SHARE
INSIGHT
19 เมษายน 2011

ธุรกิจควรปรับตัวอย่างไรต่อแนวโน้มที่เปลี่ยนไปในตลาดแรงงานไทย?

แรงงานมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย อุตสาหกรรมไทยจำนวนมากยังคงพึ่งพิงแรงงานที่ค่าแรงถูก แต่ลักษณะตลาดแรงงานไทยกำลังจะเปลี่ยนไป ค่าแรงราคาถูกนี้กำลังลดน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้น ภาคธุรกิจควรปรับตัวอย่างไร?

2175_20110419114835.jpg ธุรกิจควรปรับตัวอย่างไรต่อแนวโน้มที่เปลี่ยนไปในตลาดแรงงานไทย?
ฉบับเดือน เมษายน 2554

แรงงานมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย อุตสาหกรรมไทยจำนวนมากยังคงพึ่งพิงแรงงานที่ค่าแรงถูก แต่ลักษณะตลาดแรงงานไทยกำลังจะเปลี่ยนไป ค่าแรงราคาถูกนี้กำลังลดน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้น ภาคธุรกิจควรปรับตัวอย่างไร?

แน่นอนว่าก่อนที่จะปรับตัว ภาคธุรกิจจะต้องรู้ว่าลักษณะเด่นของตลาดแรงงานไทยคืออะไรบ้าง ? จากการวิเคราะห์ เราพบ 5 ลักษณะเด่นของตลาดแรงงานไทย ดังนี้

  1. จำนวน แรงงานไทยจะเพิ่มขึ้นช้าลงเรื่อยๆ จำนวนประชากรวัยทำงานจะเติบโตด้วยอัตราที่ลดลงจาก 1% ในระหว่างปี 2000-2010 เหลือเพียง 0.2% ในช่วงปี 2010-2020 
  2. ผลิตภาพแรงงาน (labor productivity) ในไทยเติบโตช้า ผลิตภาพแรงงานไทยเติบโตเพียง 3.0% ต่อปี ระหว่างปี 2000-2007 ซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค เช่น จีน (9.2%) และเวียดนาม (5.3%) 
  3. แรงงานไทยจำนวนมากทำงานนอกระบบ สัดส่วนลูกจ้างในกำลังแรงงานไทยอยู่ที่ 47% ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค เช่น ไต้หวัน (75%) มาเลเซีย (74%) และเกาหลี (68%) และลูกจ้างไทยเกือบครึ่งไม่ใช่ลูกจ้างระยะยาวที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน 
  4. ผล ตอบแทนแรงงานกำลังลดลงในทุกระดับการศึกษา ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาด้านคุณภาพของการศึกษา ทั้งนี้ เรายังพบว่าตลาดแรงงานไทยถูกกำหนดด้วยอุปสงค์เป็นหลักอีกด้วย 
  5. ผู้หญิง จะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดแรงงานไทย อัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน (labor force participation rate) ของผู้หญิงสูงถึงเกือบ 70% ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ (54%) เกาหลี (50%) และมาเลเซีย (44%) และผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทในการเป็นผู้นำมากขึ้นด้วย ดังเห็นได้จากสัดส่วนของผู้บริหารระดับสูงที่เป็นผู้หญิงของไทยนั้นอยู่ใน ระดับถึง 45% ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในโลก

สิ่งเหล่านี้คือ ความท้าทายและโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย  ด้วยแนวโน้มของจำนวนแรงงานไทยที่จะเพิ่มขึ้นช้าลงเรื่อยๆ และแรงงานจำนวนมากยังอยู่นอกระบบ ภาคธุรกิจจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในการจัดหาทรัพยากรบุคคล นอกจากนั้นแล้วแรงงานที่มีอยู่เดิมยังอาจเกิดปัญหาทำงานไม่ตรงกับทักษะ (mismatching) ซึ่งเห็นได้จากผลิตภาพแรงงานที่ค่อนข้างต่ำ

ความได้เปรียบจะตกอยู่กับผู้ประกอบการที่สามารถปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับลักษณะเด่นในตลาดแรงงานไทยได้ก่อน โดยตัวอย่างแนวทางในการปรับตัวของภาคธุรกิจไทย ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจ การเพิ่มการลงทุนในการปรับกระบวนการผลิตเพื่อให้เข้ากับแรงงานที่ขาดแคลน และการเน้นการบริหารพนักงานศักยภาพสูง (talent management)

ทั้งนี้ ภาครัฐสามารถมีส่วนร่วมได้ ด้วย การส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาระดับมูลค่าของสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ลดการแทรกแซงตลาดแรงงาน รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้แรงงานสูงอายุในอุตสาหกรรมและกลุ่มอาชีพที่ขาดแคลน ให้ทำงานนานขึ้น นอกจากนั้น ภาครัฐสามารถเพิ่มการตรวจสอบผลลัพธ์ด้านการศึกษาและการมีส่วนร่วมจากภาค เอกชนในการกำหนดหลักสูตร เพื่อให้ได้มาซึ่งแรงงานมีฝีมือและตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ

 

สมัครสมาชิก เพื่อดาวน์โหลดเอกสารนี้


ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ