SHARE
IN FOCUS
20 พฤศจิกายน 2014

การอ่อนตัวของค่าเงินเยน

การดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการคลังและการเงินของรัฐบาลญี่ปุ่นส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยขณะนี้ค่าเงินเยนลดลงมาอยู่ที่ 115 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ กล่าวคือปรับตัวลดลงถึง 40% จากปี 2012 และ 12% จากเดือนสิงหาคมปีนี้ นอกจากนี้ค่าเงินเยนต่อเงินบาทไทยก็อ่อนตัวลงเช่นกัน โดยอัตราเงินเยนต่อเงินบาท ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 3.5 เยนต่อ 1 บาท - เมื่อพิจารณาถึงอุตสาหกรรมส่งออกไปยังญี่ปุ่นอันดับต้นๆของไทย พบว่าอุตสาหกรรมอาหารทะเลมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสี่ยงมากที่สุดจากการอ่อนตัวของค่าเงินเยนเนื่องจากมีอัตรากำไรส่วนเกินค่อนข้างต่ำ ในขณะเดียวกันเป็นนอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อราคาสูง และพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกค่อนข้างสูง - ภาคอุตสาหกรรมที่จะได้รับอานิสงส์จากการอ่อนตัวของค่าเงินเยนคืออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เนื่องจากวัตถุดิบที่นำเข้าสำหรับชิ้นส่วนรถยนต์และเหล็กจากญี่ปุ่นมีราคาถูกลง

ผู้เขียน:  นิตนารา มินทะขิน


145832270.jpg
 

Highlights

  • การดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการคลังและการเงินของรัฐบาลญี่ปุ่นส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยขณะนี้ค่าเงินเยนลดลงมาอยู่ที่ 115 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ กล่าวคือปรับตัวลดลงถึง 40% จากปี 2012 และ 12% จากเดือนสิงหาคมปีนี้ นอกจากนี้ค่าเงินเยนต่อเงินบาทไทยก็อ่อนตัวลงเช่นกัน โดยอัตราเงินเยนต่อเงินบาท ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 3.5 เยนต่อ 1 บาท

  • เมื่อพิจารณาถึงอุตสาหกรรมส่งออกไปยังญี่ปุ่นอันดับต้นๆของไทย พบว่าอุตสาหกรรมอาหารทะเลมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสี่ยงมากที่สุดจากการอ่อนตัวของค่าเงินเยนเนื่องจากมีอัตรากำไรส่วนเกินค่อนข้างต่ำ ในขณะเดียวกันเป็นอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อราคาสูง และพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกค่อนข้างสูง

  • ภาคอุตสาหกรรมที่จะได้รับอานิสงส์จากการอ่อนตัวของค่าเงินเยนคืออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เนื่องจากวัตถุดิบที่นำเข้าสำหรับชิ้นส่วนรถยนต์และเหล็กจากญี่ปุ่นมีราคาถูกลง

การดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการคลังและการเงินของรัฐบาลญี่ปุ่นส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่ปี  2012 เป็นต้นมารัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้นโยบายทางการคลังและการเงินเพื่อบีบให้เงินเยนอ่อนค่าลง เครื่องมือสำคัญของนโยบายนี้ คือ มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณและคุณภาพหรือ Quantitative and Qualitative Easing (QQE) ซึ่งประกาศใช้ไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และหลังจากนั้นในเดือนตุลาคม ได้มีการเพิ่มระดับความเข้มข้นของมาตรการเมื่อธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นได้เพิ่มฐานเงินจาก 60-70 ล้านล้านเยนมาอยู่ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี และเพิ่มระดับการซื้อกองทุนรวมเปิดที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (Exchange Traded Funds) และ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่น (Japan Real Estate Investment Trusts) ถึงสามเท่า

ปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯอยู่ที่ 115 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง 12% จากเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ตั้งแต่ญี่ปุ่นมีการประกาศใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของการคลังและการเงินไปเมื่อปี 2012 ส่งผลให้ค่าเงินเยนต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลงกว่า 40% (รูปที่ 1) มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณและคุณภาพซึ่งเริ่มใช้เมื่อเดือนที่แล้วส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันอยู่ที่ 115 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะเดียวกันค่าเงินเยนต่อเงินบาทไทยก็อ่อนค่าลงอยู่ที่ 3.5 เยนต่อ 1 บาท หรืออ่อนค่าลง 11% จากเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา EIC คาดการณ์ว่าเงินเยนมีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงอีกเล็กน้อยอย่างต่อเนื่องแต่จะไม่อ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญมากนัก นอกเสียจากว่าจะมีมาตรการอื่นๆที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายของตลาดมาเป็นปัจจัยเสริมที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินเยนอีกครั้ง

อุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากการอ่อนตัวของค่าเงินเยนมากที่สุด การอ่อนตัวของค่าเงินเยนจะส่งผลในเชิงลบต่ออุตสาหกรรมการส่งออกของสินค้าซึ่งมีลักษณะดังนี้คือ 1) มีอัตรากำไรส่วนเกินต่ำ ทำให้ไม่สามารถปรับลดราคาสินค้าได้มากนักหากต้องการรักษาปริมาณการส่งออกโดยรวม 2) สินค้ามีความอ่อนไหวต่อราคาในระดับสูง ซึ่งทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบจากการลดลงของการส่งออกหากปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้น (เนื่องจากมีความสัมพันธ์ของค่าเงินบาทและค่าเงินเยนสูง) 3) พึ่งพารายได้จากการส่งออกไปญี่ปุ่นค่อนข้างมาก ทำให้ค่าเงินเยนมีผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจ

เมื่อพิจารณาถึงอุตสาหกรรมส่งออกไปยังญี่ปุ่นอันดับต้นๆของไทย (รูปที่ 2) อุตสาหกรรมอาหารทะเลมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดเนื่องจากมีคุณลักษณะตามที่กล่าวไว้ข้างต้นทั้ง 3 ประการ (รูปที่ 3) อาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลแปรรูปเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด โดยมีมูลค่าการส่งออก ณ ปี 2013 อยู่ที่ 780 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของบริษัทอาหารทะเลหลายๆบริษัท มีสัดส่วนประมาณ 30% ของการส่งออกโดยรวม การอ่อนตัวของค่าเงินเยนจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อธุรกิจอาหารทะเลในไทยหลายๆบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดในญี่ปุ่นค่อนข้างสูง

สำหรับภาคธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์และวิทยุซึ่งมีมูลค่าส่งออกไปยังญี่ปุ่นรวมกันคิดเป็นเงิน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการอ่อนตัวของค่าเงินเยนในระดับหนึ่ง เนื่องจากภาคธุรกิจเหล่านี้มีความไวต่อราคาในระดับปานกลางซึ่งทำให้ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์มากนัก อีกทั้งธุรกิจเหล่านี้มีอัตรากำไรส่วนเกินสูงทำให้สามารถลดราคาสินค้าได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกโดยรวม

ภาคอุตสาหกรรมส่งออกอันดับต้นๆประเภทอื่น ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมเนื้อไก่ คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการอ่อนตัวของค่าเงินเยนค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีอัตรากำไรส่วนเกินสูงและมีอัตราพึ่งพิงการส่งออกค่อนข้างต่ำ

อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนจะได้รับอานิสงส์จากการอ่อนตัวของค่าเงินเยนเนื่องจากวัตถุดิบที่นำเข้าจากญี่ปุ่นมีราคาถูกลง ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยอาศัยการนำเข้าชิ้นส่วนและเหล็กจากญี่ปุ่นค่อนข้างมาก โดย 49% ของชิ้นส่วนรถยนต์ และ 46% ของแผ่นเหล็กรีดแบนที่ใช้นั้นนำเข้ามาจากญี่ปุ่น เมื่อเงินเยนอ่อนค่าลงจึงทำให้ภาคอุตสาหกรรมนี้มีต้นทุนต่ำลง ทั้งนี้ มูลค่าส่วนต่างของต้นทุนการผลิตที่ลดลงนั้นสูงกว่ามูลค่าส่วนต่างของรายได้จากการส่งออกไปยังญี่ปุ่นที่คาดว่าจะลดลงเนื่องจากราคาที่สูงขึ้น และในความเป็นจริงแล้ว กำลังผลิตจากภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยนั้นเป็นไปเพื่อรองรับการอุปโภคของตลาดภายในประเทศเสียมากกว่า การส่งออกคิดเป็น 46% ของการผลิตทั้งหมด และในจำนวนนี้เป็นการส่งออกไปญี่ปุ่นเพียง 1% เท่านั้น

ไทยจะยังคงได้ประโยชน์จากญี่ปุ่นในรูปของกระแสการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มาลงทุนโดยตรงในไทยมากที่สุด โดยการลงทุนของญี่ปุ่นคิดเป็น 52% ของการลงทุนทั้งหมดในปี 2013 (รูปที่ 4) ซึ่งเป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร และโลหะเสียส่วนใหญ่ (รูปที่ 5) การอ่อนตัวของค่าเงินเยนทำให้ต้นทุนการผลิตในญี่ปุ่นสูงขึ้น และส่งผลให้บริษัทในญี่ปุ่นหลายๆบริษัทเริ่มย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ ทำให้ไทยพลอยได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นไปด้วย ภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับอานิสงส์จากกระแสการลงทุนโดยตรงที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมโลหะ และอุตสาหกรรมงานขึ้นรูปความเที่ยงตรงสูง เห็นได้จากแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

 

Implication.png 886_20100622103105.gif
  • บริษัทผู้ผลิตอาหารทะเลที่มีสัดส่วนการส่งออกไปยังญี่ปุ่นสูงควรกระจายฐานการส่งออกเพื่อลดความเสี่ยงจากตลาดญี่ปุ่น
  • นิคมอุตสาหกรรม บริษัทผู้ให้บริการโกดังสินค้าและบริการระบบการจัดการขนส่งสินค้า ควรเริ่มเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่บริษัทญี่ปุ่นซึ่งต้องการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย เนื่องจากบริษัทเหล่านี้เล็งเห็นว่าเมื่อเงินเยนอ่อนค่าลงจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในญี่ปุ่นสูงขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมโลหะ และอุตสาหกรรมงานขึ้นรูปความเที่ยงตรงสูง

 

รูปที่ 1: ค่าเงินเยนต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง 40% จากปี 2012

8427_20141121151527.jpg

 

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg 

 

รูปที่ 2: อุตสาหกรรมส่งออกไปยังญี่ปุ่นอันดับต้นๆของไทย

 8413_20141120160748.jpg

 ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์

 

รูปที่ 3: การที่เงินเยนอ่อนค่าลงจะส่งผลเชิงลบต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเล

8414_20141120160826.jpg

Note:หมายเหตุ: รวมสินค้าส่งออกไปญี่ปุ่น 10 อันดับแรกซึ่งคิดเป็นมูลค่าหกพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคิดเป็นราว 40% ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปญี่ปุ่น
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ BOL DSS and The Office of Industrial Economics

 

รูปที่ 4: ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มาลงทุนโดยตรงในไทยมากที่สุด โดยการลงทุนของญี่ปุ่นคิดเป็น 52% ของการลงทุนทั้งหมดในปี 2013

8415_20141120160902.jpg

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไท

 

รูปที่ 5: การลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นโดยมากเป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร และโลหะ

8416_20141120162232.jpg

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์

 

Get the additional info

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ