INSIGHT
10 มีนาคม 2011

Taking on climate change: ธุรกิจไทยต้องปรับตัวอย่างไร

เชื่อหรือไม่ว่าไทยจัดอยู่ในประเทศกลุ่มเสี่ยงสูงสุดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือที่เรียกว่า climate change อีกทั้งยังเป็นตัวการสำคัญในการก่อปัญหาด้วย โดยนอกจากไทยจะติดอันดับในทั้งหมด 16 ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุดจากผลกระทบของ climate change ในช่วง 30 ปีข้างหน้าแล้ว ไทยยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับที่ 25 ของโลกอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น กรุงเทพฯ ยังมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในปริมาณที่เกือบเท่ากับลอนดอนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าถึงเกือบ 10 เท่า!

x.jpg Taking on climate change: ธุรกิจไทยต้องปรับตัวอย่างไร
ฉบับเดือน มีนาคม 2554

เชื่อหรือไม่ว่าไทยจัดอยู่ในประเทศกลุ่มเสี่ยงสูงสุดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือที่เรียกว่า climate change อีกทั้งยังเป็นตัวการสำคัญในการก่อปัญหาด้วย โดยนอกจากไทยจะติดอันดับในทั้งหมด 16 ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุดจากผลกระทบของ climate change ในช่วง 30 ปีข้างหน้าแล้ว ไทยยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับที่ 25 ของโลกอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น กรุงเทพฯ ยังมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในปริมาณที่เกือบเท่ากับลอนดอนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าถึงเกือบ 10 เท่า!

Climate change ไม่ใช่แค่อากาศร้อนขึ้น หรือที่เรียกว่า global warming แต่ยังรวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนมากขึ้นด้วย คือฤดูร้อนจะร้อนขึ้น แล้งขึ้นและกินเวลานานขึ้น ฤดูหนาวจะสั้นลง ปริมาณฝนแปรปรวนสูงและผิดฤดูกาล และภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดบ่อยและรุนแรงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อ (1) ความต้องการพลังงานและราคาพลังงาน (2) ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรและราคาสินค้าเกษตร (3) ปริมาณและคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย ตัวอย่างผลกระทบที่เห็นชัดเจน คือ การกัดเซาะชายฝั่งและปัญหาปะการังฟอกขาว ซึ่งกระทบแหล่งท่องเที่ยวที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด หากปล่อยทิ้งไว้และสถานการณ์กัดเซาะรุนแรงขึ้น ภายในเวลา 5 ปี พื้นที่ชายฝั่งอันดามันอาจหายไปสูงสุดถึง 13,000 ไร่ เช่นเดียวกับหาดพัทยาที่อาจหมดไป นอกจากนี้ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นยังทำให้เกิดปะการังฟอกขาวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์อีกด้วย

Climate change ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะ climate change ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ก่อให้เกิดข้อตกลงและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นสำหรับสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่ามาตรฐาน การออกกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากประเทศที่ไม่มีการรณรงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือแม้แต่การนำรอยเท้าคาร์บอน (carbon footprint) มาใช้ ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นแรงกดดันทางการค้าและความท้าทายให้ธุรกิจไทยต้องเร่งปรับตัว ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่เพียงภาคธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่เราทุกคนก็ได้รับด้วย ตัวอย่างเช่น ธุรกิจสายการบินที่ต้องเผชิญกับมาตรการที่ EU เรียกเก็บค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับสายการบินที่บินเข้า-ออกยุโรป ทำให้ต้องซื้อคาร์บอนเครดิต หรือใช้ EU emission allowance ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อราคาตั๋วโดยสารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

แต่ยังมีช่องทางและโอกาสทางธุรกิจอีกมากมายที่ซ่อนอยู่ในความท้าทายนี้ ทั้งในแง่ของการปรับปรุงเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์เดิม หรือการออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เช่น ธุรกิจน้ำมันพืชรายหนึ่งที่มีการนำ carbon footprint มาใช้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังคาดว่าจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการ ตลาดจากราว 10% เป็นกว่า 15% หรือการขายคาร์บอนเครดิตของฟาร์มสุกร 19 แห่ง ที่ช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นมากถึงเกือบ 60 ล้านบาทต่อปี หรือแม้แต่การเพิ่มช่องทางและโอกาสทางธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มผู้บริโภคสีเขียวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น การพัฒนานวัตกรรมอาหารแช่แข็งเพื่อสุขภาพและปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่ลดการใช้พลาสติกลงถึง 65% ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์ได้มากถึง 15% หรือการเปิดตลาดผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในระยะยาว

จริงอยู่ที่ climate change เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญ แต่ก็ไม่ควรทำแบบสุดโต่งจนกลายเป็นว่าทุกอย่างที่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งต้องห้าม (dogmatic ideological) กล่าวคือ ไม่ใช่ว่าทุกกิจกรรมหรือทุกโครงการที่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องถูกล้มเลิกไป เพราะทุกกิจกรรมหรือทุกโครงการย่อมมีทั้งข้อดีข้อเสีย ทางออกที่ดีที่สุดคือ ดึงเอาข้อดีที่มีออกมาให้มากที่สุดขณะที่หาทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การสร้าง environmental literacy ที่เป็นระบบและมีมาตรฐานเดียวกันในสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดประโยชน์สูงสุดและเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน


สมัครสมาชิก เพื่อดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ