SHARE
SCB EIC ARTICLE
13 ตุลาคม 2016

สีสันการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี กับนโยบายที่น่าจับตามอง

เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 4/2016

คลิกอ่านฉบับเต็ม 

 

BOX_election1.jpg

 

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2016 การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 58 ของสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่มีนัยทางเศรษฐกิจที่ไม่จำกัดวงแคบเฉพาะในสหรัฐฯ เท่านั้น เนื่องจากนโยบายสุดโต่งของหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองรูปแบบเดิม ท่ามกลางสถานการณ์ความแตกแยกในสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม จะมีการอภิปรายนโยบายโต้ตอบกัน (presidential debate) ระหว่าง Donald Trump จากพรรค Republican และ Hillary Clinton จากพรรค Democrat ซึ่งจะทำให้เห็นความแตกต่างทางนโยบายของทั้งคู่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การวิจารณ์แนวเสียดสีของ Trump และความพยายามในการขุดคุ้ยการดำเนินงานของ Clinton ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในอดีต ส่งผลกระทบอย่างสูงต่อคะแนนนิยมของทั้งคู่ เห็นได้จากคะแนนนิยมที่มีแนวโน้มผันผวนอย่างมาก โดยหลายฝ่ายกังวลว่ากลุ่ม swing vote หรือกลุ่มคนที่ไม่สังกัดพรรคใดพรรคหนึ่งจะสามารถส่งผลให้ Trump ที่มีคะแนนนิยมตามหลังในปัจจุบัน พลิกมาชนะได้ในช่วงก่อนหน้าวันเลือกตั้ง เช่นเดียวกันกับ Brexit ทั้งนี้ ด้วยนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงของ Trump จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านการค้า นโยบายต่างประเทศ และนโยบายความมั่นคงที่ทำให้เกิดความเสี่ยงทางการเมือง (geopolitical risks) ดังนั้น การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ในปีนี้นับเป็นเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องจับตามอง

 

BOX_election2.jpg

 

 

Donald Trump

 Hillary Clinton

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • สนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการลงทุน
  • ลดเกณฑ์ขั้นตอนการยกเว้นภาษีทรัพย์สิน 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • เสนอเพิ่มการลงทุนภาครัฐมูลค่า 2.75 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใน 5 ปี และก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การสร้างงาน

  • เสนอมาตรการภาษีเอื้อต่อภาคการผลิต
  • ตั้งกำแพงภาษีสำหรับสินค้านำเข้าจากจีน และเม็กซิโก เพื่อให้บริษัทของสหรัฐฯกลับมาลงทุนภายในประเทศ
  • ใช้ข้อกฎระเบียบทางด้านการค้า และภาษีเพื่อสนับสนุนภาคการผลิต
  • แก้ไขกฎหมายเพื่อปิดช่องโหว่ทางภาษี ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้บริษัทสหรัฐฯ ที่ตั้งในต่างประเทศ

การกระจายรายได้

  • สนับสนุนขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชั่วโมงทั่วประเทศ  โดยกระตุ้นให้รัฐเพิ่มอัตราแรงงานขั้นต่ำที่เหมาะสมกับค่าครองชีพ
  • ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างๆ และ ยกเลิกภาษีมรดกและภาษีสมรส
  • สนับสนุนขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชั่วโมง
  • เก็บภาษีเพิ่มเติม 4% สำหรับผู้มีรายได้เกินกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โดยเพิ่มเพดานภาษีสูงสุด 45%

แรงงานต่างชาติ

  • สร้างกำแพงที่เขตแดนสหรัฐฯ-เม็กซิโกเพื่อป้องกันผู้ลักลอบเข้าเมือง
  • สนับสนุนกฎหมายเพื่อลดการจ้างงานแรงงานผิดกฎหมาย และผลักดันแรงงานผิดกฎหมายกว่า 11 ล้านคนออกนอกประเทศ
  • ห้ามชาวมุสลิมเดินทางเข้าสหรัฐฯ เพื่อป้องกันการก่อการร้าย
  • สนับสนุนการปฏิรูปกระบวนการเพื่อให้แรงงานผิดกฎหมายได้สิทธิพลเมืองของสหรัฐฯ ที่ถูกต้อง

การค้าระหว่างประเทศ

  • ยกเลิกการเจรจาข้อตกลงการค้า TPP
  • แก้ไขข้อตกลงทางการค้า the North American Free Trade Agreement (NAFTA) และความตกลงการค้าเสรีเกาหลีใต้-อเมริกา (Korea-US Free Trade Deal)
  • เปลี่ยนมาสนับสนุนการยกเลิกการเจรจาข้อตกลงการค้า TPP
  • สนับสนุนการเจรจาเขตการค้าเสรีthe Trans-Atlantic Trade and Investment Partnership (TTIP) ระหว่างสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ

 

 

 

BOX_election3.jpg

 

หาก Donald Trump เป็นผู้คว้าชัยชนะ

มีแนวโน้มจะเกิดความผันผวนต่อตลาดเงินทั่วโลกในระยะสั้น เนื่องจากความสุดโต่งของนโยบาย อย่างไรก็ดีนโยบายดังกล่าวซึ่งแตกต่างไปจากเดิมมากมีโอกาสน้อยที่จะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา อีกทั้ง นโยบายดังกล่าวนี้ก็อาจจะได้รับการเปลี่ยนระหว่างการอภิปรายเพื่อคะแนนนิยมที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นอกจากผลกระทบเชิงเศรษฐกิจแล้ว อาจจะนำไปสู่ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย ซึ่งความเห็นของ Trump ที่มีต่อการค้ากับจีน รวมไปถึงมุมมองต่อกลุ่มชาวมุสลิมและแรงงานเม็กซิกัน อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ความสัมพันธ์ทางการค้า โดยความตึงเครียดดังกล่าวนี้เองก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทย เพราะหากมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าอย่างรุนแรงกับจีนขึ้นจริง อาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวและมีผลในวงกว้างต่อภูมิภาคเอเชียซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก โดยหลายประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดจีน นอกจากนี้ นโยบายกีดกันแรงงานต่างชาติจะทำให้แรงงานสหรัฐฯ หดตัวและต้นทุนทางด้านแรงงานมีราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ นโยบายทางภาษีจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งจากรายงานของ The Tax Policy Center ประมาณการว่านโยบายดังกล่าวจะทำให้รายได้ของภาครัฐลดลงกว่า 9.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วย ทั้งนี้ อีไอซีคาดว่าไทยจะได้รับผลกระทบในระยะสั้นจากค่าเงินที่ผันผวน และแนวโน้มปริมาณการส่งออกสินค้าสหรัฐฯ ที่จะลดลงจากการบริโภคที่หดตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ลดลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยสินค้าส่งออกของไทยที่อาจจะได้รับผลกระทบสูง ได้แก่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ยาง

 

 

หาก Hillary Clinton เป็นผู้คว้าชัยชนะ

นโยบายเศรษฐกิจของ Clinton ค่อนข้างเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายของนาย Barack Obama ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน โดยมีความแตกต่างบ้างเล็กน้อย ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงต่ำต่อการค้าและการลงทุน อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวนี้ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับการคัดค้านจากรัฐสภา ซึ่งนั่นอาจจะนำมาสู่สภาวะการเมืองชะงักงัน (political gridlock) ในประเด็นข้อตกลงทางการค้า TPP ที่ Clinton เคยเป็นผู้ผลักดันหลักในช่วงต้น แต่กลับลำต่อต้านในช่วงหาเสียงครั้งนี้ ได้สร้างข้อกังขาว่าหาก Clinton ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเปลี่ยนมาสนับสนุนข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ นอกจากประเด็นทางการเมืองแล้วรายงานของ The Tax Policy Center ประเมินว่านโยบายภาษีของ Clinton จะสร้างรายได้ให้กับภาครัฐเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในเวลา 10 ปี แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ การขึ้นภาษีอาจลดแรงจูงใจในการสร้างงานและการลงทุนของภาคธุรกิจในแง่ของการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ นโยบายต่างประเทศของ Clinton ที่ให้ความสำคัญกับเอเชียเพื่อคานอำนาจกับจีน จะเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ทางการค้าของภูมิภาคนี้กับสหรัฐฯ แต่อาจเพิ่มความตึงเครียดในด้านการเมืองได้ในอนาคต

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ