SHARE
ECONOMIC OUTLOOK / SCB EIC MONTHLY
25 เมษายน 2016

Outlook ไตรมาส 2/2016

อีไอซีประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2016 จะเติบโต 2.5% ชะลอตัวลงจากการเติบโตในปีก่อนหน้าจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานที่สูงทั้งจากปัจจัยภายในและนอกประเทศ เศรษฐกิจไทยจึงยังคงต้องพึ่งพาแรงส่งจากภาครัฐเป็นสำคัญ ทั้งมาตรการสนับสนุนและการลงทุนโดยรัฐบาลเอง โดยมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐอันประกอบไปด้วย มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร มาตรการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมาตรการส่งเสริมการลงทุน ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการประคับประคองการฟื้นตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนภายในประเทศในสภาวะที่แนวโน้มการเติบโตของรายได้ครัวเรือนชะลอตัว โดยส่วนหนึ่งสะท้อนจากจำนวนชั่วโมงการทำงานที่ลดลง จากผลกระทบของการหดตัวของภาคการส่งออก ความตกต่ำของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และปัญหาภัยแล้ง นอกเหนือจากมาตรการสนับสนุนต่างๆ ของภาครัฐแล้ว การลงทุนโดยภาครัฐเองก็เป็นความหวังสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน การลงทุนภาครัฐที่สามารถเติบโตได้ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมายังมีแนวโน้มในการเติบโตอีกมากในปีนี้จากการเพิ่มกรอบงบประมาณมากกว่า 20% และการเดินหน้าอย่างต่อเนื่องของโครงการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญในการเรียกความเชื่อมั่นจากภาคเอกชนให้กลับมาใช้จ่าย อย่างไรก็ดี อีไอซีมองว่าการลงทุนโครงการคมนาคมในต่างจังหวัดมีความเสี่ยงที่จะล่าช้ากว่าที่คาด โดยโครงการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีการลงทุนเกิดขึ้นจริงหลังจากปีนี้

Outlook_2q2016-2.jpg


ดาวน์โหลดเอกสารภาษาไทยเพื่ออ่านต่อฉบับเต็ม



ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2016


อีไอซีประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2016 จะเติบโต 2.5% ชะลอตัวลงจากการเติบโตในปีก่อนหน้าจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานที่สูงทั้งจากปัจจัยภายในและนอกประเทศ เศรษฐกิจไทยจึงยังคงต้องพึ่งพาแรงส่งจากภาครัฐเป็นสำคัญ ทั้งมาตรการสนับสนุนและการลงทุนโดยรัฐบาลเอง โดยมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐอันประกอบไปด้วย มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร มาตรการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมาตรการส่งเสริมการลงทุน ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการประคับประคองการฟื้นตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนภายในประเทศในสภาวะที่แนวโน้มการเติบโตของรายได้ครัวเรือนชะลอตัว โดยส่วนหนึ่งสะท้อนจากจำนวนชั่วโมงการทำงานที่ลดลง จากผลกระทบของการหดตัวของภาคการส่งออก ความตกต่ำของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และปัญหาภัยแล้ง นอกเหนือจากมาตรการสนับสนุนต่างๆ ของภาครัฐแล้ว การลงทุนโดยภาครัฐเองก็เป็นความหวังสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน การลงทุนภาครัฐที่สามารถเติบโตได้ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมายังมีแนวโน้มในการเติบโตอีกมากในปีนี้จากการเพิ่มกรอบงบประมาณมากกว่า 20% และการเดินหน้าอย่างต่อเนื่องของโครงการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญในการเรียกความเชื่อมั่นจากภาคเอกชนให้กลับมาใช้จ่าย อย่างไรก็ดี อีไอซีมองว่าการลงทุนโครงการคมนาคมในต่างจังหวัดมีความเสี่ยงที่จะล่าช้ากว่าที่คาด โดยโครงการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีการลงทุนเกิดขึ้นจริงหลังจากปีนี้

 

แรงกดดันที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังคงมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ จากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการผลิตของเศรษฐกิจโลกที่ลดการพึ่งพาการส่งออกและเน้นการเติบโตภายในประเทศ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าและปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มลดลงแม้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้า ประกอบกับราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำและคาดว่าจะฟื้นตัวได้เพียงเล็กน้อย ทำให้ภาคการส่งออกของไทยต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการฟื้นตัวอย่างมาก โดยอีไอซีประเมินว่าการส่งออกสินค้าของไทยในปีนี้จะหดตัว 2.1% อย่างไรก็ตาม ในส่วนของความเสี่ยงเงินทุนไหลออกจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินโลกมีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้น ประกอบกับเสถียรภาพทางการเงินของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดีจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงและปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเพียงพอ ด้านแนวนโยบายการเงินของไทย อีไอซีมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% เนื่องจากอัตราในระดับปัจจุบันสามารถที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศได้ อีกทั้ง ยังไม่มีแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้ต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ย ด้านค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าจากปีก่อนหน้า อีไอซีคาดว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะอยู่ที่ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปลายปี 2016


Bull - Bear: ราคาน้ำมัน

Bear - ราคาน้ำมันดิบในใตรมาส 2 ปี 2016 มีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำ เนื่องจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานน้ำมันยังคงมีอยู่ โดยตลาดน้ำมันยังมีอุปทานส่วนเกินอยู่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ มีประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันสูงขึ้น ดังนั้น อุปทานน้ำมันจากสหรัฐฯ อาจไม่ลดลงมากนัก ถึงแม้ว่าจำนวนแท่นขุดเจาะจะลดลงก็ตาม นอกจากนี้การประชุมของกลุ่ม OPEC และรัสเซีย ที่กาตาร์ ไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องการตรึงปริมาณการผลิตน้ำมัน โดยอิหร่านต้องการเพิ่มการผลิตและการส่งออกน้ำมันหลังได้รับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร ส่งผลทำให้มีอุปทานน้ำมันล้นตลาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดิบต่อไป 



In focus: เจาะลึก household balance sheet สะท้อนหนี้ครัวเรือนไทย

 

หนี้ครัวเรือนไทยเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจเพราะมีผลกระทบต่อหลายภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ ทั้งภาคครัวเรือนเอง สถาบันการเงิน และภาคธุรกิจต่างๆ หลายฝ่ายกังวลกับการที่ระดับหนี้ครัวเรือนอยู่สูงกว่า 80% ของ GDP ซึ่งเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็วและถือว่าสูงเมื่อเทียบกับประเทศในระดับรายได้เดียวกัน อีกทั้ง ยังเป็นห่วงครัวเรือนที่มีรายได้น้อยเพราะพบว่ามีภาระในการชำระหนี้ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง

 

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ที่ผ่านมาเป็นการมองเฉพาะหนี้สินของครัวเรือนเพียงด้านเดียว ยังไม่ได้มองไปถึงฐานะการเงินโดยรวม ซึ่งรวมถึงการถือครองทรัพย์สินและสภาพคล่องของครัวเรือน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ภาพที่ครบถ้วนขึ้น In Focus ฉบับนี้จึงขอเจาะลึกเสถียรภาพครัวเรือนไทยโดยพิจารณาจากบัญชีงบดุลของครัวเรือน หรือ household balance sheet ซึ่งบอกฐานะทางการเงินโดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักได้แก่ สินทรัพย์ (asset) หนี้สิน (liability) และความมั่งคั่งสุทธิ (net wealth) เช่นเดียวกับงบดุลของหน่วยธุรกิจต่างๆ โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (Socio Economic Survey: SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ