Outlook ไตรมาส 4/2016
อีไอซีปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปี 2016 เป็น 3.0% จากเดิม 2.8% ด้วยอานิสงส์จากปัจจัยบวกระยะสั้นในช่วงครึ่งปีแรก ได้แก่ มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาฯ ที่กระตุ้นให้เกิดการเร่งก่อสร้างในช่วงไตรมาสแรกของปี การเร่งใช้จ่ายรายจ่ายประจำและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมถึงปัจจัยบวกที่ผลักดันยอดขายรถยนต์ในไตรมาสสองที่ทำให้การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวให้ผลเพียงระยะสั้นเท่านั้น เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีจึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ช้าลง นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยโดยพื้นฐานยังคงมีปัจจัยลบที่สำคัญ คือ รายได้ครัวเรือนยังคงถูกกดดันจากสภาวะตลาดแรงงานที่ชะลอตัวซึ่งส่งผลกดดันการฟื้นตัวของบริโภคภาคเอกชน ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชนที่จะยังคงซบเซาจากภาคการส่งออกสินค้าที่ยังหดตัว ขณะที่กำลังการผลิตยังคงมีเหลือ
(Update!) ปรับประมาณการการนำเข้าและส่งออก คาดส่งออกทั้งปีหดตัวเพียง 0.5% คลิกอ่านต่อ
|
อีไอซีปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปี 2016 เป็น 3.0% จากเดิม 2.8% ด้วยอานิสงส์จากปัจจัยบวกระยะสั้นในช่วงครึ่งปีแรก ได้แก่ มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาฯ ที่กระตุ้นให้เกิดการเร่งก่อสร้างในช่วงไตรมาสแรกของปี การเร่งใช้จ่ายรายจ่ายประจำและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมถึงปัจจัยบวกที่ผลักดันยอดขายรถยนต์ในไตรมาสสองที่ทำให้การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวให้ผลเพียงระยะสั้นเท่านั้น เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีจึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ช้าลง นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยโดยพื้นฐานยังคงมีปัจจัยลบที่สำคัญ คือ รายได้ครัวเรือนยังคงถูกกดดันจากสภาวะตลาดแรงงานที่ชะลอตัวซึ่งส่งผลกดดันการฟื้นตัวของบริโภคภาคเอกชน ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชนที่จะยังคงซบเซาจากภาคการส่งออกสินค้าที่ยังหดตัว ขณะที่กำลังการผลิตยังคงมีเหลือ
ในปี 2017 อีไอซีมองว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวเร่งขึ้นได้ที่ 3.3% จากการใช้จ่ายของภาคเอกชนที่จะกลับมาเป็นกำลังสำคัญ โดยข้อจำกัดด้านกำลังซื้อของภาคครัวเรือนจะผ่อนคลายลงหลังหมดภาระการผ่อนชำระค่าซื้อรถยนต์จากโครงการรถยนต์คันแรก และการได้รับเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการขยายการลงทุนในกลุ่มธุรกิจภาคบริการและอานิสงส์จากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐที่จะมีความชัดเจนมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยบวกจากการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยวที่ได้สนับสนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาจะยังคงเติบโตได้ดี ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะฟื้นตัวได้เล็กน้อยจากการเติบโตของการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาสินค้าส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันโลก
ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกยังเป็นความกังวลหลักต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีไปจนถึงปี 2017 การฟื้นตัวของภาคการส่งออกไทยยังคงเป็นไปอย่างจำกัดจากลักษณะการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่เป็นไปอย่างช้าๆ โดยอาศัยการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ภาคการผลิตยังชะลอตัว นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ที่สะสมและความเสี่ยงการเมืองที่เพิ่มขึ้นในประเทศเศรษฐกิจหลักยังได้สร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันการใช้นโยบายการเงินเพื่อแก้ไขปัญหากลับเริ่มมีข้อจำกัด ด้านแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลก อีไอซีประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในครึ่งปีหลังไปจนถึงปีหน้าราว 2-4 ครั้ง โดยคิดเป็นการปรับเพิ่มราว 0.5-1% อย่างไรก็ตาม ไทยมีความสามารถในการรองรับความผันผวนด้านการเงินสูง จากเสถียรภาพที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงและปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเพียงพอ ด้านนโยบายการเงินของไทย อีไอซีมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ไปจนถึงสิ้นปี 2017 จากเศรษฐกิจที่สามารถเติบโตได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังต่ำ ประกอบกับความต้องการในการรักษาความสามารถทางนโยบาย (policy space) ไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ด้านค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป อีไอซี
Bear - ราคาน้ำมันดิบในใตรมาส 4 ปี 2016 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากตลาดน้ำมันยังมีอุปทานส่วนเกินอยู่เกือบ 8 แสนบาร์เรลต่อวัน แม้ว่า OPEC จะสามารถบรรลุข้อตกลงลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง แต่บางประเทศอาจได้รับการยกเว้น เช่น อิหร่าน ซึ่งจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันขึ้นอีก ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการลดอุปทานน้ำมันมากนัก นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2016 Fed มีแนวโน้มเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมันดิบให้อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในฤดูหนาวจะช่วยผลักดันให้ราคาน้ำมันปรับระดับสูงขึ้นได้ในช่วงไตรมาส 4
ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเคลื่อนตัวจากภาคการผลิตเข้าสู่ภาคบริการมากขึ้น เศรษฐกิจไทยในระยะหลายปีที่ผ่านมาก็เริ่มเป็นไปในทิศทางดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการทุกภาคส่วนที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ที่ย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ภาคบริการนั้นยังประกอบไปด้วยธุรกิจหลากหลายประเภท อีกทั้งไทยเองก็มีปัจจัยทางภูมิภาคที่แตกต่างกัน คำถามสำคัญ คือ ธุรกิจบริการประเภทใดที่มีศักยภาพในการเติบโตและจะเป็นโอกาสสำหรับ SMEs ไทยในแต่ละพื้นที่ได้ต่อไป
In focus: ส่องสถานการณ์เด่น ประเด็นเศรษฐกิจโลก 2017
เศรษฐกิจโลกที่จะยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในปี 2017 ส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นจากในปีที่ผ่านมา ทั้งความผันผวนในตลาดการเงินและเหตุการณ์นอกเหนือความคาดหมายอย่าง Brexit ซึ่งผลกระทบยังไม่แน่ชัด โดยอีไอซีมองว่ากระแสความเปลี่ยนแปลงที่ต้องจับตามองในปีหน้า ได้แก่ 1) ความเสี่ยงที่เกิดจากหนี้ซึ่งสะสมจากช่วงภายหลังวิกฤติทางการเงินโลก 2) ความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้น และ 3) แรงส่งทางการคลังซึ่งเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลหลายแห่งทั่วโลกหันไปพึ่งพาเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อพลวัตรการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอาจทำให้ประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2017 เปลี่ยนแปลงไปจากกรณีพื้นฐาน (baseline scenario)
|