SHARE
INSIGHT
23 พฤศจิกายน 2012

เส้นทางสู่ AEC… SMEs รุกรับอย่างไร

ภายใต้สภาพแวดล้อมทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน คำถามสำคัญคือ "SMEs ไทยมีความแข็งแกร่งและมีความพร้อมในการเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เหล่านั้นมากน้อยเพียงใด และจะแสวงหาประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นได้อย่างไร?"

5842_20130703141253.jpg

เส้นทางสู่ AEC… SMEs รุกรับอย่างไร

ภายใต้สภาพแวดล้อมทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน คำถามสำคัญคือ "SMEs ไทยมีความแข็งแกร่งและมีความพร้อมในการเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เหล่านั้นมากน้อยเพียงใด และจะแสวงหาประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นได้อย่างไร?"

ผู้ประกอบการ SMEs ต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ซึ่งเป็นปัจจัยแวดล้อมภายในประเทศที่ส่งผลกระทบโดยตรงผ่านต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ SMEs ในภาคบริการหรือภาคการผลิตที่มีการใช้แรงงานในสัดส่วนที่สูง (labor-intensive industry) ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น การย้ายไปทำอาชีพอิสระ รวมถึงมีการหมุนเวียนของแรงงาน (turnover rate) ในระดับสูงจากการที่แรงงานมีฝีมือเคลื่อนย้ายไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ผลกระทบจากการรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่อ SMEs เพราะนอกจากโอกาสทางการค้าการลงทุนที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้ว AEC ยังหมายถึงความท้าทายต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

เมื่อเจาะลึกผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำพบว่า นอกจากผลกระทบทางตรง (direct effect) จากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีผลกระทบทางอ้อม (indirect effect) จากการส่งผ่านภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ไปยังธุรกิจต่อเนื่องในห่วงโซ่อุปทานด้วย ธุรกิจที่ใช้แรงงานไม่มีทักษะเป็นสัดส่วนสูงหรือมีค่าจ้างแรงงานเป็นต้นทุนหลัก ย่อมได้รับผลกระทบทางตรงจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากเป็นพิเศษ เช่น ภาคการเกษตร และภาคบริการประเภทการก่อสร้าง เป็นต้น ในขณะที่ธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทานที่ค่อนข้างยาวและสลับซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น มีแนวโน้มได้รับผลกระทบทางอ้อมมากกว่า เนื่องจากต้องเผชิญกับการส่งผ่านภาระต้นทุนที่สูงขึ้นในรูปแบบของการขึ้นราคาสินค้าและบริการตลอดทั้งสายห่วงโซ่อุปทานผลกระทบต่อกำไรขาดทุนของผู้ประกอบการจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงต้องคำนึงถึงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมเข้าด้วยกันเพื่อประเมินความรุนแรงของนโยบาย 300 บาท ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมสูงขึ้นถึง 8% หากผู้ประกอบการผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปได้ 100% หรือในกรณีที่ความสามารถในการส่งผ่านภาระต้นทุนต่ำกว่า 100% ผลกระทบต่อต้นทุนอาจลดลงเหลือ 3% แต่อาจทำให้ผลตอบแทนของผู้ประกอบการลดลง 4% เพราะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่ส่งผ่านไปไม่หมด

เรื่องในเล่ม

1034_20100719093921.gif  Excecutive summary
1034_20100719093921.gif  ปัจจัยแวดล้อมที่กระทบ SMEs 
1034_20100719093921.gif  เจาะลึกการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและการส่งผ่านภาระต้นทุน
1034_20100719093921.gif  ผลิตภาพแรงงาน...โจทย์ใหญ่ SMEs ไทย
1034_20100719093921.gif  SMEs มองอนาคตอย่างไร และเตรียมตัวอะไรแล้วบ้าง
1034_20100719093921.gif  ค้าชายแดน...โอกาสที่ SMEs ไม่ควรมองข้าม 
1034_20100719093921.gif  โลกเปลี่ยน...โอกาสเปลี่ยน SMEs ไทยจะคว้าโอกาส... จาก global trend ได้อย่างไร?
1034_20100719093921.gif  SMEs ปักหมุดธุรกิจที่ไหนดี?
1034_20100719093921.gif  บทสรุปของ SMEs

สมัครสมาชิก เพื่อดาวน์โหลดเอกสารนี้

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ