เหตุใดประเทศไทยจึงพึ่งพาการส่งออกมาก (และเราควรทำอย่างไร)?
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยมีระดับการพึ่งพาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และแม้ว่าหลายๆ รัฐบาลจะมีนโยบายในการลดการพึ่งพาการส่งออก แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้ สาเหตุสำคัญมาจากความพยายามในการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศที่ไม่เป็นผล
![]() |
เหตุใดประเทศไทยจึงพึ่งพาการส่งออกมาก (และเราควรทำอย่างไร)? ฉบับที่ 8 - ประจำเดือนธันวาคม 2552 |
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยมีระดับการพึ่งพาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และแม้ว่าหลายๆ รัฐบาลจะมีนโยบายในการลดการพึ่งพาการส่งออก แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้ สาเหตุสำคัญมาจากความพยายามในการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศที่ไม่เป็นผล เนื่องจากรายได้หรืออำนาจซื้อในการจับจ่ายใช้สอยของประชากรไม่เติบโต โดยค่าจ้างที่แท้จริงในภาคการผลิตของไทยยังคงล้าหลังอยู่ในระดับที่ไม่ต่างจาก 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ตัวเลขของสิงคโปร์และเกาหลี เพิ่มขึ้นกว่า 50% ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลสะท้อนจากภาวะการลงทุนในประเทศที่ซบเซา โดยมูลค่าการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันของไทยในปี 2551 ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียเมื่อปี 2540 ในขณะที่มูลค่าการลงทุนในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเกาหลี เพิ่มขึ้นไปถึง 20-50% แล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมา คือเรายังคงมีผลิตภาพแรงงาน (labor productivity)1 ที่ต่ำ ประกอบกับการที่ราคาขายสินค้าส่งออกถูกกำหนดโดยตลาดโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงไม่มาก ทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถขยับราคาค่าจ้างได้มากนัก จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ โดยสิ่งเหล่านี้ส่งผลถึงกันเป็นวงจร ทำให้เราต้องพึ่งพาการส่งออกอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
สมัครสมาชิก เพื่อดาวน์โหลดเอกสารนี้ |