SHARE
FLASH
24 มิถุนายน 2016

Brexit อิสรภาพที่ทวีความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกและสร้างรอยร้าวใน EU

วันศุกร์ที่ 24 มิ.ย. หลังจากชาว UK กว่า 33.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 72.16% เดินทางมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงประชามติ Brexit ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยล่าสุดนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของ UK ได้ประกาศผลการลงประชามติอย่างเป็นทางการว่า UK ต้องการสิ้นสุดสมาชิกภาพจาก EU ด้วยผลการโหวตที่เชือดเฉือนชนะกันด้วยคะแนนเสียง 52% ต่อ 48% พร้อมทั้งประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี

ผู้เขียน: ดร.ชุติมา ตันตะราวงศา และ กันทิมา วงศ์สถาปัตย์

ThinkstockPhotos-533244924.jpg

Event.png

885_20100622103059.gif

  • วันศุกร์ที่ 24 มิ.ย. หลังจากชาว UK กว่า 33.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 72.16% เดินทางมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงประชามติ Brexit ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยล่าสุดนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของ UK ได้ประกาศผลการลงประชามติอย่างเป็นทางการว่า UK ต้องการสิ้นสุดสมาชิกภาพจาก EU ด้วยผลการโหวตที่เชือดเฉือนชนะกันด้วยคะแนนเสียง 52% ต่อ 48% พร้อมทั้งประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี

Analysis.png

884_20100622103051.gif

กลุ่มประเทศ ความตื่นตระหนกของตลาดหลังเริ่มนับคะแนนเสียงถึงทราบผล ผลกระทบในระยะถัดไป

UK
  • GBP/USD: (9.46%)
  • FTSE: (8.67%)
  • ในระยะสั้น ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เตรียมพร้อมในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อรองรับปัญหาการขาดสภาพคล่อง

  • ในระยะยาว คาดว่าเศรษฐกิจ UK อาจหดตัวถึง 3-10% ภายในปี 2030 จากอุปสรรคทางการค้าการลงทุน รวมถึงการเคลื่อนย้ายของเงินทุนและแรงงาน ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงของผลกระทบจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงใหม่ระหว่าง UK และ EU โดยมีเวลาอย่างน้อยอีก 2 ปี ก่อนจะสิ้นสุดสมาชิกภาพ

EU
  • EUR/USD: (3.54%)
  • Euro Stoxx: (10.84%)
  • การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของ EU อาจชะลอลง จากความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่สั่นคลอน และตลาดการเงินที่ผันผวน โดยอีไอซีมองว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจ

  • Brexit เพิ่มความเสี่ยงที่ประเทศสมาชิกอื่นใน EU จะมีการจัดทำประชามติในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ จากผลสำรวจพบว่าหากมีการจัดทำประชามติในอิตาลี ฝรั่งเศส และสวีเดน ประชาชนมากกว่า 40% จะสนับสนุนการแยกตัวออกจาก EU

สหรัฐฯ
  • USD Index: (3.21%)
  • S&P 500: (4.67%)
  • ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจการเงินโลกน่าจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป ส่งผลให้การขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้นั้นเป็นไปได้ยาก
ญี่ปุ่น
  • JYP/USD: (3.97%)
  • Nikkei: (5.40%)
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) น่าจะออกนโยบายระยะสั้นเพื่อรองรับการแข็งค่าของเงินเยน แม้ว่าจะเคยประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก็ตาม
ไทย
  • THB/USD: (0.85%)
  • SET: (1.76%)
  • ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยตรงนั้นค่อนข้างจำกัด เนื่องจากมูลค่าการส่งออกจากไทยไป UK อยู่ที่เพียง 2% ของการส่งออกทั้งหมด แต่ผู้ส่งออกไก่แปรรูปที่มีตลาดหลักอยู่ใน UK และ EU จะได้รับผลกระทบรุนแรง นอกจากนี้ ผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ยังต้องเผชิญกับราคาสินค้าที่ผันผวน รวมถึงเงินดอลลาร์สหรัฐฯและเยนที่แข็งค่าขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนผู้นำเข้า

    เงินบาทจะอ่อนค่าลงเล็กน้อย จากการไหลออกของเงินทุนในระยะสั้นซึ่งจะมีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากไทยมีเสถียรภาพทางการเงินที่ค่อนข้างมั่นคงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค โดยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในระดับสูง และเงินทุนสำรองที่แข็งแกร่ง

  • ในระยะยาว อีไอซีมองว่า Brexit เปิดโอกาสให้ไทยสามารถต่อรองทางการค้ากับ UK โดยตรงได้มากขึ้น แต่หากเศรษฐกิจ UK และ EU ซบเซาเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวไทย นอกจากนี้ นักธุรกิจไทยยังต้องประสบกับปัญหาต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นจากการที่ต้องแยกประสานงานกับ UK และ EU


ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ UK Treasury, Ipsos MORI และกระทรวงพาณิชย์

 

Implication.png

886_20100622103105.gif

  • โดยสรุปแล้ว ผลการลงประชามติครั้งนี้ยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับเศรษฐกิจโลกบนพื้นฐานความเปราะบางที่มีอยู่เดิม โดยความเสี่ยงส่วนใหญ่อยู่ที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจของ UK และ EU ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภูมิภาคอื่นๆ จากช่องทางการค้าและตลาดการเงิน อันจะนำมาซึ่งการตอบโต้ในเชิงนโยบายจากประเทศต่างๆ ทั้งนี้ นอกเหนือจากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลกระทบรุนแรงในเชิงสังคมและการเมือง โดยหลายฝ่ายมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของรอยร้าวใน EU ด้วย
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ