จับตาธุรกิจถ่านหิน…ยังมีศักยภาพเติบโตในระยะยาวได้หรือไม่
ในช่วงที่ผ่านมาความต้องการถ่านหินมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ผลักดันให้ราคาถ่านหินปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 83 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อปลายปี 2009 มาแตะระดับ 106 ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายเมษายน 2010 โดยเป็นผลมาจากความต้องการถ่านหินจากประเทศ non-OECD โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก เนื่องจากมีการขยายตัวของการลงทุนและความต้องการกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้จีนเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเข้าไปลงทุนดำเนินธุรกิจถ่านหินเพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว
ผู้เขียน: ปราณิดา ศยามานนท์
ในช่วงที่ผ่านมาความต้องการถ่านหินมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ผลักดันให้ราคาถ่านหินปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 83 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อปลายปี 2009 มาแตะระดับ 106 ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายเมษายน 2010 โดยเป็นผลมาจากความต้องการถ่านหินจากประเทศ non-OECD โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภคถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก เนื่องจากมีการขยายตัวของการลงทุนและความต้องการกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้จีนเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเข้าไปลงทุนดำเนินธุรกิจถ่านหินเพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาวทั้งนี้ สำหรับธุรกิจถ่านหินของไทยยังมีแนวโน้มเติบโตจากการเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพทั้งในด้านปริมาณสำรองถ่านหินและมีความต้องการรองรับสูง โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่าการผลิตถ่านหินภายในประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการที่ปริมาณสำรองถ่านหินของแหล่งเดิมเริ่มหมด อีกทั้ง ถ่านหินส่วนใหญ่ที่ผลิตได้มีคุณภาพต่ำอยู่ในขั้นลิกไนต์และซับบิทูมินัส ทำให้ผู้ผลิตถ่านหินในไทยเข้าไปลงทุนดำเนินธุรกิจถ่านหินในต่างประเทศมากขึ้น ที่สำคัญคือจีนและอินโดนีเซีย โดยในช่วงปี 2000-2008 อินโดนีเซียมีการผลิตและส่งออกถ่านหินเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยสะสม (CARG) 16% และ 22% ต่อปีตามลำดับ ขณะที่จีนมีการผลิตเพิ่มขึ้น 9% ต่อปี ในขณะที่การส่งออกปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2003 เนื่องจากการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ทำให้รัฐบาลมีมาตรการควบคุม quota การส่งออกเพื่อให้มีถ่านหินใช้ในประเทศอย่างเพียงพอ แม้ว่าปัญหาวิกฤติโลกร้อนจะส่งผลให้ทั่วโลกต่างลดการพึ่งพิงพลังงานจากฟอสซิลทั้งจากน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ แต่ถ่านหินยังคงเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพเติบโตได้ในระยะยาวโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่ยังมีจำนวนมาก ในขณะที่อุปทานของพลังงานทดแทนยังมีจำกัด สาเหตุที่จีนยังคงมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจถ่านหินในระยะยาว ทั้งในแง่ของการเข้าไปลงทุนและการส่งออกถ่านหินไปจีนเนื่องจากจีนเป็นผู้บริโภคถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก คิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึงเกือบ 50 % ของการใช้ถ่านหินทั่วโลก โดยความต้องการถ่านหินในจีนมีแนวโน้มขยายตัวตามเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการลงทุนผ่าน 2 ช่องทางหลัก คือ 1. ความต้องการกระแสไฟฟ้าและ 2. ความต้องการสินค้าในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง
|
![]() |
|
|
ศักยภาพการเติบโตของธุรกิจถ่านหินของไทยในระยะยาวจึงยังคงน่าจะมาจากการเติบโตของการลงทุนในแหล่งถ่านหินต่างประเทศคือ อินโดนีเซียซึ่งมีปริมาณสำรองถ่านหินเหลืออยู่มาก ทำให้เป็นช่องทางในการส่งออกถ่านหินของไทยที่สำคัญ และในจีนซึ่งเป็นแหล่งที่มี demand รองรับการเติบโตได้ต่อเนื่องในระยะยาว รวมถึงการลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นธุรกิจต่อยอดทำให้การผลิตครบวงจรมากขึ้น เนื่องจากการผลิตในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในหลายด้านทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณสำรองของถ่านหิน อย่างไรก็ดี ธุรกิจค้าถ่านหินในประเทศยังมีแนวโน้มเติบโตดี สะท้อนได้จากตัวเลขการนำเข้าถ่านหินที่เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยสะสม (CAGR) 16% ต่อปีในช่วงปี 2000-2008 เนื่องจากความต้องการถ่านหินในประเทศยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความต้องการเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนการพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติ โดยจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าปี 2010-2030 (PDP2010) ได้กำหนดให้สัดส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นจาก 9% ในปัจจุบันมาอยู่ที่ 21% ในปี 2030 อย่างไรก็ดี สำหรับการใช้ถ่านหินในภาคอุตสาหกรรมยังค่อนข้างจำกัด โดยส่วนใหญ่จะกระจุกตัวแต่เฉพาะอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์เป็นหลัก (สัดส่วนประมาณ 77% ของการใช้ถ่านหินในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด) เมื่อเทียบกับจีนที่มีการกระจายตัวมากกว่า |