มปรับระดับสูงขึ้นมากกว่าอุปทานน้ำมัน โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) คาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันดิบโลกในไตรมาส 3 ปี 2017 จะมีปริมาณ 99.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าอุปทานน้ำมันโลกที่อยู่ระดับ 99.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ ทวีปเอเชียจะมีการเติบโตของความต้องการน้ำมันดิบสูงที่สุดที่ 3.4%YOY โดยจีนซึ่งเป็นประเทศผู้บริโภคน้ำมันใหญ่เป็นอันดับสองของโลกจะมีอุปสงค์น้ำมันที่
12.75 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขยายตัว 3%YOY

 

• ปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสะท้อนจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ สูงขึ้นเป็น 733 แท่นในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2017 หรือขยายตัวถึง 126%YOY สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ EIA ว่าอุปทานน้ำมันของสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2017 จะเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือขยายตัว 9%YOY นอกจากนี้ น้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายน 2017 มีปริมาณเพิ่มขึ้นอีก 3.3 ล้านบาร์เรล มาแตะที่ระดับ 513 ล้านบาร์เรล

• ประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐฯ ประกาศถอนตัวจากความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาวะโลกร้อนโดยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก และลดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล การถอนตัวจากความตกลงดังกล่าวส่งผลบวกต่อผู้ผลิตน้ำมันที่อาจได้รับการผ่อนคลายในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้มีแรงจูงใจในการลงทุนและผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้น

• 5 ประเทศกลุ่มอาหรับ นำโดยซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ อาจส่งผลให้การดำเนินการตามข้อตกลงที่ทาง OPEC และ Non-OPEC จะลดปริมาณการผลิตน้ำมันรวม 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่อไปจนถึงเดือนมีนาคม 2018 มีอุปสรรค ทั้งนี้ ตามข้อตกลงดังกล่าว กาตาร์จะต้องลดปริมาณการผลิตน้ำมัน 3 หมื่นบาร์เรลต่อวัน

 

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ