SHARE
INSIGHT
22 มีนาคม 2017

3 กระแสแรงแห่งยุค ปรับลุคธุรกิจท่องเที่ยว

3 กระแสโลกสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวต้องปรับตัว 1) กระแสการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลกสู่สังคมผู้สูงอายุโดยนักท่องเที่ยวสูงอายุมีแนวโน้มจะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มวัยอื่นๆ 2) กระแสการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในหลายประเทศโดยการผ่อนปรนกฎระเบียบการออกวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวและการสนับสนุนการลงทุนได้ส่งผลให้สภาวะการแข่งขันระหว่างประเทศทวีความรุนแรงขึ้น และ 3) กระแสการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทำให้โซเชียลมีเดียและสมาร์ทโฟนมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้นและส่งผลให้พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไป รวมถึงทำให้การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน

เรื่องในเล่ม

  • บทสรุปผู้บริหาร
  • บทที่ 1: กระแสการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อธุรกิจท่องเที่ยว
  • บทที่ 2: โอกาสและความท้าทายของธุรกิจท่องเที่ยวไทยจากเมกะเทรนด์ที่สำคัญ
  • บทส่งท้าย

 

ดาวน์โหลดเอกสารภาษาไทยเพื่ออ่านต่อฉบับเต็ม

 

  

3 กระแสโลกสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวต้องปรับตัว 1) กระแสการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลกสู่สังคมผู้สูงอายุโดยนักท่องเที่ยวสูงอายุมีแนวโน้มจะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มวัยอื่นๆ 2) กระแสการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในหลายประเทศโดยการผ่อนปรนกฎระเบียบการออกวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวและการสนับสนุนการลงทุนได้ส่งผลให้สภาวะการแข่งขันระหว่างประเทศทวีความรุนแรงขึ้น และ 3) กระแสการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทำให้โซเชียลมีเดียและสมาร์ทโฟนมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้นและส่งผลให้พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไป รวมถึงทำให้การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน

 

สัดส่วนนักท่องเที่ยวสูงอายุที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าวัยอื่นๆ พร้อมกับการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ทำให้เป็นกลุ่มตลาดที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสูงอายุมีกำลังซื้อและเวลาว่าง ซึ่งเป็นโอกาสให้กับธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งนี้ สองกลุ่มหลักที่มีศักยภาพ คือ นักท่องเที่ยวสูงอายุและผู้เกษียณอายุต่างชาติ ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวสูงอายุจะมีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวต่อคนต่อทริปสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวสูงอายุที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้จำนวนผู้เกษียณอายุต่างชาติในไทยเพิ่มขึ้นตามอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ในปัจจุบันไทยสามารถขยายตลาดนักท่องเที่ยวเกษียณอายุต่างชาติที่มีศักยภาพ อาทิ สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และ เยอรมนี เป็นต้น 

 

การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแต่ละประเทศทำให้การแข่งขันสูงขึ้น ธุรกิจท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องหาช่องทางใหม่ๆ ในการขยายตัว เช่น การบุกเซกเมนต์ท่องเที่ยวใหม่ๆ ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลางมีสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นทั้งจากการลงทุนของภาครัฐในการสร้างสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ทำให้นักท่องเที่ยวมีทางเลือกมากขึ้นในการเลือกจุดหมายปลายทางและส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทยต้องเผชิญการแข่งขันรุนแรงขึ้น การมุ่งเน้นตลาดท่องเที่ยวเดิมๆ ดูเหมือนจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรจะมุ่งเน้นขยายตลาดการท่องเที่ยวในเซกเมนต์ต่างๆ มากขึ้น เช่น การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มการให้บริการแก่ธุรกิจท่องเที่ยวพร้อมนำเสนอประสบการณ์ที่แปลกใหม่และเป็นเอกลักษณ์ประจำแต่ละท้องถิ่นซึ่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้

 

พัฒนาการของเทคโนโลยีออนไลน์และดิจิทัลต่างๆ ทำให้พฤติกรรมการท่องเที่ยวเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเอื้อให้การเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเอง (Freely Independent Traveler : FIT) เป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่งผลให้นักท่องเที่ยวอ่อนไหวต่อราคา และกลยุทธ์การตลาดในสื่อออนไลน์ทวีความสำคัญ รวมถึงธุรกิจเผชิญกับคู่แข่งใหม่ๆ เช่น การจองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยให้การเปรียบเทียบราคาสะดวกขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้นักท่องเที่ยวมีความอ่อนไหวต่อราคามากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้เทคโนโลยียังทำให้รูปแบบการทำการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวหันมาใช้ blogger หรือ influencer เพื่อแชร์ประสบการณ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์ นอกจากนี้ การพัฒนาทางเทคโนโลยียังก่อให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น Airbnb ที่เปิดโอกาสให้เจ้าของที่พักส่วนตัวนำห้องพักมาปล่อยเช่าแก่นักท่องเที่ยวนั้นจนส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมโดยเฉพาะโรงแรมระดับกลาง-ล่าง ซึ่ง Airbnb มีโอกาสเข้ามาเป็นคู่แข่งหลักกับตลาดโรงแรมในไทยในอนาคต โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่หันมาใช้ Airbnb มากขึ้นกว่า 1 ล้านคน รวมถึงการขยายตัวของห้องพัก Airbnb ในกรุงเทพฯ ที่สูงกว่า 100%

 

อีไอซีแนะ 3 แนวทางสำคัญสำหรับการปรับตัวของธุรกิจท่องเที่ยวของไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อันได้แก่ 1) การสร้างความแตกต่างเพื่อมุ่งเน้นตลาดนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมากขึ้นโดยส่งเสริมการท่องเที่ยวในเซกเมนต์ใหม่ๆ ที่มีภาวะการแข่งขันไม่สูงและใช้จุดเด่นที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น 2) การสร้างความร่วมมือกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มมูลค่าซึ่งไทยเองยังมีจุดเด่นที่มีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (medical tourism) ที่ควรนำมาให้บริการแก่นักท่องเที่ยวสูงอายุและผู้เกษียณอายุต่างชาติอย่างครบวงจร และ 3) การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ที่เหมาะสมทั้งในด้านการบริหารเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงตลาดนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงจากกระแสที่เกิดขึ้นนำมาซึ่งโอกาสและความท้าทายที่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวของไทยต้องปรับตัว

 

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ