SHARE
FLASH
08 กุมภาพันธ์ 2017

กนง. คงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.5% มองเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวทั่วถึง

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2017

ผู้เขียน: วิรันต์ภรณ์ โรจนวิภาตวนิช

 

Analysis.png

keypoint.jpg

  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2017

  • กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน จากการส่งออกสินค้าที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจน ภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัวดีขึ้น และการใช้จ่ายของภาครัฐที่ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก อีกทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนทยอยปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง ทั้งนโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ เสถียรภาพการเงินจีน ภาวะทางการเมืองและปัญหาการเงินในยุโรป และการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ภาคเอกชน

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปได้ไปกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องตามราคาน้ำมันดิบโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงทรงตัว เนื่องจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ

  • ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลาย สะท้อนจากสภาพคล่องในระบบการเงินที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าในบางช่วงที่ผ่านมาค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า จากความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในต่างประเทศ

 

Implication.png

886_20100622103105.gif

อีไอซีคาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% ตลอดปี 2017

  • แม้ความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจต่างประเทศต่อเศรษฐกิจไทยจะยังคงมีอยู่ในระดับสูง แต่เศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มขยายตัวได้อย่างทั่วถึงจากแรงขับคลื่อนทั้งของภาครัฐและเอกชน ทำให้ความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันมีน้อยลง ขณะเดียวกันแรงกดดันด้านเงินเฟ้อภายในปีนี้ยังไม่สูงเพียงพอที่จะนำไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน อีไอซีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะคงอยู่ที่ 1.5% ตลอดปี 2017

 

ตารางสรุปคำแถลงการณ์ของ ธปท. เทียบกับการประชุมครั้งก่อน 

 

หัวข้อ การประชุมครั้งก่อน
(21 ธ.ค. 2016)
การประชุมครั้งนี้
(8 ก.พ. 2017)
เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่องในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน โดยการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนให้แก่เศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกสินค้ามีสัญญาณดีขึ้นจากการย้ายฐานการผลิตสินค้าบางรายการมาไทย และการบริโภคปรับตัวดีตามรายได้เกษตรกรขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ ภาคการท่องเที่ยวชะลอลงจากการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมาย ทั้งนี้ความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจไทยปรับเพิ่มขึ้น จากเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอลงมาก ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ปัญหาภาคการเงินในยุโรปและจีน และจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่อาจน้อยกว่าการประมาณการ

เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวได้ดี โดยการใช้จ่ายภาครัฐฯ ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ขณะที่การส่งออกสินค้าฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวเร็วกว่าคาด โดยเป็นผลมาจากมาตรการยกเว้นและลดค่าธรรมเนียมวีซ่าชั่วคราวสำหรับบางประเทศ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งนโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ เสถียรภาพการเงินจีน และพัฒนาการทางการเมืองและปัญหาการเงินในยุโรป แม้ว่าระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ และสามารถรับมือกับความผันผวนทางการเงินได้ แต่การผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ภาคเอกชน ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าติดตาม

สถานการณ์เงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทยอยปรับสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนเร่งตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่ขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับที่ได้ประเมินไว้ ทั้งนี้ กนง. คาดว่าเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายภายในไตรมาสแรกปี 2017

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังค่อนข้างทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่เคยประเมินไว้ ทั้งนี้ เป็นเพราะแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

ความเสี่ยงที่ กนง. ติดตาม
  1. พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)

  2. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง

  3. ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ

  4. ปัญหาภาคการเงินในยุโรป และจีน

  5. พัฒนาการทางการเมืองในยุโรป

  1. พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)
  2. ความไม่แน่นอนทางการเมืองและปัญหาภาคการเงินในยุโรป
  3. นโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ
  4. เสถียรภาพการเงินจีน
  5. การผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ภาคเอกชน
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%
เหตุผลของกนง. นโยบายการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนต่อเนื่อง และพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน นโยบายการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนต่อเนื่อง และพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

 

policy_rate2017_Feb-01.jpg

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ