SHARE
ECONOMIC OUTLOOK / SCB EIC MONTHLY
24 เมษายน 2017

Outlook ไตรมาส 2/2017

เศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงในระดับสูง ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น นำโดยการขยายตัวที่ต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการฟื้นตัวของระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ การค้าโลกจึงสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจสะดุดลงได้จากความเสี่ยงสำคัญในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ สหภาพยุโรปที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมากที่สุดในปีนี้ ทั้งจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเสถียรภาพของภาคธนาคารที่อ่อนแอ และสหรัฐฯ ที่ยังมีความไม่แน่นอนจากนโยบายเศรษฐกิจของ Trump โดยเฉพาะการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ความเสี่ยงดังกล่าวจะส่งผลให้ตลาดการเงินโลกในปีนี้ยังคงมีความผันผวนสูงในช่วงเวลาที่ธนาคารกลางในประเทศสำคัญกำลังดำเนินนโยบายที่มีความผ่อนคลายลดลงนำโดยการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าที่คาดของธนาคารกลางสหรัฐฯ

  •  ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและไทยปี 2017
    • 100 วันผ่านไปกับประธานาธิบดี Trump
    • จับตาผลการเลือกตั้งในยุโรปตลอดปี 2017 และความอยู่รอดของเงินยูโร
    • Premium Friday ญี่ปุ่นหวังบริโภคขยับ ต้อนรับศุกร์สิ้นเดือน
    • ตามติดมาตรการควบคุมเงินทุนไหลออกจีน
  • Bull - Bear : ราคาน้ำมัน
  • In focus: จับตาเวียดนาม:คู่ค้าหรือคู่แข่งไทยในทศวรรษหน้า
    • รู้ใจผู้บริโภคชาวเวียดนาม...เรื่องสำคัญที่ธุรกิจไม่ควรละเลย
    • นโยบายโด่ยเหมย - กุญแจสู่ความสำเร็จของเวียดนามร
  • Summary of main forecasts

ดาวน์โหลดเอกสารภาษาไทยเพื่ออ่านต่อฉบับเต็ม

 



สรุปภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2017


เศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงในระดับสูง ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น นำโดยการขยายตัวที่ต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการฟื้นตัวของระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ การค้าโลกจึงสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจสะดุดลงได้จากความเสี่ยงสำคัญในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ สหภาพยุโรปที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมากที่สุดในปีนี้ ทั้งจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเสถียรภาพของภาคธนาคารที่อ่อนแอ และสหรัฐฯ ที่ยังมีความไม่แน่นอนจากนโยบายเศรษฐกิจของ Trump โดยเฉพาะการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ความเสี่ยงดังกล่าวจะส่งผลให้ตลาดการเงินโลกในปีนี้ยังคงมีความผันผวนสูงในช่วงเวลาที่ธนาคารกลางในประเทศสำคัญกำลังดำเนินนโยบายที่มีความผ่อนคลายลดลงนำโดยการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าที่คาดของธนาคารกลางสหรัฐฯ

 

ในปี 2017 อีไอซีคงประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 3.3%YOY โดยเป็นการขยายตัวแบบทั่วถึงกว่าช่วงปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้นและการฟื้นตัวของระดับราคาส่งผลให้ภาคการผลิตของไทยที่เคยมีปัญหาในปีก่อนหน้ามีแนวโน้มที่จะกลับมาฟื้นตัวได้ในปีนี้ ทั้งภาคเกษตรที่เคยประสบปัญหาราคาตกต่ำและภัยแล้งรุนแรงจะฟื้นตัวจากราคาที่ดีขึ้นและภัยแล้งที่ทุเลาลง และกลุ่มผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เผชิญกับการส่งออกที่หดตัวมาหลายปีมีโอกาสพลิกกลับมาเติบโตในปีนี้จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นหลังการค้าโลกเริ่มฟื้นตัว ขณะที่เศรษฐกิจในภาคบริการก็ยังขยายตัวได้ดีทั้งจากภาคการก่อสร้างที่จะได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รวมไปถึงภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวจากปัจจัยกดดันระยะสั้นในช่วงปลายปีที่ผ่านมา สำหรับแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชน อีไอซีมองว่าภาคธุรกิจไทยยังมีแนวโน้มออกไปขยายการลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูง

 

 

Bull - Bear: ราคาน้ำมัน

Bear - ราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 2 ปี 2017 มีแนวโน้มทรงตัว แม้ว่ากลุ่ม OPEC และ Non-OPEC จะสามารถลดปริมาณการผลิตน้ำมันได้ใกล้เคียงกับระดับที่ตกลงกันไว้ แต่ตลาดน้ำมันยังมีอุปทานส่วนเกินอยู่ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยผู้ผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้นอีก สะท้อนจากจำนวนแท่นขุดเจาะที่มีการเติบโตสูงขึ้นมาก ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดิบต่อไป อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาการประชุมของ OPEC ช่วงเดือนพฤษภาคม หาก OPEC สามารถขยายระยะเวลาข้อตกลงการลดปริมาณการผลิตออกไปในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2017 จะทำให้ราคาน้ำมันปรับระดับสูงขึ้นได้


In focus: จับตาเวียดนาม: คู่ค้าหรือคู่แข่งไทยในทศวรรษหน้า

 

ภายในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เวียดนามกลายเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นกว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ทั้งในด้านการลงทุนจากต่างชาติและการส่งออก การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเวียดนามและเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยราว 6% ต่อปี นับว่าเป็นโอกาสในฐานะ “คู่ค้า” และตลาดส่งออกแห่งใหม่ของไทยในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ในอนาคตเมื่อศักยภาพของเวียดนามและกระแสอุตสาหกรรมครั้งใหม่มาถึง ไทยอาจเสียตำแหน่งประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเป้าหมายของนักลงทุนจากทั่วโลกให้แก่เวียดนามจากการแย่งชิงเงินลงทุนจากต่างชาติและการแข่งขันในอุตสาหกรรมบางสาขาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ธุรกิจไทยจะปรับตัวอย่างไรเมื่อเวียดนามก้าวขึ้นมาเป็น “คู่แข่ง” อย่างเต็มตัวในอนาคต

 

Get the additional info

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ