SHARE
SCB EIC ARTICLE
03 กันยายน 2015

มองเทรนด์ธุรกิจ E-commerce ในอาเซียน

ธุรกิจ E-commerce มีการเติบโตมากขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนหลายๆ ด้าน โดยในปีที่ผ่านมาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรในอาเซียนนั้นอยู่ที่ประมาณ 32% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 50% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุด อยู่ที่ 80% ในขณะที่ไทยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่ในอันดับที่ 3 อยู่ที่ 30% รองลงมาจากมาเลเซีย นอกจากนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นมีราคาถูกลง โดยในปี 2014 ยอดขายสมาร์ทโฟนในไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม รวมกันเพิ่มขึ้นราว 40% - 70% ทำให้ประชากรสามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยี 3G ที่เข้ามาแพร่หลายในหลายประเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ E-commerce นั้นมีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ผู้เขียน: ลภัส อัครพันธุ์

ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 3 กันยายน 2015

 

175764417.jpg

ธุรกิจ E-commerce มีการเติบโตมากขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนหลายๆ ด้าน โดยในปีที่ผ่านมาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรในอาเซียนนั้นอยู่ที่ประมาณ 32% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 50% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุด อยู่ที่ 80% ในขณะที่ไทยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่ในอันดับที่ 3 อยู่ที่ 30% รองลงมาจากมาเลเซีย นอกจากนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นมีราคาถูกลง โดยในปี 2014 ยอดขายสมาร์ทโฟนในไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม รวมกันเพิ่มขึ้นราว 40% - 70% ทำให้ประชากรสามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยี 3G ที่เข้ามาแพร่หลายในหลายประเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ E-commerce นั้นมีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดด

 

อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดหลักที่อาจจะทำให้การเติบโตไม่ราบรื่นคือ กฎหมายด้านภาษีนำเข้าและส่งออกของแต่ละประเทศที่ยังไม่เอื้ออำนวยกับการซื้อขายระหว่างประเทศ โดยค่าใช้จ่ายด้านภาษีสามารถทำให้ต้นทุนของสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวและลดความได้เปรียบในการทำธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบัน กฎหมายด้านภาษีระหว่างประเทศในอาเซียนยังมีอยู่ แต่การเปิด AEC ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการลดปัญหาในจุดนี้

 

ขนาดของ E-commerce ในอาเซียนนั้นคิดเป็นเพียง 0.2% ของรายได้ค้าปลีกทั้งหมด ซึ่งถือว่ายังเล็กอยู่มากเมื่อเทียบกับจีนหรือสหรัฐฯ ที่มีรายได้ราว 8% โดยอีกข้อจำกัดของตลาดในอาเซียนคือ จำนวนการใช้บัตรเครดิตหรือการจ่ายเงินบนอินเทอร์เน็ตนั้นยังต่ำ เนื่องจากยังขาดความเชื่อมั่นในระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ผู้ซื้อต้องให้ข้อมูลบัตรเครดิต โดยทำให้การซื้อขายโดยส่วนใหญ่ยังทำผ่านการโอนเงินหรือจ่ายเงินสดเป็นหลัก ซึ่งการชำระเงินในลักษณะนี้คิดเป็นถึง 70% ของการซื้อของออนไลน์ในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ด้วยข้อจำกัดที่กล่าวมาในข้างต้นทำให้บริษัท E-commerce ชั้นนำของโลกหลายๆ บริษัทยังไม่สามารถบุกตลาดในอาเซียนได้ง่ายนัก ทั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสของบริษัท E-commerce ท้องถิ่นที่มีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของคนในภูมิภาคมากกว่า โดยปัจจุบันมีหลายบริษัทท้องถิ่นสามารถยกระดับและขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของบริษัท E-commerce ระดับโลก เช่น การแข่งขันกันในตลาดรับส่งผู้โดยสารของ Grab-Taxi ซึ่งเป็นบริษัทท้องถิ่นก่อตั้งในมาเลเซียสามารถยกระดับตัวเองและขึ้นมาแข่งขันกับบริษัทระดับโลกอย่าง UBER ได้ โดย Grab-Taxi ใช้วิธีการชำระค่าบริการที่ผู้โดยสารสามารถจ่ายเงินสดได้ตามปกติ ในขณะที่ UBER ใช้ระบบชำระค่าบริการผ่านระบบตัดเงินจากบัตรเครดิตของผู้โดยสาร

 

ธุรกิจ E-commerce จะได้รับแรงกระตุ้นจากตลาดในโซนนอกเมือง เนื่องจากความเจริญของประเทศในอาเซียนมีการกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงเป็นหลัก ทำให้ประชากรนอกเมืองเข้าถึงสินค้าได้ยาก ดังนั้น E-commerce จึงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ ยังช่วยธุรกิจท้องถิ่นขนาดเล็กในการขยายฐานลูกค้าไปยังที่ต่างๆ ผ่านทาง online marketplace ทั้งบริษัทในท้องถิ่นและบริษัทชั้นนำของโลก เช่น Alibaba, Lazada, Amazon หรือบริษัท E-commerce ท้องถิ่น เช่น Weloveshopping ของไทย Tokopedia ของอินโดนิเซีย และ Singpost ของสิงคโปร์

 

แนวโน้มการแข่งขันของบริษัท E-commerce จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นบริษัท E-commerce จึงจำเป็นจะต้องมองหาพันธมิตรทางการค้าใหม่ๆ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มช่องทางการขายแล้ว ยังเป็นการเพิ่มการต่อรองกับผู้จัดจำหน่ายไม่ว่าจะเป็นฝั่ง supplier หรือ distributer รวมทั้งยังช่วยเป็นช่องทางในการขยับขยาย ไปต่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้การร่วมมือของ Rakuten บริษัท E-commerce ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นที่ได้เข้ามาเปิดตลาดไทยผ่านทาง Tarad.com และการทำ JV ของ Alibaba และ Singpost เมื่อไม่นานมานี้ ยิ่งแสดงให้เห็นถึงบริษัทระดับโลกที่ให้ความสนใจในการเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดใน อาเซียนมากยิ่งขึ้น

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ