BULL-BEAR: ราคาน้ำมัน ไตรมาส 4/2016
เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 4/2016
มุมมอง EIC: Bear ราคาน้ำมันดิบในใตรมาส 4 ปี 2016 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากตลาดน้ำมันยังมีอุปทานส่วนเกินอยู่เกือบ 8 แสนบาร์เรลต่อวัน แม้ว่า OPEC จะสามารถบรรลุข้อตกลงลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง แต่บางประเทศอาจได้รับการยกเว้น เช่น อิหร่าน ซึ่งจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันขึ้นอีก ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการลดอุปทานน้ำมันมากนัก นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2016 Fed มี |
BULLs: ปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มขาขึ้น | BEARs: ราคาน้ำมันมีแนวโน้มขาลงหรือทรงตัว | |
• ความต้องการน้ำมันทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลในไตรมาส 4 เพราะเข้าช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ประเมินว่าในไตรมาส 4 ปี 2016 อุปสงค์น้ำมันโลกจะขยายตัว 2%YOY มาอยู่ที่ 95.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเอเชียจะมีการเติบโตของอุปสงค์มากที่สุดที่ 6%YOY โดยเฉพาะจีนที่เป็นประเทศบริโภคน้ำมันใหญ่เป็นอันดับสองของโลกจะมีการเติบโตของอุปสงค์ที่ 4% มาอยู่ที่ 11.77 ล้านบาร์เรลต่อวัน • ภายหลังการประชุม International Energy Forum (IEF) ณ กรุงอัลเจียร์ส ประเทศแอลจีเรีย ในวันที่ 28 กันยายน 2016 OPEC บรรลุข้อตกลงการลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลงให้อยู่ในช่วง 32.5-33 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 33.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถือเป็นการปรับลดปริมาณการผลิตครั้งแรกในรอบ 8 ปี ของกลุ่ม OPEC หลังจากวิกฤติราคาน้ำมันดิบในปี 2008
• ปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ จะลดลงในไตรมาส 4 ปี 2016 โดย EIA ประเมินว่าสหรัฐฯ จะมีการผลิตน้ำมัน 14.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือหดตัว 3%YOY สะท้อนจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ลดลงเหลือ 406 แท่นในเดือนสิงหาคม 2016 จากที่เคยมี 675 แท่นในช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือหดตัวราว 40%YOY
|
• ตลาดน้ำมันยังมีอุปทานส่วนเกิน ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อราคาน้ำมันดิบ โดย EIA ประเมินอุปทานน้ำมันโลกในไตรมาส 4 ปี 2016 อยู่ที่ 96.74 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่อุปสงค์มีปริมาณ 95.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้มีน้ำมันล้นตลาดอยู่เกือบ 8 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งอุปทานน้ำมันจากกลุ่ม OPEC มีอัตราการขยายตัวสูงถึง 3%YOY มาอยู่ที่ 39.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม กลุ่ม Non-OPEC ลดการผลิตลงมาอยู่ที่ระดับ 57.08 ล้านบาร์เรลต่อวัน หดตัว 1%YOY • Fed อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้ง ในเดือนธันวาคม ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วง 0.50% – 0.75% ณ สิ้นปี 2016 ส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากตลาดน้ำมันไปยังตลาดเงินในสหรัฐฯ กดดันราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับต่ำ • การประชุม OPEC ครั้งต่อไปในเดือนพฤศจิกายน 2016 อาจมีบางประเทศได้รับการยกเว้นไม่ต้องปรับลดปริมาณการผลิต เช่น อิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตใหญ่เป็นอันดับสามของ OPEC เพราะอิหร่านต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้ที่ระดับ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เท่ากับช่วงก่อนโดนมาตรการคว่ำบาตร เรื่องโครงการนิวเคลียร์จากกลุ่ม P5+1 ทั้งนี้ ปัจจุบันอิหร่านผลิตน้ำมันที่ราว 3.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน |