SHARE
FLASH
24 พฤษภาคม 2017

DTAC ได้ไปต่อ คว้าดีลคลื่นความถี่ 2300 MHz

DTAC ชนะการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและผลตอบแทนเพื่อเป็นคู่ค้าในการให้บริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz จำนวนแบนด์วิธ 60 MHz

ผู้เขียน: ภูริพัฒน์ โสภณคีรีรัตน์

 

Flash_dtac.jpg

 

Event.png

885_20100622103059.gif

  • DTAC ชนะการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและผลตอบแทนเพื่อเป็นคู่ค้าในการให้บริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz จำนวนแบนด์วิธ 60 MHz ของทีโอที (TOT) เป็นระยะเวลา 8 ปี โดยเบื้องต้นคู่ค้าต้องขยายโครงข่ายได้ไม่น้อยกว่า 1,800 แห่งภายในปีแรก ครอบคลุมเมืองหลักภายใน 2 ปี และครอบคลุม 80% ของประชากรภายในระยะเวลา 5 ปี
Analysis.png

884_20100622103051.gif

  • การคว้าคลื่นดังกล่าวส่งผลบวกต่อการดำเนินธุรกิจของ DTAC โดยปัจจุบัน DTAC มีคลื่นความถี่ในครอบครองทั้งสิ้น 50 MHz ขณะที่คลื่นความถี่ราว 35 MHz กำลังจะทยอยหมดอายุสัมปทานลงในปี 2018 ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา โดยการครอบครองคลื่น 2300 MHz จะช่วยคลายความกังวลดังกล่าวลงไป แต่ DTAC ยังคงต้องเผชิญความท้าทายด้านอื่นๆ เช่น  การลงทุนขยายอุปกรณ์รับสัญญานที่ต้องใช้งบประมาณลงทุนเพิ่มเติมราว 1-2 หมื่นล้านบาทและค่าเช่าคลื่นให้ทีโอทีอีก 4,510 ล้านบาทต่อปี รวมถึงความล่าช้าในการเจรจาสัญญา

  • อย่างไรก็ดี อีไอซีมองว่าการแข่งขันของค่ายมือถือจะไม่ทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากสภาวะการแข่งขันด้านราคาในปัจจุบันนั้นมีความรุนแรงอยู่แล้ว โดยรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue Per User: ARPU) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเริ่มคงที่ในระดับ 200 บาทซึ่งลดลงจาก 15 ปีก่อนกว่าครึ่ง รวมถึงผู้เล่นรายอื่นมีคลื่นความถี่ในครอบครองที่เพียงพอต่อการให้บริการปัจจุบันราว 55 MHz ทั้งนี้ อีไอซีมองว่าผู้เล่นจะหันมาแข่งขันในการนำเสนอบริการเสริมแทนที่จะมุ่งเน้นการแข่งขันด้านราคาเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความผูกพันธ์ต่อลูกค้า เช่น บริการด้านบันเทิง บริการคลาวด์ และบริการด้านการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
Implication.png

886_20100622103105.gif

  • การประมูลคลื่นความถี่ 850 MHz และ 1800 MHz ในปี 2018 ยังคงมีแนวโน้มการแข่งขันสูง โดย DTAC ยังคงต้องการคลื่นความถี่ต่ำที่เคยครอบครองเดิมอย่าง 850 MHz ในขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นต้องการสะสมคลื่นความถี่เพิ่มเพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการ 5G ได้ในอนาคต เนื่องจากมาตรฐานเบื้องต้นของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กำหนดให้ผู้ที่จะให้บริการ 5G ต้องมีแบนด์วิธอย่างน้อย 100 MHz

 

รูปที่ 1: รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายและจำนวนเลขหมายต่อประชากรของไทย

หน่วย: บาท (ซ้าย), % (ขวา)

 

1.png

 

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ กสทช.

 

รูปที่ 2: ปริมาณคลื่นความถี่ในครอบครองของผู้ให้บริการในไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการในต่างประเทศ

หน่วย: MHz

2_edit.png

* คลื่น 2300 MHz แบนด์วิธ 60 MHz ในระบบ LTE-TDD คิดเทียบเท่ากับมีแบนด์วิธ 30x2 MHz ในระบบ LTE-FDD

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ กสทช. Telenor, NTT Docomo และ SK Telecom

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ